ผลการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ สายฟ้าน้อยครั้งที่ 16/2563

logo เจ้าภาพร่วมจัดสายฟ้า63

 ผลการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ สายฟ้าน้อยครั้งที่ 16/2563 ผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่นสารคดีเชิงข่าวทั่วไปมีสองสถาบันคือ จุฬาลงกรณ์ฯ และ ม.วลัยลักษณ์ ส่วน มรภ.สงขลา รับรางวัลชมเชยประเภทวิถีชุมชน /ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรมและประเภทสิ่งแวดล้อม ด้าน ม.มหาสารคาม ได้รางวัลชมเชยประเภทวิถีชุมชนและประเภทข่าวทั่วไป ส่วนผลการตัดสินรางวัลวิทยุกระจายเสียง รางวัลชมเชย ได้แก่ มช.

วันนี้ (27 ธ.ค.2563) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น   โดยมี สำนักงาน กสทช. และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เจ้าภาพร่วมในการจัดงานประกาศผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อร่วมส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์  เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการผลิตข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทวิทยุกระจายและสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ และเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์   อันจะเป็นช่องทางในการพัฒนาทักษะเตรียมความพร้อมเข้าสู่วิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 48  เรื่อง ประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์  จำนวน 37 เรื่อง จาก 10  สถาบันการศึกษา และประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง จำนวน 11  เรื่อง จาก 3 สถาบันการศึกษา

ผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 

รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทวิถีชุมชนดีเด่น *ไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น ส่วนผลงานทีได้รับรางวัลชมเชย คือ เรื่อง กุ้งก้ามกราม สัตว์น้ำแห่งคลองชะอวดที่กำลังจะหายไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา / เรื่อง ขุมทรัพย์แห่งท้องทะเล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเรื่อง โชห่วย ช่วยชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้ง 3 เรื่อง ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท

 ส่วนเรื่อง ต่อเรือ ต่อชีวิตวิถีชุมชนบ้านทะเลน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับประกาศเกียรติบัตร ผลงานเข้ารอบสุดท้าย

รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรมดีเด่น *ไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น ส่วนผลงานทีได้รับรางวัลชมเชยคือ เรื่อง เทริดโนรามรดกล้ำค่าหัตถศิลป์ถิ่นใต้  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท

ส่วนเรื่อง พลังศรัทธามโนราห์คาบเรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเรื่อง ลากพระในนาพลังศรัทธาปลายด้ามขวานมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับประกาศเกียรติบัตร ผลงานเข้ารอบสุดท้าย

รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทสิ่งแวดล้อมดีเด่น *ไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น ส่วนผลงานทีได้รับรางวัลชมเชยคือ เรื่อง พลิกฟื้นธรรมชาติเปลี่ยนโอกาสหลังโควิด มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท 

ส่วนเรื่อง ชลาทัศน์ แห่งความหวังที่กำลังจะหายไป   มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา / เรื่อง พลิกฟื้นธรรมชาติเปลี่ยนโอกาสหลังโควิดมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา / เรื่อง เอื้องสายไหมเชื่อมสุขสู่ป่าใหญ่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเรื่อง โอสถแห่งพงไพร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับประกาศเกียรติบัตร ผลงานเข้ารอบสุดท้าย

 รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทข่าวทั่วไปดีเด่น ผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่น คือ เรื่อง  เงินอุดหนุนเด็กเล็ก ฝนตกไม่ทั่วฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรื่อง ถนนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(ซอยตาเอียด) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ทั้ง 2 เรื่อง ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 20,000  บาท

ผลงานทีได้รับรางวัลชมเชยประเภทข่าวทั่วไป คือ เรื่อง ช่องโหว่โครงการคนละครึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล10,000 บาท

ส่วนเรื่อง บ้านมั่นคง : ความมั่นคงเข้าไม่ถึงกลุ่มที่เปราะบาง   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ เรื่อง วิกฤติหาดใหญ่…เมืองเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรือง  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และ เรื่อง จุดร่วมจุดเปลี่ยนนิคมอุตสาหกรรมจะนะแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับประกาศเกียรติบัตร ผลงานเข้ารอบสุดท้าย

รางวัลสายฟ้าน้อย ประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียงดีเด่น *ไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น ผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชยประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง คือ  เรื่อง สวัสดิการ ‘แรงงานแพลตฟอร์ม’ บนช่องโหว่กฎหมาย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท   ส่วนเรื่อง “สิทธิทางการศึกษา” การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับประกาศเกียรติบัตร ผลงานเข้ารอบสุดท้าย

สำหรับคณะกรรมการตัดสินรางวัลประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง คือ 1.อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน/ 2.นายศักดา จิวัธยากูล บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น /3.อาจารย์กรรณิการ์  โต๊ะมีนา หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์/ 4.นายเดชา รินทพล ผู้จัดการ สถานีวิทยุครอบครัวข่าว FM 106 Mhz.และ 5.นางสาววัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น หัวหน้ากองข่าวต่างประเทศ ฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย

คณะกรรมการตัดสินประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์  คือ 1. ดร.ปรัชญา เปี่ยมการุณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ /2.นายประสาน อิงคนันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บุญมีฤทธิ์ มีเดีย จำกัด /3.นางสาวสนมพร ฉิมเฉลิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน/4.นายจักรพันธุ์  กมุทโยธิน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน /5.นายสุรชา บุญเปี่ยม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน/6.นางสาวธนานุช สงวนศักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ/7.นางสาวฉัตรรัศม์  ปิยทัศน์สิริ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน  และ8.นายพุทธิฉัตร จินดาวงศ์ บรรณาธิการข่าวและหัวหน้าผู้สื่อข่าว สถานีโทรทัศน์ PPTV

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดให้มีการประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2548 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีคุณภาพของนักศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่วิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์และสื่อสารมวลชน อีกทั้งยังประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนโครงการฯ สำหรับการพิจารณาตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยสมาคมฯ ได้สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินรางวัลไว้ดังนี้ ด้านคุณภาพ(Quality) คุณค่า(Value) ผลงาน(Performance) และจรรยาบรรณ/จริยธรรม(Code of Ethics) และในปีนี้  สำนักงาน กสทช. และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประกาศผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563

————————————————————–

ข่ายเผยแพร่รางวัลสายฟ้าน้อยครั้งที่ 16 จัดงาน 27-12-63

แท็ก คำค้นหา