หยุดเพ้อฝัน “ปฏิรูปสื่อ”

โดย ทรงยศ บัวเผื่อน
มติชน รายวัน

วันที่ 02 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10555
เขียนบทความเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อไว้หลายเรื่อง แต่ละเรื่องหากย้อนกลับไปอ่านจะพบว่าในมุมมองของผู้เขียนนั้น การปฏิรูปสื่อไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นง่ายๆ

จากประสบการณ์ที่ได้รู้ได้เห็น พบว่าทุกรัฐบาลไม่ต้องการให้สื่อวิทยุโทรทัศน์พ้นจากอำนาจรัฐ

เหตุผลก็เพราะเมื่อสื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ รัฐบาลย่อมมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะใช้ประโยชน์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตนเอง ด้วยการนำเสนอมุมมองด้านที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล และหลีกเลี่ยงนำเสนอผลกระทบด้านลบอันจะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสายตาประชาชนด้อยคุณค่าลง

หากสังคมไทยจะปฏิรูปสื่อให้สื่อวิทยุกระจายเสียงและโท ;รทัศน์พ้นจากอำนาจรัฐโดยให้เอกชนเป็นเจ้าของสื่อ นั่นหมายความว่า โอกาสที่รัฐบาลจะเข้ามากำกับก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล

สภาพการณ์ของสื่อจากอดีตสู่ปัจจุบัน จะเห็นว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างพยายามเข้าแทรกแซงสื่อมวลชน

วิธีการแทรกแซงมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ การใช้เงินทุ่มซื้อโฆษณาเพื่อค้ำจุนให้สื่อมวลชนมีผลกำไรโดยเศรษฐีเจ้าของธุรกิจที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆ การฟ้องร้องดำเนินคดี การต่อว่าต่อขานให้เสียหน้า และอีกหลากหลายวิธีการที่กระทำสืบต่อกันมาโดยตลอด

แม้กระทั่งผู้ที่สังกัดพรรคฝ่ายค้านที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสื่อ แท้จริงแล้วผู้เขียนมองว่าการออกมาเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้มีเจตนาที่ต้องการให้สังคมไทยได้ประโยชน์จากการปฏิรูปสื่ออย่างที่พวกเขาเรียกร้องหรอก เมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ตนเองและพวกพ้องจะได้รับ นั่นคือ การได้รับคะแนนเสียงชื่นชม สนับสนุนจากสังคม และการได้ปรากฏในสื่อมวลชนเพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะจากประสบการณ์เราได้เห็นมาแล้วว่า เมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง และได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล เขาก็ใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุดเช่นเดียวกัน ไม่มีการออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อหรือจริงใจที่จะปฏิรูปสื่อดังเช่นที่ตนเองเคยวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงที่เป็นฝ่ายค้าน

เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะเมื่อเข ;าได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ทว่าหากสมาชิกพรรคการเมืองท่านอื่นเห็นพ้องต้องกันว่า ควรให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นก่อนที่จะปฏิรูปสื่อมวลชน พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มองว่าสื่อมีปัญหาที่จะต้องเร่งปฏิรูป เปลวเพลิงแห่งการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อของนักการเมืองท่านนั้นก็ค่อยๆ มอดไหม้ลง เพราะหากเรียกร้องต่อไปจะทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลขาดความสามัคคีภายในพรรคในสายตาประชาชน

และหากยังคงเรียกร้องต่อไปโดยไม่ฟังเสียงท้วงติงจากผู้ใหญ่ ;ในพรรคการเมือง จะเป็นภัยต่อผู้เรียกร้องเอง

พูดได้เลยว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดในประเทศไทยหรอกที่จริงใจปฏิรูประบบสื่อสารมวลชน

จากการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของสื่อวิทยุโทรทัศน์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่ารัฐบาลพรรคการเมืองใดก็ตามที่เข้ามาบริหารประเทศ พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้จริงใจกับการปฏิรูปสื่อแม้แต่น้อย

สิ่งที่เขาคำนึงถึงเป็นลำดับแรกคือจะใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้ ;นกับเขาอย่างไร และทำอย่างไรจึงให้สื่อมวลชนนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและผลงานของรัฐบาลในด้านดี ไม่เสนอข่าวสารที่ทำให้ภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่อยู่ในคณะรัฐบาลและกิจกรรมต่างๆ ในทางลบ

สิ่งนี้ต่างหากที่นักการเมืองเหล่านั้นจริงใจกระทำ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ขอให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้อ่านว่าอย่าหลงใหลได้ปลื้มกับรัฐบาลชุดใหม่ ไม่ว่าชุดใดก็ตามทีที่เข้ามาบริหารประเทศ โดยคาดหวังว่าพวกเขาเหล่านั้นจะจริงใจปฏิรูประบบสื่อมวลชนของประเทศไทย

เมื่อย้อนกลับไปดูสภาพการณ์ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่บริหารประเทศ จะพบว่าเป็นยุคที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดแทรกแซงสื่อวิทยุโทรทัศน์ เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสื่อวิทยุโทรทัศน์ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จนกระทั่งหลายองค์ก ;รพร้อมใจกันออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ลดการแทรกแซงสื่อมวลชนลงบ้าง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

หรือแม้แต่การออกมาเคลื่อนไหววิพากษ์การแทรกแซงสื่อในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ของสื่อมวลชนบางสำนัก หากพินิจพิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่าองค์กรนี้ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงปัดกวาดบ้านเรือนของตนเองมากอยู่ โดยเฉพาะในประเด็นการปฏิรูปจริยธรรมในการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อมวลชน

เมื่อมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันที่นำโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน สภาพการณ์ของสื่อมวลชนในความเห็นของผู้เขียนไม่ได้ดีไปกว่ายุคที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เลยแม้แต่น้อย

ในทางตรงกันข้าม มีการใช้อำนาจแทรกแซง ลิดรอนสื่ออย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา อาทิ การเชิญผู้บริหารสื่อมวลชนร่วมรับประทานอาหารและขอความร่วมมือให้นำเสนอ ไม่นำเสนอข่าวสาร การขอความร่วมมือคือการใช้อำนาจกำชับให้ปฏิบัติตาม หาไม่แล้วความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับผู้มีอำนาจจะย่ำแย่ลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อองค์กรสื่อเอง

ผู้เขียนมองว่าการขอความร่วมมือลักษณะนี้เป็นการคุกคามสื่อมวลชนอย่างที่ไม่สมควรเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับการกระทำรัฐประหาร

ขอตั้งเป็นคำถามว่า ประสบการณ์ที่นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนที่เคลื่อนไหวด้านการปฏิรูปสื่อมวลชน และองค์กรอื่นๆ ในสังคม ร่วมกันเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสื่อมวลชนไทยตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านคิดว่าการเรียกร้องนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

และหากพินิจเพ่งมองสภาพการณ์ของสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบันที่อยู่ภายใต้การปกครองที่มาจากการใช้กำลังทหารกระทำรัฐประหาร

ท่านคิดว่าสังคมไทยจะได้รับการปฏิรูปสื ;่อตามที่มีการเรียกร้องกันหรือไม่

หรือมีแนวโน้มถูกคุกคาม ลิดรอน แทรกแซงโดยผู้มีอำนาจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม คำถามนี้ขอไม่ตอบ เพราะเชื่อว่าคำตอบอยู่ในใจท่านแล้ว

ความรู้เกิดจากประสบการณ์

แท็ก คำค้นหา