บทเรียนธุรกิจ โดย…จิตติศักดิ์ นันทพานิช การรุกของบรรษัทข่าวโลก

โดย…จิตติศักดิ์ นันทพานิช
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

 

ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมามีข่าวคราวการเคลื่อนไหวของสื่อระดับโลกถึงเกี่ยวพันกับ นิวมีเดีย ถึง 2 ข่าว

ข่าวแรกคือ การที่ เจ้าพ่อสื่อ รูเพิร์ด เมอร์ดอค เจ้าของ นิวส์ คอร์ป อาณาจักรสื่อใหญ่ที่สุดในโลก เสนอซื้อ ดาวน์โจนส์ ซึ่งครอบครองสื่อที่จัดอยู่ในกลุ่ม” ทรงอิทธิพล “อาทิ หนังสือพิมพ์ ดิวอลล์ สตรีท เจอร์นัล และ ดาวนส์โจนส์ เอพี-ดาวนส์โจนส์ เป็นต้น นิวส์ไลน์ ส่วนข่าวที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงไล่เลี่ยกันคือการที่ ธอมสัน คอร์ปอเรชั่น ของแคนาดา รุก เจรจา ซื้อ รอยเตอร์ ของอังกฤษ

รายแรกนั้นข่าวระบุว่า เมอร์ดอคเจ้าของสมญาเจ้าพอ่สื่อบันเทิงโลก เพราะปัจจุบันแกเป็นเจ้าของสื่อมากมายตั้งแต่ ไทมส์ และ เจ้าของสถานีข่าวเคเบิลทีวี ฟอกซ์ นิวส์ เป็นต้น ได้ เตรียมเงินเพื่อการนี้ไว้ถึง 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากคำนวนเป็นบาทก็ตกราว 180,000 ล้านบาท โดยเมอร์ดอกยื่นข้อเสนอให้ตระกูล แบรนครออฟท์ ซึ่งถือหุ้น ดาวน์โจนส์ไว้ในมือถึง 24.7 % ขอซื้อหุ้นในราคา 60 ดอลลาร์ฯต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าราคาที่ซื้อ-ขายในวอลล์สตรีทกว่า 65 %

มีคนวิเคราะห์ว่าเหตุผลที่ เมอร์ดอค ปราถนาเป็นเจ้าของ ดาวนส์โจนส์ เพราะต้องการเป็นผู้ทรงอิทธิพลในโลกข่าวสาร เนื่องจากสื่อในครอบครองของ ดาวนส์โจน์ ล้วนจัดอยู่ในกลุ่ม “ทรงอิทธิพล” ซึ่งเป็นสิ่งที่ เมอร์คอคถวิลหา เพราะถึงแม้ เจ้าของบรรษัทสื่อข้ามชาติวั ยเฉียด 80 ปีรายนี้ ได้รับสมญาว่าเจ้าพื่อสื่อ หากในวงการ มอง เมอร์ดอค เป็นเพียง เจ้าของสื่อที่แสวงหาผลประโยชน์ทางอ้อมอย่างไม่มีขอบ เขต แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้นการรุกของ เมอร์ดอคเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ที่ต้องการยึดหัวหาดในช่วงที่กระแส “นิวมีเดีย” กำลังเริ่มร้อนแรง

อย่าลืมว่า ดาวน์โจนส์เป็นเจ้าของสำนักข่าว ออนไลน์ ชั้นนำอย่าง ดาวน์โจนส์ที่ โดดเด่นใน ข่าวเศรษฐกิจการเงิน และ เอพี-ดาวน์โจนส์ ที่เน้นหนักในเรื่องการเมือง สังคม

และข่าวที่น่าสนใจทั่วๆไป การได้ครอบครอง ดาวน์โจนส์ที่มีเครือข่ายข่าว และลูกค้าทั่วโลก ย่อมเป็นการต่อยอดให้กับ นิวส์คอร์ป เพื่อใช้เป็นแต้มต่อในการสยายปีกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และก่อนหน้านี้ เมอร์ดอค ก็เคยประกาศจะซื้อเว็บยอดนิยมอย่าง มาส สเปซ มาแล้วซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นทิศทางของนิวส์ คอร์ปได้ดีว่ากำลังจะไปทางไหน!!

ในกรณีของ ธอมสัน คอร์ปอเรชั่น แห่ง แคนาดา หรือธอม สัน ที่เสนอซื้อ รอยเตอร์ กรุ๊ป ของอังกฤษในราคา 17,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นไปเป็น บรรษัทข่าวและข้อมูลทางการเงินใหญ่ที่สุดในโลก นั้น ถือ เป็นการรุปทางยุทธศาสตร์ที่ไม่ต่างจาก นิวส์คอร์ป แต่อย่างใด

เพราะ ธอมสัน นั้น มีพื้นฐานจากธุรกิจ ผู้ให้บริการ พัฒนาระบบ และซอฟท์แวร์ ถ้าบอกว่าเติบโตมาจาก “ฮาร์ดแวร์”ก็คงไม่ผิด หาก ธอมสัน ได้ครอบครอง รอยเตอร์ สำนักข่าว”เรียลไทม์” ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1851 และปัจจุบันถือเป็นผู้นำในการให้บริการข่าวธุรกิจเศรษฐกิจออนไลน์ของโลก หรือเปรียบเสมือนผู้ครอบครอง”เนื้อหา “ชั้นดี กรณีนี้ไม่ว่าธอมสันจะเข้าครอบครอง รอยเตอร์ ในลักษณะใด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ ธอมสัน

ผงาดขึ้นมาเป็นผู้เล่นในตลาดผู้ให้บริการข่าวออนไลน์การเงินระดับโลกตามที่หวังไว้ได้ในทันควัน

งานนี้ หาก เมอร์คอด สามารถเติมความฝันของตัวเองได้เต็ม ด้วยการ บรรลุข้อตกลง กับ ครอบครัว แบรนครอฟท์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ดาวน์โจนส์ได้ และการเจรจา ธอมสัน กับ รอยเตอร์ เป็นไปตามแผน ทั้ง 2 ดีลไม่เพียงเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญของ บรรษัทข่าวระดับโลก หรือ เป็นดีลที่มีมูลค่าสูงระดับต้นๆเท่านั้น หากยังถือ เป็นสัญญาณการปรับตัวของสื่อระดับโลก ต่อการรุกไล่ ของ นิวมีเดีย ที่มีต่อสื่อหลัก หรือ สื่อเก่า

สำหรับ ธุรกิจสื่อในประเทศไทยคงไม่สามารถเลี่ยงการเผชิญหน้า กับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแน่นอน.

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2218 17 พ.ค. – 19 พ.ค. 2550

แท็ก คำค้นหา