แถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่”

dsc_3960-1

 

แถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
“เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่”

  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “ วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ” เพื่อย้ำถึงเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งคือเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้มวลมนุษยชาติตระหนักถึงความสำคัญของสื่อมวลชนที่จะต้องมีเสรีภาพ

 

แต่กระนั้นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นยุคแห่งความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันทางการเมืองได้ลุกลามเข้ามาถึงวงการสื่อมวลชน โดยแต่ละฝ่ายได้เปิดดำเนินการสื่อของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ หรือแม้แต่ในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มุ่งปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ต้องถูกท้าทายจากกลุ่มการเมืองหลายด้าน ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคทีมีการแข่งขันสูงระหว่างสื่อที่หลากหลายรูปแบบ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก จึงขอเสนอต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกสำนัก และทุกประเภท พึงตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ท่ามกลางสภาวะขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงการท้าทาย ยั่วยุ ให้เกิดความรุนแรง  แม้ว่ารัฐธรรมนูญได้ให้หลักประกันในด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน แต่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด สำนักใด ก็ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพด้วย
2.การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนบนความท้าทายครั้งใหม่ ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมือง นอกจากความรับผิดชอบแล้ว การดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพก็เป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงไม่ควรถูกคุกคามแทรกแซงจากอำนาจรัฐ กลุ่มการเมือง กลุ่มอิทธิพล รวมถึงกลุ่มทุน ใดๆ
3.ขอเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความจริงใจในการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยต้องปราศจากการครอบงำจากหน่วยงานของรัฐและทุนขนาดใหญ่ เพื่อให้การดำเนินงานของสื่อสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยฝ่ายรัฐบาลควร ระมัดระวังการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือทางการเมือง
4.รัฐบาลต้องยุติการออกกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน โดยเฉพาะร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องไม่มีการแก้ไขไปในลักษณะที่ลดทอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนที่ได้บัญญัติไว้สมบูรณ์แล้ว
5.ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ การมีวิจารณญาณในการรับรู้ข่าวสารถือเป็นเรื่องสำคัญ จึงขอให้ประชาชนได้โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร เปิดใจกว้างรับฟังความเห็นที่หลากหลายจากสื่อมวลชน ทั้งนี้ พึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการรับข่าวสารจากสื่อที่เป็นเครื่องมือทางการเมือง ขณะเดียวกันสื่อภาคประชาชน และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พึงตระหนักถึงกระบวนการนำเสนอด้วยความรับผิดชอบเช่นกัน

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
3 พฤษภาคม 2555


Statement on the World Press Freedom Day  “New Challenges for Press Freedom”

The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) declared May 3 of every year to be the World Press Freedom Day to emphasize the will and the principles of the freedom of the press and to remind all humans of the importance of the free press.

Amid divisive ideas and political ideologies that led up to the use of violence over the past years, the local media are now having difficulties working as several conflicting political parties have started their own media businesses including newspapers, satellite-broadcast televisions and social media, prompting the media who committed themselves to the principle of professional journalism to face a lot of challenges from these political groups. At the same time the media themselves have to face a lot of technological changes that affected their work in a wide range of media competition.

As such, the Thai Journalists Association (TJA) and the Thai Broadcast Journalists Association (TBJA) have realized the importance of the World Press Freedom Day today and issued a five –point statement as follows:

1. We call on all media to be aware of their responsibilities under the ethical framework to avoid provocation and violence amid the country’s divisive politics even though the Constitution guarantees the right to freedom of expression.

2. The local media must not be threatened and interfered by powerful figures in the state, the political groups, the influential figures and the vested interest groups.

3. We call on the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC) to be sincere in reforming radio and television so that they can do their duties without interference from the state and the vested interest group to be in line with the will of the Constitution. The government itself should be more careful in the media intervention and should not use the state media as its political tool.

4. We call on the government to stop pushing for laws that are considered limiting the rights to freedom of expression such as an amendment to the Printing Act. And there must be no amendment to a clause that guaranteed the rights to freedom of expression stated in the Constitution.

5. We urge the public to acquire media literacy, to be open-minded and listen to a variety of media amid the country’s divisive politics to prevent themselves from being political tools and at the same time civic media and social media users should also be aware of their reporting responsibilities.

The Thai Journalists Association

The Thai Broadcast Journalists Association

May 3, 2012

แท็ก คำค้นหา