ประมูล 5G กระทบกับทีวีดิจิทัล-และผู้ชมคนดูทีวี และประเทศไทยอย่างไร?

49736838_1474179679386290_521488898946236416_n

ประมูล 5G กระทบกับทีวีดิจิทัล-และผู้ชมคนดูทีวี และประเทศไทยอย่างไร?
หลากมิติมุมมองจาก กสทช. – อดีต กสทช.  –นักวิชาการและกรณีศึกษาจาก ตปท.

จากการแถลงข่าวของ เลขาธิการ กสทช.

(8 ม.ค.2562) ลุ้น 15 ม.ค.”กสทช.”ฟันธงการประมูลคลื่น 700MHz –มาตรการเยียวยาทีวีดิจิทัล” ที่ประชุมบอร์ดมีมติให้นัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องการเยียวยาและจัดประมูลคลื่น 700 MHz ใหม่ ในวันที่ 15 ม.ค. 2562 เนื่องจากเป็นประเด็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะนำร่างประกาศหลักเกณฑ์ต่างๆ เข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์

(12 ธ.ค.2561 ) สํานักงาน กสทช. ได้ลงนามแต่งตั้งคณะทํางานเตรียมการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz  เพื่อเตรียมการสําหรับการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ซึ่ง ประกอบไปด้วย 2 คณะ คือ 1.คณะทํางานจัดทําหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ 2.คณะทํางานพิจารณาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน700 MHz เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ทั้งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้ประกาศไว้ว่าคลื่น 700 MHz จะสิ้นสุดในปี 2563 และจะดำเนินการช่วยเหลือทีวีดิจิทัลอย่างไรบ้าง
นักวิชาการจากสถาบัน TDRI

จากมุมมอง อดีตบอร์ด กสทช.  สุภิญญา กลางณรงค์ โพสต์ในเฟสบุ๊ค “ว่าด้วยเรื่องคลื่น 700 MHz” (8 ม.ค.2562)  “เข้าใจได้ว่า เอกชนเจ้าของช่องทีวีดิจิทัลคงมี ความหวังที่จะได้รับเงินเยียวยาตามที่ กสทช. บอก เลยไม่ทำข่าวตั้งคำถามในเรื่องใหญ่แบบนี้ เพราะมี conflict​ of interest​ แต่อยากให้ลองคิดให้ดีว่าเกมนี้ระยะยาวใครได้ใครเสียกันแน่ในยุโรป ฝั่งทีวียืนหยัดต่อสู้เพื่อรักษาคลื่น 700 MHz ไว้เพื่อทำทีวีแบบเดิมต่อไปให้นานที่สุด แม้จะรู้ตัวว่าสุดท้ายสื่อออนไลน์​จะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในเมือง​ไทย​ตอนนี้ กสทช. จะนำคลื่น 700 ของฝั่งทีวีไปทำ 5G แล้ว ดังนั้นต่อไปคนจะแห่ไปดูทีวีออนไลน์​มากขึ้นอีก เพราะมีคลื่นความถี่​ต่ำมารองรับการให้บริการที่จะดูคมชัดราบรื่นมากขึ้นอีกไม่แพ้ทีวีภาคพื้นดิน แต่เป็นแบบ on demand ผู้ประกอบการ​สื่อข้ามชาติ​อย่าง Facebook​ Netflix​ Youtube คงยิ้มรอเลย สื่อแบบเดิมจะห่อเหี่ยวเร็วขึ้นดังนั้นการที่ช่องทีวีดิจิทัล​ยอมให้ กสทช. นำคลื่น​ 700 ไปใช้ทำ 5G เท่ากับเป็นการเร่งให้คนดูทีวีแบบดั้งเดิม​น้อยลงเร็วขึ้นอีก นับเป็นแผนที่จะ subotage ตัวทีวีเอง ทั้งที่ประมูล license คลื่นนี้มาได้ 15 ปี แต่จะยอมย้ายแล้ว

 

“เมื่อไปไม่รอดแล้วเอาคลื่นไปทำโทรคมนาคม 5G เพื่อให้มีมูลค่ามากขึ้น ก็เป็นทางออก แต่เค้กก้อนไหนไปกระจายให้ใครต้องมีคำอธิบาย ไม่ใช่จู่ ๆ ลอยมาว่าเงินประมูลงวดสุดท้ายไม่ต้องจ่าย ทำไมคิดอย่างนั้น อาจจะมีคำอธิบายเข้าท่าก็ได้” ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์ ประชาชาติธุรกิจ เผยแพร่เมื่อ  25 ธ.ค. 2561https://www.prachachat.net/ict/news-269643                                                                                                                                                                    อังกฤษเตรียมล้างคลื่น 700 MHz ทำ 5G ชดเชยกลุ่ม Digital TV ด้วยงบ 21,908 ล้านบาทHow will the 700MHz clearance impact the live events biz? https://www.psneurope.com/live/700mhz-clearance-impact-on-live-events?fbclid=IwAR0PxmiNNZigDIcAiVuNVVp5QY8yEUv_3267xfPN_0-W2AChhQB06BQIOzw

 
จากการแถลงข่าวของ เลขาธิการ กสทช. (8 ม.ค.2562)
ลุ้น 15 ม.ค.”กสทช.”ฟันธงการประมูลคลื่น 700MHz -มาตรการเยียวยาทีวีดิจิทัล
https://www.prachachat.net/ict/news275627?fbclid=IwAR0L10RaP9zqRATWLQcEu67fTnK05T8C2xhG2Zixmo5CGZMr6V5erR3frJU

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีวาระการพิจารณาเกี่ยวกับการเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ได้รับผลกระทบจากการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz เพื่อนำมาจัดประมูลใหม่ สำหรับใช้งานในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงร่างประกาศหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดประมูลคลื่น 700 MHz

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติให้นัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องการเยียวยาและจัดประมูลคลื่น 700 MHz ใหม่ ในวันที่ 15 ม.ค. 2562 เนื่องจากเป็นประเด็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะนำร่างประกาศหลักเกณฑ์ต่างๆ เข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์

“การจัดประมูลคลื่น 700 MHz จะเป็นการจัดประมูลล่วงหน้า ซึ่งทางสำนักงาน กสทช. ตั้งใจว่าจะสามารถเคาะราคาประมูลได้ราวเดือน พ.ค. นี้ ส่วนการเริ่มใช้คลื่นความถี่ของผู้ชนะประมูลน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2563 หรือ ต้นปี 2564 แต่จำนวนใบอนุญาตที่จะนำออกประมูลจะเป็น 7 ใบอนุญาต หรือ 9 ใบอนุญาต ต้องรอให้บอร์ดพิจารณา แต่จะเป็นไลเซนส์ละ 5 MHz  รวมถึงราคาเริ่มต้นประมูลด้วย แต่รูปแบบการประมูลน่าจะยังใช้การเคาะราคาแข่งกันเหมือนเดิม แม้ว่าจะอยากให้นำวิธีบิวตี้คอนเทสต์(พิจารณาเงื่อนไขข้อเสนอคู่กับราคา)มาใช้ แต่ถ้าเปลี่ยนจะยิ่งทำให้ล่าช้า เพราะต้องเปลี่ยนวิธีประมูลใหม่ทั้งหมด”

ทั้งเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 8 ม.ค. 2562  ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลได้เข้าพบประธาน กสทช.เพื่อขอให้ออกร่างประกาศมาตรการเยียวยากรณีเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz ด้วย

—————————————————–

ในมุมมอง อดีต กสทช.
สุภิญญา กลางณรงค์ อดีต กสทช. ได้โพสต์ในเฟสบุ๊ค “ว่าด้วยเรื่องคลื่น 700 MHz” เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2562

My concerns on NBTC’s plan to reform 700 MHz from digital tv industries to provide for telecom services. There are some complicated issues to be carefully discussed.
วันนี้เห็นข่าวมติการประชุม กสทช. เรื่องการจะย้ายทีวีดิจิทัลจากคลื่น 700 MHz ไปใช้คลื่นอื่นแทน เพราะจะนำคลื่น 700 MHz ไปประมูลโทรคมนาคมเดินหน้าสู่สังคม 5G นั้น (ทั้งที่คลื่นอื่นว่างก็ยังมี)​ ก็มีความไม่สบายใจหลายประการ จึงขอบันทึกไว้ดังนี้ 1. การจะย้ายย่านคลื่นความถี่ กระทบประชาชนแน่ แม้ กสทช.อาจจะบอกว่าก็แค่ปรับจูนสแกนสัญญาณ​กันใหม่ แต่มันก็สเกลระดับประเทศ คงวุ่นพอควร จากมติวันนี้เรายังไม่เห็น กสทช. พูดเรื่องแผนการเตรียมความพร้อมครัวเรือนผู้บริโภค​เลย พูดแต่เรื่องการเร่งประมูลเพื่อจะนำเงินมาเยียวยาเอกชนที่ทำดิจิทัลทีวี ลืมมิติอื่นไปหรือปล่าว

  1. การเยียวยาในกรณีนี้คือจะเยียวยาใคร เพราะเป็นการย้ายย่านคลื่นความถี่ ไม่ใช่การ ‘คืนคลื่นความถี่’​ ที่เอกชนจะยุติการทำสถานีทีวีแล้ว เหมือนในบางประเทศ​ที่มีการเวนคืนคลื่นทีวีมาทำมือถือแล้วรัฐจ่ายเงินชดเชยการต้องยุติสถานีนั้น แต่ถ้ายังทำต่อคือย้ายไม่ใช่คืนคลื่น คนดูก็ต้องย้ายคลื่นตามทั้งหมดใช่ไหม

ดังนั้นถ้าเป็นการย้ายคลื่น ไม่ใช่คืนคลื่น​ แล้ว กสทช. ต้องเยียวยาใครกัน? -​ เอกชนเจ้าของช่อง – ผู้ให้บริการ Mux -​รัฐ​ หรือ ประชาชน ประเด็น​นี้ควรทำให้ชัดเจน เพราะถ้าคลุมเครือ​จะต้องเจอ สตง. ปปช. หรือ การฟ้องร้องข้อกฎหมายในอนาคตแน่นอน

  1. เข้าใจได้ว่า เอกชนเจ้าของช่องทีวีดิจิทัลคงมีความหวังที่จะได้รับเงินเยียวยาตามที่ กสทช. บอก เลยไม่ทำข่าวตั้งคำถามในเรื่องใหญ่แบบนี้ เพราะมี conflict​ of interest​ แต่อยากให้ลองคิดให้ดีว่าเกมนี้ระยะยาวใครได้ใครเสียกันแน่

ในยุโรป ฝั่งทีวียืนหยัดต่อสู้เพื่อรักษาคลื่น 700 MHz ไว้เพื่อทำทีวีแบบเดิมต่อไปให้นานที่สุด แม้จะรู้ตัวว่าสุดท้ายสื่อออนไลน์​จะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในเมือง​ไทย​ตอนนี้ กสทช. จะนำคลื่น 700 ของฝั่งทีวีไปทำ 5G แล้ว ดังนั้นต่อไปคนจะแห่ไปดูทีวีออนไลน์​มากขึ้นอีก เพราะมีคลื่นความถี่​ต่ำมารองรับการให้บริการที่จะดูคมชัดราบรื่นมากขึ้นอีกไม่แพ้ทีวีภาคพื้นดิน แต่เป็นแบบ on demand ผู้ประกอบการ​สื่อข้ามชาติ​อย่าง Facebook​ Netflix​ Youtube คงยิ้มรอเลย สื่อแบบเดิมจะห่อเหี่ยวเร็วขึ้น

ดังนั้นการที่ช่องทีวีดิจิทัล​ยอมให้ กสทช. นำคลื่น​ 700 ไปใช้ทำ 5G เท่ากับเป็นการเร่งให้คนดูทีวีแบบดั้งเดิม​น้อยลงเร็วขึ้นอีก นับเป็นแผนที่จะ subotage ตัวทีวีเอง ทั้งที่ประมูล license คลื่นนี้มาได้ 15 ปี แต่จะยอมย้ายแล้ว

 

การมี 5G ดีกับประเทศ​แน่แต่ใครจะได้ประโยชน์​มากกว่ากันลองคิดดู แบบมียุทธศาสตร์​ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่​ กสทช. คิดจะทำก็ทำแบบเร็วๆ จะประมูลกันในไม่กี่เดือนนี้ ทั้งที่ มันต้องมีแผน มีรายงานผลกระทบรอบด้านก่อนไหมคิดรอบคอบหรือยังว่าผลกระทบต่อดิจิทัล​ทีวี ได้หรือเสียมากกว่ากันจากเกมส์นี้ การต้องให้คนดูจูนคลื่นใหม่อีกรอบทั้งประเทศ การเร่งนำคลื่นทีวีไปประมูล 5G จะดีกับอนาคตทีวีแบบเดิมจริงหรือ

 

ถ้าเราพร้อมจะไปสู้กันบน platform ออนไลน์​เร็วขึ้​นกว่านี้อีก ก็ ok ถ้าดิจิทัลทีวีตระหนักถึงผลกระทบนี้ดีแล้ว ส่วนตัวก็คงไม่ค้านถ้าจะเดินหน้าสู่สังคมสื่อออนไลน์​เต็มตัว ทีวีดิจิตอล​ก็ต้องทำใจว่าจะรบแพ้ในสนามนี้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเดินหน้าอย่าง​ไรก็ตามขอให้ กสทช. ทำเรื่องคลื่น 700 MHz นี้อย่างเปิดเผย โปร่งใส มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ระวังในมิติวาระซ่อนเร้น ผลกระทบต่อครัวเรือน ผู้บริโภค​ในการเตรียมพร้อม​ด้วย

—————————————————–

https://www.prachachat.net/ict/news-264071

กสทช. อนุมัติ 2 ไลเซนส์คลื่นใหม่ให้”ดีแทค” พร้อมตั้ง 2 คณะทำงานเรียกคืนคลื่น 700 MHz

เมื่อวันที่ 12ธ.ค. 2561  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สํานักงาน กสทช. ได้ลงนามแต่งตั้งคณะทํางานเตรียมการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz  เพื่อเตรียมการสําหรับการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ซึ่ง ประกอบไปด้วย 2 คณะ คือ
1.คณะทํางานจัดทําหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ
2.คณะทํางานพิจารณาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ทั้งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้ประกาศไว้ว่าคลื่น 700 MHz จะสิ้นสุดในปี 2563 และจะดำเนินการช่วยเหลือทีวีดิจิทัลอย่างไรบ้าง ในส่วนคณะทำงานของ พันเอกนที ศุกลรัตน์ จะดำเนินการส่วนเรียกคืนและเยียวยา ส่วนคณะทำงานของสำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน700 MHz ดังนั้น การจัดทำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

“ไม่ได้จ้างบุคคลภายนอกในการประเมินมูลค่าคลื่น เราจะให้บุคคลภายในซึ่งเป็นจัดทำเพื่อนำผลการประชุมดังกล่าวเข้าสู่ที่ที่ประชุมของคณะทำงานชุดที่ 2 ในการจัดทำแนวทางประมูลคลื่นความถี่ เมื่อจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเสร็จจะต้องนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของ กสทช.เพื่อนำไปจัดทำการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพราะฉะนั้นกระบวนการอาจต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร คาดการณ์ขั้นตอนจะอยู่ในระหว่างปลายเดือน ก.พ. 2562 ถึง ต้นเดือน มี.ค. 2562 น่าจะแล้วเสร็จ”

โดยคณะทํางานจัดทําหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มีอํานาจหน้าที่ศึกษา และจัดทําหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สําหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน700 MHz ซึ่งรวมถึง จํานวนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ วิธีการอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต ราคาขั้นต่ำในการประมูล เงื่อนไข การชําระเงินค่าประมูล กระบวนการอนุญาต สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนของผู้รับใบอนุญาต และการออกแบบการ ประมูลที่เหมาะสม จัดทําแผนความถี่ จัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต และดําเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับ มอบหมายจากเลขาธิการ กสทช.

ส่วนคณะทํางานพิจารณาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มีอํานาจหน้าที่พิจารณาและให้ ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เสนอแนะมูลค่าคลื่นความถี่ที่จะใช้เป็นราคาขั้นต่ำในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับสภาพตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทย และดําเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ กสทช.
—————————————————————————

ชำแหละนโยบาย กสทช.-ดีอีดัน “4.0-5G” รุ่งหรือร่วง ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์กับ ประชาชาติธุรกิจ  เผยแพร่เมื่อ วันที่ 25 ธ.ค. 2561 (*คัดลอกบางส่วนที่เกี่ยวกับ 5G/ทีวีดิจิทัล/กสทช.)

Q : 5G ปี 2563 จำเป็น

  1. กสทช.จะทำให้เกิดได้ แต่ด้วยสเกลแบบไหน เช่นทดลองใน 1-2 จังหวัด แต่ควรเกิดตามความต้องการจริง ๆ ซึ่งอาจไม่ได้เร่งด่วนแบบต้องมีในปีหรือ 2 ปีนี้ แต่ในอนาคตจะสำคัญมาก เพราะทำ IOT และอื่น ๆ ได้ คือให้กลไกตลาดตัดสิน แต่ว่าต้องเป็นกลไกตลาดที่มีการแข่งขันจึงจะตัดสินได้อย่างมีเหตุมีผลถ้านำจิ๊กซอว์มาต่อกัน ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมเลยคือ มีโอเปอเรเตอร์รายใหม่ซึ่งอาจจะเข้ามาเทกโอเวอร์ ทีโอทีกับแคท แก้ปัญหารัฐวิสาหกิจของรัฐบาล เพิ่มโอเปอเรเตอร์รายใหม่เข้ามาในตลาดโทรคมนาคมและทำให้เกิด 5G ได้ ก็ตอบโจทย์ปัญหาคือโครงสร้างเศรษฐกิจมีเจ้าพ่ออยู่ และเจ้าพ่อก็แผ่สยายปีกไปทำทุกเรื่อง และผูกพันใกล้ชิดกับรัฐบาลทุกรัฐบาล มันถึงปฏิรูปเศรษฐกิจไม่ได้

Q : กสทช.รื้อเกณฑ์ประมูลคลื่นใหม่

  1. ควรต้องรื้อใหม่ทุกครั้ง ไม่ใช่เอาราคาปิดเดิมไปเป็นราคาเริ่มต้นครั้งใหม่ ต้องดีไซน์ให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อรับประกันว่าตลาดจะแข่งขันแล้วเกณฑ์ก็ต้องมั่นคงแน่นอน ไม่เช่นนั้นใครใกล้ชิด กสทช. กับรัฐประมูลไปแล้วเงื่อนไขไม่ถูกใจก็ไปขอเปลี่ยนได้ ทำให้ทุนใหญ่กับการเมืองแยกกันไม่ออก ซึ่งจะหลุดจากวังวนนี้ต้องทำให้ผลประโยชน์น้อยลงโดยการเปิดเสรี ให้มีการแข่งขันมีตัวหารเยอะ ก็ไม่มีใครอยากไปวิ่งเต้นเพราะผลประโยชน์เหลือน้อย

Q : ดึงคลื่นทีวีดิจิทัลมาใช้โทรคมนาคม

  1. เมื่อไปไม่รอดแล้วเอาคลื่นไปทำโทรคมนาคม 5G เพื่อให้มีมูลค่ามากขึ้น ก็เป็นทางออก แต่เค้กก้อนไหนไปกระจายให้ใครต้องมีคำอธิบาย ไม่ใช่จู่ ๆ ลอยมาว่าเงินประมูลงวดสุดท้ายไม่ต้องจ่าย ทำไมคิดอย่างนั้น อาจจะมีคำอธิบายเข้าท่าก็ได้

———————————————————————–
https://www.nbtc.go.th/News/Press-Center/35796.aspx

แถลงข่าวการประชุมคณะอนุกรรมการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 6 ธันวาคม 2561

โดย พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานอนุกรรมการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz และ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. ในฐานะอนุกรรมการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz

  1. ความเป็นมา

เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทุกประเทศจึงพยายามปรับเปลี่ยนไปสู่โลกเทคโนโลยีใหม่ให้ทันการณ์ เนื่องจากตระหนักดีว่า ประเทศไหนที่ปรับตัวช้าหรือไม่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีก็จะกลายเป็นประเทศที่ล้าหลัง

สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงได้ประกาศแนวนโยบายThailand 4.0 หรือแนวนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนและสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digitization หรือ Digital Transformation) ด้วยเหตุนี้ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้แนวนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลสามารถสัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะทำให้เกิด Digital Transformation ก็คือการพัฒนาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปสู่ยุคที่ 5 หรือ 5G โดยปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี 5G เพื่อรองรับแนวนโยบาย Thailand 4.0 ก็คือทรัพยากรคลื่นความถี่

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดให้คลื่นความถี่สำหรับ 5G มีสามกลุ่มคือ กลุ่มคลื่นความถี่ต่ำ   กลุ่มคลื่นความถี่กลาง และกลุ่มคลื่นความถี่สูง โดยกลุ่มความถี่กลางและสูงจะนำมาให้บริการในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานสูง              ในขณะที่การให้บริการในวงกว้างคลอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ต้องใช้งานคลื่นความถี่ต่ำ โดย ITU กำหนดให้คลื่นความถี่ 700 MHz เป็นคลื่นความถี่หลัก คลื่นความถี่ 700 MHz จึงเป็นคลื่นความถี่สำคัญที่จะนำมาใช้ในกิจการ 5G อย่างเป็นรูปธรรมและทั่วถึงทั้งประเทศ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งการนำเอาคลื่นความถี่ 700 MHz มาจัดสรรใช้งาน เพื่อผลักดันการให้บริการ 5G

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลทุกรายเป็นผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz เพื่อใช้ออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้สามารถนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาจัดสรรใช้สำหรับเทคโนโลยี 5G กสทช. จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรา 27 (12/1) ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) โดยการเรียกคืนคลื่นความถี่จากผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ กสทช. ต้องกำหนดวิธีการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ที่ถูกเรียกคืนคลื่นความถี่โดยให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ด้วย

ดังนั้น กสทช. จึงได้แต่งตั้งอนุกรรมการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz (อนุกรรมการฯ) มาดำเนินการตามที่กฎหมายได้ให้อำนาจ กสทช. เพื่อสนับสนุนแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล และเพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศแรกที่มีการให้บริการ 5G เต็มระบบทั้งประเทศโดยทั่วถึง

  1. ข้อเท็จจริง

การเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz ตามขั้นตอนปกติ ต้องรอการเรียกคืนคลื่นความถี่ให้ครบถ้วน ซึ่งต้องดำเนินการภายหลังปี 2563 และน่าจะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ไปใช้งานได้อย่างเร็วในปี 2565 ซึ่งจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนแนวนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ อนุกรรมการฯ จึงสร้างกระบวนการใหม่เพื่อให้สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ได้ภายในปี 2563 เร็วกว่าเดิมอย่างน้อยสองปี เพื่อให้การขับเคลื่อนตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 เดินไปข้างหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรมเร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ กระบวนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิทัลของประเทศไทยนั้นต้องถือได้ว่าได้ยุติไปเกือบสมบูรณ์แล้ว กระบวนการดังกล่าวนอกจากเป็นการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโทรทัศน์แล้ว ยังมีความมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อให้มีการใช้งานคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสาธารณะให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยภายหลังจากการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์อนาล็อกไปสู่โทรทัศน์ดิจิทัลเสร็จสิ้น คลื่นความถี่ทั้งหมดที่ผู้ประกอบการช่องโทรทัศน์ดิจิทัลได้รับการจัดสรรก็มีความเพียงพอ นอกจากนี้ยังอาจสามารถนำคลื่นความถี่บางส่วน คือ คลื่นความถี่ 700 MHz ไปใช้เพื่อให้บริการในกิจการ 5G เมื่อมีการดำเนินการที่เหมาะสมตามกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) ซึ่งกำหนดการเรียกคืนคลื่นความถี่จากผู้ประกอบกิจการช่องโทรทัศน์ดิจิทัล โดยกำหนดวิธีการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ที่ถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ (ช่องโทรทัศน์ดิจิทัล) รวมถึงการชดใช้ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ (ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิทัล) ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นดังกล่าวอยู่ และชดใช้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบตามนัยยะที่กฎหมายกำหนด มิใช่การเยียวยาหรือช่วยเหลือกลุ่มโทรทัศน์แต่อย่างใด

  1. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการ

การเชิญผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการตามกฎหมายมารับฟังความคิดเห็นในวันนี้ เป็นการรวบรวมความคิดเพื่อนำไปสู่ข้อยุติในระดับอนุกรรมการฯ เพื่อนำเสนอต่อ กสทช. ต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  • กลุ่มช่องโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้งานคลื่นความถี่ 700 MHz จนสิ้นสุดใบอนุญาต ได้ยื่นข้อเสนอให้มีการจ่ายค่าตอบแทนโดยการนำเงินส่วนหนึ่งจากการประมูลส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุนฯ) จำนวนเท่ากับที่ กสทช. ได้เคยนำเงินจากการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ดิจิทัลส่งเป็นรายได้ของรัฐ
  • กลุ่มผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ ก็เสนอให้มีการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนทางเทคนิคตามแผนคลื่นความถี่ใหม่ที่ กสทช. ปรับปรุง รวมถึงการชดใช้ค่าเสียโอกาสให้แก่บางรายที่ได้รับผลกระทบในการให้บริการด้วย
  • ในส่วนของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาใช้งาน ก็ได้เสนอให้การประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz คำนึงถึงต้นทุนการให้บริการ ต้นทุนการประมูล และระยะเวลาการจ่ายงวดเงินการประมูลที่เหมาะสม ไม่เป็นภาระจนเกินไป เนื่องจากถ้าผู้ประกอบกิจการนำเงินส่วนใหญ่มาจ่ายค่าประมูล ก็จะไม่มีเงินเพียงพอที่จะลงทุน ส่งผลให้การให้บริการ 5G ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลักดันแนวนโยบาย Thailand 4.0 ได้รับผลกระทบไปด้วย

—————————————————————-

 

 

How will the 700MHz clearance impact the live events biz?Shure’s manager of applications, Andrew Francis, offers some key insights into the 700MHz band clearance and what it could mean for the UK’s ever-growing live events industry

PSNEUROPE STAFF DEC 4, 2018

https://www.psneurope.com/broadcast/how-the-700mhz-clearance-will-impact-live-events

 

The UK’s live entertainment industry shows no signs of slowing down anytime soon, taking a record £17bn in 2017 thanks to big West End productions, super gigs, music and arts festivals and live tours of TV shows. And a further growth of over seven per cent is forecast for 2018, according to accounting giant Deloitte.

However, the way that big productions and gigs are planned will soon change significantly, due to the scheduled clearance of the 700MHz band to be reserved for telecoms and growing 5G mobile networks.

Germany and France have already started this process. Programme making and special events (PMSE) audio users within the UK will retain access to the guard band (694 MHz to 703MHz) but will lose access to other frequencies in the 700MHz range from May 1, 2020.

Helping us to understand the problems to be faced, and offering advice on how to circumnavigate those problems, Shure’s manager of applications, Andrew Francis, provides insight and answers.

The clearance of the 700MHz channel comes into effect in May 2020. How are users of wireless tech managing the changeover?

Shure has been making its customers aware of the 700MHz clearance and its implication of making the 600MHz spectrum become in higher demand. Up until the switchover date 700MHz band will be fantastic to use as digital TV will be moved to other frequencies, but after May 2020 we all need to be more aware of the spectrum we wish to use. Shure also offer wireless microphones in different areas of RF spectrum such as Microflex Wireless which uses 1.9GHz (DECT), does not require any licence to operate and is perfect for many meeting room applications. Another piece of interesting and often overlooked spectrum is the 1785-1805 MHz range. The reason it’s interesting is that it can be used under the same shared PMSE licensing regulations as Channel 38 but is often much less utilised. On a recent site survey, I scanned both Channel 38 and 1.8GHz then calculated we could fit approximately 32 channels of ULXD wireless in Channel 38 and 128 Channels in 1.8GHz!

Can you talk a little about Airband and how that will assist bigger events where there are bigger RF demands?

Airband is a solution proposed by Ofcom to allow PMSE users access to alternative RF spectrum, but there are concerns about the viability in the long term. Shure has been proactive in trialling kit which operates in this spectrum with success, but as it’s a one market solution just for the UK, the return on product development is limited. Regulatory advancement is required before most manufacturers will commit to making equipment.

Are there any concerns from the aeronautical sector regarding the use of Airband?

Yes, there are many concerns about radio mic users causing disruption and interference to the Civil Aviation sector. However, Ofcom believes they are unsubstantiated, and Shure supports further study to gather the necessary data to build confidence. PMSE users will take secondary priority use of the spectrum in the same way as TV band licencing.

How are you adapting as a manufacturer to ensure your products are as efficient and effective as ever?

We’ve spent many hours at events, assisting with frequency planning and support to ensure that large scale events run as they should. This time onsite has helped us understand what’s been needed and has been crucial in relaying this information directly back to the R&D department. It’s one of the main reasons why Axient Digital has delivered so well across all applications: it answers all the questions any users might have because, essentially, it’s been developed through many varied conversations with users of wireless microphone systems.

Are regulators from around the world doing enough to protect the spectrum access within the entertainment sector?

No. The largest obstacle faced by users of radio microphones is regulators making policy decisions which benefit the mobile sector but leaving PSME users to deal with the consequence and fight to be heard. Policy makers are still gaining an understanding of how important wireless microphone technology is to the entertainment and corporate sector. Wireless microphones are in use throughout businesses of all sizes these days and if the trend continues usage will only increase.

 

What next?

In a similar approach to the transition away from PMSE users having access to the 800MHz spectrum Ofcom are offering a compensation scheme for the replacement of radio mic equipment in the 700Mhz range. Shure UK would like to thank Ofcom, the UK Government, BEIRG and those in the PMSE community that have worked hard towards achieving this outcome for all radio mic users.

The only thing we can be confident in is the use of radio microphones and in ear monitoring equipment isn’t going to go away any time soon and neither is the public’s expectation for high quality entertainment, productive business meetings, conferences and high-speed access to the internet from mobile devices. All sectors who benefit from the use of RF spectrum must continue to work together to ensure we maintain reliable access to this finite resource.

————————————————————

อังกฤษเตรียมล้างคลื่น 700 MHz ทำ 5G ชดเชยกลุ่ม Digital TV ด้วยงบ 21,908 ล้านบาท

 18 Dec 2018 http://www.adslthailand.com/

ล่าสุดรัฐบาลอังกฤษได้ตั้งเป้านำคลื่น 700MHz จากวงการทีวีมาให้บริการ 5G ภายในปี 2570 โดยจะมีการชดเชย 529 ล้านปอนด์เพื่อล้างแถบความถี่

 

ในขณะนี้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม EE, BT และ Vodafone ได้ประกาศแผนการที่จะเปิดตัวบริการ 5G ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2562 และเครือข่ายอื่นๆ สามารถจะเชื่อมต่อและให้บริการ 5G ได้ภายในปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งต้องมีพื้นที่ในการให้บริการอย่างเพียงพอทั้งโครงสร้างพื้นฐานและหารให้บริการแบนด์วิธ โดยมีการเตรียมทำร่างโครงการดิจิตอล 11 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 600 ล้านปอนด์ หนึ่งในนั้นมีโครงการล้างคลื่นความถี่ 700 MHz (694 MHz ถึง 703 MHz) เพื่อนำคลื่นความถี่นี้มาให้บริการ 5G โดยใช้เม็ดเงินทั้งหมด 529 ล้านปอนด์ หรือ 21908 ล้านบาท ภายใน 1 พฤษภาคม 2563 ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 3 ปี สำหรับที่มาของเงินที่มาจากการชดเชยคลื่น เป็นเงินที่ได้จากการลงทุนของรัฐบาล โดยปีหน้าทางประเทศอังกฤษจะทำการประมูลคลื่น 5G โดยใช้คลื่น 700MHz และ 3.6GHz – 3.8GHz เข้าร่วมประมูล และจัดตารางกำหนดการใช้งานคลื่นความถี่ใหม่ในย่าน 1800 MHz, 2300 MHz และ3.8-4.2 GHz เพื่อให้รองรับ 5G ในอนาคต

            เดิมคลื่นความถี่ 700 MHz ได้นำมาให้บริการ TV หรือ Digital Terrestrial TV โดยสัญญาเดิมจะต้องทำให้สัญญาณครอบคลุม 90% ทั่วประเทศภายใน 4 ปี รองรับการให้บริการ ที่อยู่อาศัยและออฟฟิศอย่างน้อย 140,000 หลังคาเรือน มีโครงข่ายขนาดเล็กมากกว่า 500 จุดทั่วประเทศ
จากนี้ทางรัฐบาลจะหาคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่ามาให้บริการ และจะได้คลื่นความถี่ที่มีความสามารถกระจายสัญญาณได้กว้างแบบ 800 MHz ในรูปแบบ 80 MHz โดยนำเงินไปชดเชยผู้ถือใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิทัลปัจจุบัน และเตรียมปรับจูนความถี่ไมโครโฟนไร้สายในพื้นที่ต่างๆ ของคลื่นความถี่ RF เช่น Microflex Wireless ที่ใช้ 1.9GHz (DECT)

การนำคลื่นความถี่ 700 MHz จะทำให้สามารถทำ Massive MIMO 5G pilot ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นทาง Ofcom คาดการณ์จะมีการประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz ภายใน เดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน 2020 เพื่อให้ทันกับการเปิดให้บริการ 5G เน้นในเขตเมืองบนคลื่น 3.6-3.8GHz การดำเนินการครั้งนี้เพื่อลดความเลื่อมล้ำระหว่างระบบโทรคมนาคมในเมืองและชนบท

ข้อมูล ispreview psneurope 5g.uk telecoms
(*หมายเหตุ จากผู้นำเสนอบทความนี้ – เนื้อหาทั้งหมดนี้มาจากการรวบรวมข่าวและการโพสต์ในเฟสบุ๊ค)

ดาวน์โหลดเอกสาร…..ประมูล 5G กระทบกับทีวีดิจิทัลอย่างไร

แท็ก คำค้นหา