กว่าจะเป็นนักข่าว”สายฟ้าน้อย” รุ่นที่ 6

saifanoi6

 

อาบรมสายฟ้าน้อย6

 

สัญญาใจ…สายใยความผูกพัน… โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัตินักข่าว “สายฟ้าน้อย” รุ่นที่ 6

“สัญญาใจคะ…สัญญาใจ” คือ เสียงที่น้องๆ ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว สายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6 ได้ยิน ได้ฟังบ่อยที่สุด  และจดจำกันได้อย่างขึ้นใจ มากกว่า สาระความรู้ที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรผู้ชำนาญการแต่ละฝ่าย ได้เสียสละเวลามาถ่ายทอดและฝึกอบรบให้กับ น้องๆ ตัวแทนนักศึกษา ด้าน นิเทศน์ศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จาก สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 60 คน ซึ่งน้องๆ นักข่าวสายฟ้ารุ่นที่ 6 ก็เต็มใจน้อมรับกับฉายา สายฟ้าน้อย รุ่น “สัญญาใจ” ที่พี่ๆ วิทยากรตั้งให้ด้วยความเต็มใจ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว “สายฟ้าน้อย” จัดโดยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยโครงการฝึกอบรมนักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 1  เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2546

 

ก้าวแรกของนักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6  

 

สำหรับโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัตินักข่าวสาย ฟ้าน้อย รุ่นที่ 6  หรือรุ่น “สัญญาใจ”  ได้มีการฝึกอบรบไปแล้วเเมื่อวันที่ 28 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการนัดหมายน้องๆ ทั้ง 60 คน ให้มาพบกันที่ ชั้น 29 อาคารทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เพื่อพบปะพูดคุยทำความรู้จักกันในเบื้องต้นก่อน โดยมีพี่เลี้ยงจากฝ่ายสันทนาการ  ทำการพูดคุยแบ่งกลุ่มน้องๆ ตามป้ายชื่อสีที่แต่ละคนได้รับจากการลงทะเบียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการทำความรู้จักกันของน้องจากต่างสถาบันการศึกษา และเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกอบรมโดยที่น้องๆ ไม่รู้ตัว คือ การทำงานเป็นทีม โดยแบ่งเป็น 5 ทีม พร้อมกับให้สัญลักษณ์และความหมายของแต่ละทีม คือ

  • ทีมสีขาว            สัญญลักษณ์        คือ นกพิราบ หมายถึง มีใจรักในอิสระเสรีเป็นที่ตั้ง
  • ทีมสีเขียว           สัญญลักษณ์        คือ นกแก้ว   หมายถึง การจดจำ เรียนรู้อย่างขยัน
  • ทีมสีฟ้า              สัญญลักษณ์        คือ ปลาโลมา หมายถึง ความฉลาดหลักแหลม
  • ทีมสีแดง            สัญญลักษณ์        คือ หมาป่า    หมายถึง  อดทน อดกลั้น ใจเป็นกลาง
  • ทีมสีเหลือง         สัญญลักษณ์        คือ พญาอินทรีย์ หมายถึง รวดเร็ว ฉับไว

เมื่อแบ่งสี แบ่งทีมกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว น้องๆ นั่งรวมตัวกันตามกลุ่มสีของตัวเอง

 

0017

 

 

พิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัตินักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6 อย่างเป็นทางการก็ได้เริ่มต้นขึ้นโดย คุณ เสาวนีย์ ลิมมานนท์ ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานซีเอสอาร์และหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์การ ตลาดกลุ่มทรู กล่าวต้อนรับนักข่าวสายฟ้ารุ่นที่ 6 อย่างเป็นทางการ

ต่อจากนั้น คุณเทพชัย หย่องที่ปรึกษา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ ผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ กล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งได้ให้ข้อคิดในการเป็นนักข่าวที่ดีสำหรับผู้เข้าร่วมฝึกอบรม นักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6  ว่า ” การเป็นสื่อมวลชนที่ดีนั้นเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก เส้นทางยาวไกล และเต็มไปด้วยความลำบาก ถ้าใครอยากประสบความสำเร็จบนถนนสายนี้ ต้องตั้งใจเรียนรู้และสัมผัสจริง…แต่ที่อยากให้ทุกคนตระหนักและยึดถือ ปฏิบัติในการเดินบนถนนสายนี้คือ ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรม เพราะนี้คือ หัวใจสำคัญของคนสื่อ…สื่อมวลชนไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่รายงานข่าว แต่ควรทำหน้าที่ตรวจสอบสังคม”

คุณเทพชัย หย่อง ได้ย้ำคำพูดที่ว่า ” ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรม ความมีจิตสำนึกที่ดี ความเข้าใจของวิชาชีพ คือ หัวใจสำคัญของคนสื่อสารมวลชน ที่อยากให้น้องๆ และสื่อตระหนัก”

ส่วน คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวกับนักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6 ว่า ” อนาคตของวงการสื่อต้องการคนที่หน้าที่สื่อที่ดี และไม่มีทางลัดสำหรับการก้าวขึ้นไปสู่นักข่าวที่เก่ง นอกจากมุ่งมั่นแล้วก้าวไปสู่จุดนั้น สิ่งที่น้องๆ ได้เรียนมาจากห้องเรียนมีการนำมาใช้ แต่จะเป็นการใช้อย่างไร น้องๆ จะได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติในครั้งนี้ เพราะการฝึกอบรมในครั้งจะให้ประโยชน์กับน้องๆ ทุกคนในเชิงทักษะ การปฏิบัติ การสื่อสารและการเสนอแผนงาน ซึ่งน้องๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงเมื่อวันที่ได้ทำหน้าที่สื่อมวลชน”

ปิดท้ายพิธีเปิดอย่างเป็นทางการด้วย คุณเจตห์ เหมชะญาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการตลาดทรูไลฟ์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น บรรยายเรื่อง “Schoolbus.Truelife.com เติมเต็มไลฟ์สไตล์วัยเรียน เอาใจเด็กไทยยุคดิจิทัล” สำหรับนักสื่อสารมวลชน โดย คุณเจตห์ ได้ ชี้ให้น้องๆ ที่เข้าอบรมได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง สื่ออินเตอร์เนต กับ วิทยุและโทรทัศน์ ว่า สื่ออินเตอร์เนต มีความรวดเร็ว และมีการโต้ตอบทันที สามารถรู้ทัศนคติจากคนอ่านได้ทันที และทุกคนสามารถสร้างเนื้อหาหรือคอนเทนท์ของตัวเองได้ ผ่านยูสเซอร์หรือบล๊อกซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้ อินเตอร์เนตทำให้ข่าวมีมูลค่าเพิ่ม เกิดผลกระทบและมีการโต้ตอบทันที

 

จบการบรรยายเรื่อง Schoolbus.Truelife.com เติมเต็มไลฟ์สไตล์วัยเรียน เอาใจเด็กไทยยุคดิจิทัล จากการสังเกตของพี่ๆ เริ่มเห็นปฏิสัมพันธ์ของน้องๆ แต่ละสีแต่กลุ่มมีความสนิทมากขึ้น จากคนแปลกหน้าเริ่มกลายเป็นคนหน้าแปลกแต่คุ้นเคยกันบ้างแล้ว ถือว่าเป็นการเตรียมตัวสำหรับการเป็นนักสื่อสารที่ดีเบื้องต้น

 

โผจากรังสู่การเรียนรู้…ค้นหาฝัน

เสร็จจากการถ่ายร่วมหมู่ เริ่มกิจกรรมนอกพื้นที่กันทันที โดยการเดินทางไปดูงาน องค์กรด้านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ เวอร์จิ้น เรดิโอ

 

0005

 

 

เมื่อได้เวลาพระอาทิตย์ส่องตรงลงมากระทบกับศรีษะน้อยๆ ของน้องๆ ก็ถึงเวลาที่น้องๆ จะต้องออกเดินทางต่อไปยัง จังหวัดสมุทรสงครามเพื่อเข้าฝึกอบรมเชิงปฏิบัติอย่างเข้มข้น…น้องๆ ทุกคนจึงต้องโบกมือลา ช่อง 3 และ เวอร์จิ้นเรดิโอ อย่างเสียดาย แต่หลายคน สายตาเต็มไปด้วยความหวังและความมุ่งมั่นว่า “สักวันหนึ่งฉันจะต้องกลับมาที่นี่อีกครั้ง แต่มาในฐานะของคนสื่อสารมวลชน ไม่ใช่แค่นักศึกษามาดูงานเหมือนครั้งนี้” อยากจะบอกว่าพี่ๆ ทุกคนดีใจ และภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่การดูงานสามารถจุดประกายและสร้างความฝันให้กับน้องๆ ได้…

 

 

 

0006

 

 

แต่ความฝันของน้องๆ อีกหลายคนไม่ได้อยู่ที่นี่ และถึงจะอยู่ที่นี่ น้องๆ ยังต้องการความรู้และทักษะเชิงลึกเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในฐานะสื่อมวลชน ที่ดี….ทุกคนจึงออกเดินทางไปพร้อมกันทั้ง 60 คน เพื่อมุ่งไปสู่ฝันข้างหน้าที่ยังรออยู่

ก้าวที่ย่าง… กับเส้นทางยังอีกยาวไกล

15.30 น. ของวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 นักข่าวสายฟ้าน้อย รุ่นที่ 6 ได้เดินทางมาถึง ตะบูนบานรีสอร์ท อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ณ สถานที่แห่งนี้ น้องๆ ทั้ง 60 คน จะต้องใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อร่วมกันฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ

เริ่มจากการเรียนรู้ภาคทฤษฏีโดยวิทยากรผู้เชียวชาญและปฏิบัติการจริงในการทำข่าวมาถ่ายทอดประสบการณ์และหลักการ คือ คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ และ คุณโสภิต หวังวิวัฒนา บรรณาธิการโต๊ะข่าวชุมชน สถาบันอิศรา ในห้วข้อ” เทคนิคการคิดประเด็นข่าวและการผลิตสารคดีสารคดีเชิงข่าว”

 

 

0007 

คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เปิดประเด็นด้วยการเล่าถึงประสบการณ์ในการทำข่าว พร้อมกับวลีเด็ดสำหรับคนที่คิดจะเป็นนักข่าวว่า “ห้ามพูดคำว่าไม่ได้ สำหรับคนที่เป็นนักข่าวแล้วทุกอย่างต้องได้” แล้ว ต่อด้วยคุณสมบัติของนักข่าวที่ดี คือ ต้องช่างสังเกต ช่างสงสัย ตั้งคำถาม หาข้อมูล หาคำตอบ มีความคล่องตัวสูง ตรงต่อเวลา มีความพร้อมตลอดกาล พร้อมที่จะเสียสละเวลาส่วนตัว รู้จักจินตนาการ และมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักตั้งสมมติฐาน แล้วคิดต่อ ติดตาม แล้วสังเกต อย่าปล่อยวางกับสิ่งที่เกิดขึ้น อย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อย

พร้อมกันนี้บรรณาธิการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ได้บอกเล่าเทคนิคให้น้องๆ ฟังถึงเทคการคิดประเด็นข่าวที่ดีนั้น ต้องมีมุมมองที่ชัดเจน มีการตรวจสอบที่มาที่ได้ไปได้อย่างละเอียด เริ่มต้นจากการสมติฐานหรือเรียกกันภาษานักข่าวว่า “จมูกข่าว”  และประเด็นข่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ที่สำคัญ ประเด็นข่าวไม่ใช่หัวเรื่อง แต่มักจะปรากฏในพาดหัว แต่ต้องใกล้ชิดผู้ชมและรู้จักคิดต่า’

ด้านองค์ประกอบข่าวที่ดีนั้น คุณคณิศ ได้ให้คำแนะนำต่อน้องๆ ไว้ว่า ต้องเร็ว มีความใกล้ชิด ความเด่น ความแปลกประหลาด ความขัดแย้ง ความมีเงื่อนงำ อารมณ์ ผลกระทบ เพศ ความก้าวหน้า

ส่วน คุณโสภิต หวังวิวัฒนา บรรณาธิการโต๊ะข่าวชุมชน สถาบันอิศ รา บอกเล่าประสบการณ์เพิ่มเติมจาก คุณคณิศ บุณยพานิช กับน้องๆ ถึงเครื่องมือเพื่อหาประเด็นข่าว ว่า น้องๆ รู้จักสังเกต เพราะบางทีเรื่องธรรมดาอาจไม่ธรรมดาก็ได้ รู้จักสงสัย คือ เอ๊ะ….แล้วหาคำตอบเพื่อ… อ๋อ…ต้องรู้จักตั้งสมมติฐาน หา ธีม ของประเด็นข่าวให้ได้ ประเด็นข่าวต้องม่ความสด ใหม่ น่าสนใจ ใกล้ตัวและ กระทบ มีความสำคัญ กับตัวคนฟัง คนดู คนอ่าน มีความแตกต่าง และรู้จักคิดนอกกรอบ สำหรับที่มาของข่าวและแหล่งข่าวนั้นอาจมาจาก คน เอกสาร หรือ ตัวนักข่าวเอง และที่สำคัญ ต้องรู้จักตั้งสงสัยว่า อย่างไร ทำไม …ทำข่าวชิ้นนี้ไปแล้ว คนดู คนฟังจะได้อะไร

 

0008

 

 

 

สำหรับกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว สายฟ้าน้อย รุ่นที่ 6 ในวันแรก คือวันที่ 28 พ.ย. จบลงด้วยภาคทฤษฏีที่เต็มไปด้วยเนื้อหา สาระ เพื่อจะให้น้องๆ นำไปใช้ในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต่อไป

มุ่งมั่น ตั้งใจ ไปให้ถึงฝัน

ในวันที่สองของการฝึกอบรมทั้งๆ ที่น้องๆ เหนื่อยกับการเดินทาง และการเรียนรู้ภาคทฤษฏีกันทั้งวันและกินเวลาไปเกือบค่อนคืน แต่น้องๆ ทุกคนยังรักษาเวลา ซึ่งคือ คุณสมบัติของนักสื่อสารมวลชนที่ดีอีกข้อหนึ่งที่น้องๆ นำมาปฏิบัติใช้กันอย่างพร้อมเพรียง กิจกรรมวันนี้สองเริ่มขึ้นด้วยการสร้างความพร้อม ความตื่นตัวในการเรียนรู้ โดยพี่ๆ ทีมสันทนาการ บูมเรียกความตื่นตัวจากแต่ละสี และร่วมการสอนการคิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมทางอ้อมด้วยการให้เล่นเกมต่างๆ ปรากฏว่าน้องๆ แต่ละสี แต่ละทีมต่างก็มีความพร้อมและทำได้ดีกันทุกทีม….สิ่งที่พี่ๆ ทุกคนอยากเห็นจากน้องๆ มากที่สุดคือ ความพร้อมในการทำงานร่วมกันเป็นทีม แต่จำนวนดาวที่เพิ่มขึ้นของแต่ละทีม ถือว่าเป็นรางวัลสำหรับทีมที่มีความพร้อมในการทำงานร่วมกันสูงสุดในแต่ละ กิจกรรมเท่านั้น

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติในวันนี้เริ่มด้วยภาคทฤษฏีและภาคปฏิวัติสื่อวิทยุ โดย คุณ อรนุช อนุศักดิ์เสถียร อดีตผู้ผลิตรายการอาวุโสบีบีซี ประเทศอังกฤษ, คุณเพ็ญสิน สงเนียม ผู้ประกาศสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย, คุณโสภิต หวังวัฒนา บรรณาธิการโต๊ะข่าวชุมชน สถาบันอิศรา ในหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนอข่าววิทยุให้น่าสนใจ”

 

0009

 

คุณอรนุช เริ่มต้นด้วยการจุดประกายไฟแห่งความฝันให้กับน้องๆ ในการทำสื่อวิทยุ ด้วยการแบ่งกลุ่มแล้วสมมติให้แต่ละกลุ่มเป็นสถานีวิทยุ ต่อด้วยการสอนเทคนิคการทำข่าว การรายงานข่าว เริ่มจากการคิดพาดหัวข่าว โดยให้น้องๆ ได้ฝึกคิดและทำจริงจากตัวอย่างข่าวที่คุณอรนุชเตรียมมาแจกน้องๆ  เมื่อน้องๆ ทำเสร็จแล้ว คุณอรนุชได้สรุปให้น้องๆ ฟังจากข่าวที่แจกให้น้องๆ ลองคิดพาดหัวข่าวว่า อะไรคือพาดหัวข่าว และ ทำไมถึงน่าสนใจ แล้วจะมีการพัฒนาประเด็นข่าวนั้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นการสอนให้น้องรู้จักคิดต่อ แล้วย้ำถึงการเสนอข่าวทั้งสองฝ่ายคือ คู่กรณีของแต่ละฝ่ายด้วย และควรทำข่าวแบบครอบคลุม หลักคร่าวๆ คือ จับประเด็น พัฒนาเรื่อง หาแหล่งข่าว พร้อมกันนี้ได้เสนอเทคนิคเฉพาะตัวเพิ่มเติมอีกว่า พาดหัวข่าวกับประเด็นข่าวต้องไปด้วย ผู้สื่อข่าวอย่าตัดสินอะไรง่าย ควรมีการวิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย

 

0010

 

 

ส่วน คุณโสภิต หวังวิวัฒนา พูดถึงคุณสมบัติของสื่อวิทยุที่แตกต่างจากสื่อประเภทอื่นคือ วิทยุ สื่อด้วยเสียง มีความรวดเร็ว คนฟังวิทยุสามารถทำอย่างอื่นไปได้ด้วยในเวลาเดียวกัน

แล้วยังให้ความรู้กับน้องๆ ถึงเสียงในวิทยุว่าประกอบด้วย เพลง/jingle/ดนตรี, เสียงสัมภาษณ์/แหล่งข่าว, เสียงบรรยาย/เสียงผู้รายงาน/ผู้สื่อข่าว,เสียงเงียบ/เสียงธรรมดา พร้อมกันนี้มีการเปิดชิ้นงานเพื่อให้น้องๆ ฟังแล้วช่วยกันวิเคราะห์ พร้อมทั้งเทคนิคการทำ VOX Pop

ทางด้าน คุณเพ็ญสิน สงเนียม ผู้ประกาศสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้พูดถึง เทคนิคการเขียนข่าว ภาษาวิทยุ ว่า ภาษาข่าววิทยุต้อง สั้นกระชับ เข้าใจง่าย เห็นภาพ โดยเน้นภาษากริยา หลีกเลี่ยงศัพท์ยาก ตัวเลขละเอียด ศัพท์เทคนิคเฉพาะกลุ่ม ภาษาต้องไม่ซับซ้อน ใช้โครงสร้างภาษไทยแบบง่ายๆ คือ ประธาน+กริยา+กรรม และ อย่าลืมว่า เขียนเพื่อฟัง ไม่ใช่อ่านให้ฟัง หลีกเลี่ยงคำฟุ่มเฟือย แล้วที่สำคัญและเป็นหัวใจของคนทำข่าวิทยุคือ ทำข่าว เขียนข่าว แล้วอ่านทบทวน ก่อนออกอากาศ ทุกครั้ง

จบภาคทฤษฏี ก็ถึงเวลาการแบ่งกลุ่มเพื่อผลิตสารคดีเชิงข่าววิทยุไม่เกิน 3 นาที แล้วนำเสนอผลงานวิทยุให้วิทยากรกลุ่มวิพากษ์ ซึ่งหลังจากจบการผลิตงานและรับฟังคำวิพากษ์และแนะนำจากพี่ๆ วิทยากร น้องๆ ที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “สิ่งที่ได้รู้ ได้ปฏิบัติ และคำแนะนำในวันนี้ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียนจริงๆ”

0011

 

 

เรียนรู้ เก็บเกี่ยว สะสม บ่มเพาะทักษะ

แดดเริ่มร่ม ลมเริ่มตก แต่อากาศที่หนาวมากขึ้นกำลังมาเยือน แต่กลับไม่เป็นอุปสรรคสำหรับน้องๆ ที่เข้าอบรมในครั้งนี้ที่จิตวิญญาณของความเป็นสื่อมวลชนที่ดีกำลังเติบโต ขึ้นในตัวของน้องๆ ถึงแม้ว่าอาหารมื้อค่ำวันนี้จะเลยเวลาไปมากแล้วยังมีภาระกิจที่สำคัญรออยู่ น้องๆ ทุกคนแสดงสปิริตความรับผิดชอบและความร่วมมือเป็นอย่างดี ทุกคนลงมือรับประทานอาหารค่ำกันอย่างเร่งรีบ เพื่อจะได้รีบเข้าห้องประชุมเพราะไม่อยากให้วิทยากรซึ่งเสียสละเวลาเดินทาง มากจากกรุงเทพมหานคร ท่ามกลางกระแสและสถานการณ์ของบ้านเมืองของประเทศที่กำลังวุ่นวาย

 

หัวข้อต่อไปในการอบรมคือ ” เทคนิคการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์และการสื่อความหมายด้วยภาพในข่าวโทรทัศน์” โดยมี คุณประสาน อิงคะนันท์ ผู้ผลิตและผู้ดำเนินรายการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด และ คุณธนานุช สงวนศักดิ์ ผู้ผลิตรายการ เนชั่น แชแนล

คุณประสาน อิงคะนันท์ เปิดประเด็นการพูดคุยก้บน้องๆ ด้วยการพูดถึงความแตกต่างและวิธีการผลิตสารคดีและสารคดีเชิงข่าว โดยมี คุณธนานุช สงวนศักดิ์ ร่วมพูดคุยด้วยโดยเน้นการผลิตสารคดีเชิงข่าว โดยสรุป ซึ่ง สารคดี มีกระบวนการเล่าเรื่อง ความลึก และทักษะการเล่าเรื่องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ยังบอกเล่าขั้นตอน วิธีการ ในการทำสารคดีเพิ่มเติมคือ เริ่มจากการหาธีม หรือ แกนเรื่อง ทำธีมเรื่องให้เป็นชิ้นงาน หาเหตุการณ์สะท้อนธีมของงาน ซึ่งสารคดีเชิงข่าวก็ใช้หลักการเดียวกัน

0012

 

กว่าจะจบการพูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ระหว่างวิทยากรกับน้องๆ ที่เข้าอบรมเวลาก็ล่วงเลยไปเกือบจะถึงเที่ยงคืน แต่น้องๆ ที่เข้าฝึกอบรมทุกคนยังคงตั้งใจฟังพี่ๆ เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนพูดคุยซึ่งกันและกัน เพื่อเก็บเกี่ยวไว้เป็นความรู้และทักษะในเชิงปฏิบัติเพื่อใช้ในการปฏิบัติ งานจริงในวันรุ่งขึ้น….

0013

 

 

บททดสอบ…ทักษะและการเรียนรู้

ผ่านการดูงาน อบรมเชิงทฤษฏีจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามาอย่างเข้มข้น ถึงวันนี้คือ วันที่ 30 พ.ย. 51 ซึ่งเป็นวันที่สามของการเข้าร่วมโครงการสายฟ้าน้อย และเป็นวันที่น้องๆ ทุกคนจะต้องนำเอาทฤษฏี เทคนิค และทักษะพิเศษ ที่พี่ๆ วิทยากรได้ถ่ายทอดนำมาใช้ในการผลิตชิ้นงาน ซึ่งถือว่าเป็นการประเมินผลการรับรู้ เข้าใจ และปฏิบัติได้ ของน้องๆ ที่เข้าอบรม ด้วยการให้ผู้เข้าอบรมแต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อ เพื่อผลิตสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ความยาวไม่เกิน 3 นาที ออกมาเป็นชิ้นงานพร้อมออกอากาศ ซึ่งน้องๆ แต่ละทีม ต่างทุ่มเท มุ่งมั่นในการผลิตงานออกมาไม่ต่างจากนักข่าวมืออาชีพ และเมื่อถึงกำหนดเวลาทุกทีมพร้อมส่งผลงานให้วิทยากรและเพื่อนวิพากษ์และ วิจารณ์…

 

สานสัมพันธ์พี่น้องและผองเพื่อน

และในเมื่อคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของโครงการฝึก อบรมเชิงปฏิบัตินักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6 เพื่อเป็นการกระชับเกลียวความสัมพันธ์ของน้องๆ ที่เข้าอบรมทุกคนให้กระชับกันมากยิ่งขึ้น…กิจกรรมที่เหมาะสำหรับสร้างความ สัมพันธ์คงไม่ใช่แนววิชาการ หรือ การปฏิบัติงาน แต่เป็นกิจกรรมเอ็นเตอร์เทน งานเลี้ยงสังสรรค์ และ กิจกรรมพี่พบน้อง โดยมีน้องนักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นก่อนๆ มาพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมสังสรรค์กับน้องๆ 0014

0015

 

 

เปี่ยมไปด้วยพลังฝันและความมุ่งมั่น

แล้ว วันสุดท้ายของโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัตินักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6 ก็มาถึง แต่แทนที่พี่ๆ จะได้เห็นแววตาดีใจที่น้องๆ จะได้กลับไปสู่รั้วมหาวิทยาลัย แต่พี่ๆ กลับเห็นแววตาที่แฝงไปด้วยรอยเศร้าของน้องๆ  เพราะเสียใจ เสียดาย ที่ต้องจากเพื่อนๆ ทั้งๆ ที่วันแรกต่างคน ต่างก็เป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน แต่วันนี้กลับกลายมาเป็นเพื่อนสนิทซึ่งยังไม่อยากอำลาแยกย้ายกลับภูมิลำเนา เดิมของแต่ละคน…และน้องๆ ได้สัญญากันว่าจะเป็นเพื่อนกันตลอดไป และถ้าเดินเข้าสู่เส้นทางอาชีพ นักข่าว หรือ สื่อสารมวลชน ก็ขอเป็นนักสื่อสารมวลชนที่ดี เปี่ยมไปด้วย อุดมการณ์ที่ตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม…

แต่ในเมื่อเวลาและเข็มนาฬิกายังคงเดินไปข้าง หน้า ก็ถึงเวลาของการ นำเสนอผลงานสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ 3 นาที ของแต่ละกลุ่ม โดยมีวิทยากรกลุ่มวิพากษ์เพิ่มประเด็นพร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อให้น้องๆ ได้นำไปปรับใช้เมื่อถึงเวลาที่ต้องปฏิบัติงานนักข่าว หรือ นักสื่อสารมวลชนจริงๆ …

 

 

0016

 

 

ทีมวิทยากรทุกๆ ท่านขอให้น้องๆ ทุกคนเดินไปให้ถึงซึ่งความฝัน ความหวัง และพี่ๆ วิทยากรก็เชื่อว่า สายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6… รุ่นสัญญาใจ ทำได้ เพราะในวันนี้น้องทุกคนได้ติดอาวุธทางปัญญา ทักษะ และความสามารถให้กับตัวเองแล้ว….

ปิดท้ายโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัตินักข่าวสายฟ้าน้อยรุ่นที่ 6 ด้วย พิธีมอบเกียรติบัตร

 

 

 

แท็ก คำค้นหา