“วิกฤติ Fake News ในนิเวศธุรกิจสื่อ”

งานเสวนาfake news

ผู้บริโภคพลังสำคัญ ที่จะหยุด FAKE NEWS ส่วนคนทำข่าวก็ต้องรู้เท่าทัน ‘หรือถ้าไม่รู้เท่าทัน ก็ยังดีกว่าสมคบคิด’ ออกกฎหมายบังคับใช้ไม่ใช่ทางแก้ เรียกร้องให้เจ้าของแพลตฟอร์มร่วมรับผิดชอบกลั่นกรองป้องกัน

(25 ก.พ. 2561) คณะนิติศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ และ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีสัมมนาวิชาการ “วิกฤติ Fake News ในนิเวศธุรกิจสื่อ” ในเวทีดังกล่าวฯ มีการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สะท้อนมุมมองกรณีดังกล่าว ในด้านวารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ รวมทั้งด้านกฎหมาย และ วิชาชีพสื่อหลากหลาย วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ./ อาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มธ. / นายอดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ ผู้ก่อตั้งเว็ปไซด์ 77 ข่าวเด็ด และ อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่นบรอดเคสติ้งคอร์ปอเรชั่น / นางสาวอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา บรรณาธิการ The Momentum / ดำเนินรายการโดย รศ.รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ.
บทสรุปและข้อเสนอแนะ Fake News จากเวทีสัมมนาวิชาการ “วิกฤติ Fake News ในนิเวศธุรกิจสื่อ” คือ
“ในส่วนของสื่อ กองบรรณาธิการสื่อหลักทั้งหลายควรมีจุยืนที่ชัดเจนต่อ Fake News ว่าจะทำอย่างไร ต่อกรณี Fake News และสื่อมวลชนควรมีการเช็คข่าว ตรวจสอบข่าวและข้อมูลข่าวที่นำเสนอว่าเป็นความจริงหรือไม่? ส่วนในด้านวิชาการนั้น การให้ความรู้ ให้การศึกษาพัฒนาคนในแวดวงวิชาการและสังคมประชาชนทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้มีความตระหนักและรู้เท่าทันข่าวปลอม ด้านกลไกรัฐก็ควรเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมดูแลแต่ไม่ใช่เป็นการจำกัดเสรีภาพ และท้ายที่สุดพลังสำคัญที่จะหยุด Fake News ได้คือ พลังผู้บริโภค ต้องลุกขึ้นมาและยืนหยัดตรวจสอบข่าวปลอม ข่าวลวง และการที่ผู้บริโภคจะสามารถตรวจสอบและรู้เท่าทันข่าวปลอม ข่าวลวงได้นั้น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการมีสิทธิเสรีภาพที่มากพอของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ”
อาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มธ. “เสรีภาพสื่อ ไม่ใช่จำกัดไม่ได้ แต่อะไรคือเหตุผล และ วิธีการที่จะจำกัดและกำกับเสรีภาพในการสื่อสาร ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่เพื่อจำกัดเสรีภาพสื่ออีกแล้ว เพราะกฎหมายที่มีอยู่ก็มีมากพอแล้ว เพียงแต่ต้องนำมาหาสมดุลประโยชน์ที่ได้จากการจำกัดเสรีภาพสื่อกับผลประโยชน์ที่จะเสียไปจากการจำกัดเสรีภาพสื่อ ต้องนำ Chilling Effect เข้ามาพิจารณาด้วยว่าจะเกิดผลอะไรขึ้น ถ้าเกิดความกลัวของทั้งสื่อและผู้คนทั่วไปในการสื่อสาร และ จะสร้างสมดุลระหว่าง ‘คุณภาพ และ เสรีภาพ ได้อย่างไร’ ”
Fake News: ปรากฏการณ์ ปัญหา ทางออก

“การใช้กฎหมายเท่ากับการใช้อำนาจรัฐ การแก้ปัญหา Fake News ขอเสนอให้ใช้เครื่องมืออื่นๆ แทนการออกกฎหมาย แต่วิธีที่สำคัญและดีที่สุดคือการส่งเสริมให้สังคมและคนรู้เท่าทันสื่อ ส่งเสริมให้การกำกับดูแลกันเองของสื่อมีประสิทธิภาพ เป็นทางออกที่ดี ที่ไม่สร้างบรรยากาศความตึงเครียดใน สังคม“ อาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าว
ด้าน ผศ.ดร. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. แสดงความคิดเห็นผ่านมุมมองในฐานะนักนิเทศศาสตร์ว่า ปรากฏการณ์ Fake News ไม่ใช่สิ่งใหม่ สำหรับเมืองไทย “บ่อยครั้งที่สื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้ Fake news น่าเชื่อถือ โดยที่สื่อที่นำเสนอเผยแพร่ Fake News นั้นอาจรู้ว่า นี่คือ Fake News แต่ก็ยังนำเสนอเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง หรือบางสื่อ ก็นำเสนอ Fake News ออกไปโดยที่ไม่รู้จริงๆ ว่า เรื่องที่นำเสนอคือ Fake News ปัญหาที่สำคัญคือ การที่คนยังไม่รู้เท่าทันสื่อ ขณะที่รูปแบบและเทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น การแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือ ‘คนทำข่าวก็ต้องรู้เท่าทันข่าวสาร หรือไม่รู้เท่าทัน ก็ยังดีกว่าสมคบคิด’ “
ส่วนคุณอดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ มองว่า” Fake News ในประเทศไทย มีผลกระทบในวงกว้างกว่าหลายๆ ประเทศ แม้แต่สื่อหลักในเมืองไทยยังเจอ facebook ปลอม website ปลอม ซึ่งการปลอมทั้งหมดเพื่อผลประโยชน์ ซึงมองว่าต้นตอของปัญหาคือ ผู้ให้บริการและเจ้าของ platform โดยเฉพาะเฟสบุ๊คเป็นช่องทางการแพร่กระจาย Fake News มากที่สุด เพราะระบบการกรองการตรวจสอบต่ำมาก โดยส่วนตัวเห็นว่า Platform ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบและป้องกัน Fake News ในช่องทางการให้บริการของแต่ละแพลตฟอร์มด้วย โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่ให้บริการด้านโซเซียลมีเดีย คาดว่าถ้ามีการเลือกตั้งในประเทศไทยเมื่อไหร่ และหน่วยงานที่รับผิดชอบและกำกับดูแลสื่อโซเซียลมีเดีย สื่อออนไลน์ ยังไม่การกำหนดกรอบกติกา Fake News และ Hate speech ในช่วงการเลือกตั้งจะโหมกระพือเข้ามาจนเกิดปัญหาขึ้นมาอีก”

28168591_1194254684045459_1379473903694035055_n

28167948_1194254667378794_5585648899444066278_n

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

แท็ก คำค้นหา