ขอแสดงความยินดีกับได้รับรางวัลข่าวสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 12

%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a22559

ขอแสดงความยินดีกับได้รับรางวัลข่าวสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 12 รวมทั้ง นิสิต นักศึกษา ที่ผลงานผ่านเข้ารอบและได้รับเกียรติบัตรทุกคน

ผลการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าววิทยุโทรทัศน์ สายฟ้าน้อยครั้งที่ 12 มีผลงานได้รับรางวัลดีเด่นเพียงเรื่องเดียวคือ “ขันลงหินรอวันอวสาน มหาวิทยาลัยรังสิต” มรภ.สงขลาได้สองรางวัลชมเชยประเภทสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชน / ม.กรุงเทพ คว้ารางวัลชมเชย ส่วน มช.คว้ารางวัลชมเชยสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง
(17 ธ.ค.2559) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดงานประกาศผลรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2559 เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการผลิตรายการ และเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ อันจะเป็นช่องทางในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วิชาชีพหลังจากจบการศึกษาต่อไป ในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 86 เรื่อง แบ่งเป็นประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ จำนวน 68 เรื่อง ใน 4 ประเภทรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ดังนี้

– ผลงานเข้ารอบรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทข่าวทั่วไปดีเด่น
จำนวน 3 เรื่อง จาก 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่….. 1.เรื่อง ภัยย้อมผม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
2.เรื่อง ซัก อบ รีด มหันตภัยที่ไม่มีใครคุ้มครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3.เรื่อง วิถีเด็กสแกน
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ * โดยทั้ง 3 เรื่องที่ผ่านเข้ารอบไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลชมเชยและรางวัลดีเด่นในประเภทนี้

– ผลงานเข้ารอบรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทสิ่งแวดล้อมดีเด่น
จำนวน 3 เรื่อง จาก 2 สถาบันการศึกษา ได้แก่….. 1.เรื่อง คะน้ายุค 4.0 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2.เรื่อง ชุมชนไร้ถังขยะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3.เรื่อง (ปู)…สิ่งมีชีวิตที่รอฟื้นฟู
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา * ผลการตัดสินคือ เรื่อง (ปู)…สิ่งมีชีวิตที่รอฟื้นฟู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับรางวัลชมเชย โดยได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 10,000 บาท
*และไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่นในประเภทนี้

– ผลงานเข้ารอบรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทวิถีชุมชนดีเด่น
จำนวน 3 เรื่อง จาก 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่….. 1.เรื่อง หอมดอกฮัง…ปลูกข้าว ปลูกชีวิต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2.เรื่อง ชุมชนต้นแบบการจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3.เรื่อง ตลาดขายวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
*ผลการตัดสินคือ ผลงาน เรื่อง หอมดอกฮัง…ปลูกข้าว ปลูกชีวิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
และ เรื่อง ตลาดขายวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับรางวัลชมเชย โดยทั้งสองมหาวิทยาลัยจะได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท *และไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่นในประเภทนี้

-ผลงานเข้ารอบรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรมดีเด่น
จำนวน 3 เรื่อง จาก 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่…. 1.เรื่อง หนีห่าว ไท่กั๋วเหริน….สวัสดีคนไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2.เรื่อง ขันลงหินรอวันอวสาน มหาวิทยาลัยรังสิต 3.เรื่อง มัสยิดซอลาฮุดดีน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
*ผลการตัดสินรางวัลคือ เรื่อง ขันลงหินรอวันอวสาน มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลดีเด่น
และไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลชมเชย

สำหรับรางวัลสายฟ้าน้อยประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง จำนวน 18 เรื่อง จาก 7 สถาบันการศึกษานั้น คณะกรรมการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อย ประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง ได้พิจารณาคัดเลือกผลงานผ่านเข้ารอบ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่อง ส้มตำ ยาดอง หัวลำโพง มหาวิทยาลัยรังสิต 2.เรื่อง Cyber Bullying ภัยร้ายใกล้ตัวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 3. เรื่อง ชีวิตที่ไร้จุดหมาย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4.เรื่อง พินัยกรรมชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่5.เรื่อง ยุ้งข้าว สู้วิกฤต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าววิทยุ สายฟ้าน้อย ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2559 ไม่มีผู้ใดได้รับรางวัล รางวัลดีเด่น แต่มีผู้ได้รับรางวัลชมเชย 2 รางวัล คือ เรื่อง Cyber Bullying ภัยร้ายใกล้ตัว จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ เรื่อง ยุ้งข้าว สู้ วิกฤต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับโล่เกียรติยศ และเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท นอกจากนี้ คณะกรรมการตัดสินรางวัลประเภทวิทยุ ยังได้มอบเกียรติบัตรด้านการผลิตรายการ ‘ดี’ เรื่อง พินัยกรรมชีวิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับคณะกรรมการตัดสินรางวัลประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุ คือ นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน ,นาย เดชา รินทพล ผู้จัดการ สถานีวิทยุครอบครัวข่าว FM.106 Mhz. , น.ส. โสภิต หวังวิวัฒนา นักจัดรายการวิทยุอิสระ FM.96.5 MHz. รายการ”เช้าทันโลก” , น.ส. รัศมี มณีนิล นักจัดรายการวิทยุด้านเด็กและครอบครัว สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่น FM 105 MHz และ น.ส.สุดารัตน์ พงษ์สิงห์โตครีเอทีฟและนักจัดรายการ F.M. 96.5 MHz.

คณะกรรมการตัดสินประเภท “สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์” คือ นายพิภพ พานิชภักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ , นายจักรพันธุ์ กมุทโยธินบรรณาธิการบริหารด้านบทข่าว สถานีโทรทัศน์ TNN 24 และฝึกอบรม บมจ. ทรูวิชั่นส์ , นางสาวสนมพร ฉิมเฉลิม ผู้ช่วยผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, อาจารย์ปรัชญา เปี่ยมการุณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นายสุรชา บุญเปี่ยม บรรณาธิการอาวุโส สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ และ นางสาวธนานุช สงวนศักดิ์ ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดให้มีการประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2548 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีคุณภาพของนิสิตนักศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตนักศึกษาก่อนเข้าสู่วิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ อีกทั้งยังประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนโครงการฯ สำหรับการพิจารณาตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยสมาคมฯ ได้สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินรางวัลไว้ดังนี้ ด้านคุณภาพ(Quality) คุณค่า(Value) ผลงาน(Performance) และจรรยาบรรณ/จริยธรรม(Code of Ethics)

**** ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวสื่อ : Face book เพจ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

แท็ก คำค้นหา