บทสรุปเวทีสัมมนา รายงานข่าวอย่างไรไม่ตกเป็นจำเลย?

104

 

ทำหน้าที่สื่อโดยมีจริยธรรม รอบรู้กฎหมาย  ไม่ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์
สื่อควรปรับตัวก่อนสังคมและกระบวนการยุติธรรมเรียกร้องให้มีการลงโทษสื่อ

(12 มิ.ย.54) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเวทีสัมมนา “รายงานข่าวอย่างไร ไม่ตกเป็นจำเลย” เพื่อนำเสนอความรู้ สาระสำคัญของกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน เยาวชน เด็กและสตรี รวมทั้งด้านอาญาและแพ่ง โดย นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,นายเจษฏา อนุจารีอุปนายกด้านจริยธรรม สภาทนายความ

รองประธานคนที่ 2 และ ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย,    นายสมชาย หอมลออ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย,นายประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา
สำหรับประเด็นการสัมมนาในเวที รายงานข่าวอย่างไร ไม่ตกเป็นจำเลย คือ กฎหมายและบทลงโทษกฎหมายและบทลงโทษต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานวิชาชีพข่าวและสื่อมวลชน, รายงานข่าวอย่างไรไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน,จริยธรรมและความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าว,เหตุผลและความจำเป็นในการทำแผนประกอบการคำรับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีจับตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา,ผลกระทบต่อผู้ต้องหาที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อในมิติสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม และความเห็นและแนวทางการแก้ไขหรือวิธีการดำเนินการด้วยวิธีอื่นแทนการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

นายประสงค์ รัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา นำเสนอด้านกฎหมายหมิ่นประมาท ละเมิดจริยธรรมที่สื่อมวลชนควรจะรู้ เพื่อจะไม่ตกเป็นจำเลยในการเสนอข่าว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 126 /127/128/129/330/331/332 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 และที่สำคัญ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 75/76/ โดยเฉพาะ มาตรา130 ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชนซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือ ในทางพิจารณาคดีของศาลที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว หรือชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิดหรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น และ มาตรา 136/153/192 , พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 27/79 , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 3 / 9/ , พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 56  เป็นต้น
“ถามว่าทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นจำเลย คงยากเพราะการนำเสนอข่าวมันแทบจะมีการละเมิดคนตลอดเวลา เพียงแต่ละเมิดที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล หรือเป็นสิ่งต่างๆ คือคนที่ถูกละเมิดถูกตกเป็นข่าวรู้สึกตลอดเวลาว่าตัวเองตกเป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้นการจะไม่ตกเป็นจำเลยคงลำบาก เพราะเป็นสิทธิของผู้ที่จะฟ้องหรือแจ้งความดำเนินคดีในศาลคดีหมิ่นประมาท ฟ้องละเมิด ให้เขาเห็นว่าเขาเสียหาย บางคดีไม่เหตุผล ไม่ได้เอ่ยถึงเขาเลย ยังฟ้องได้”

 

นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมฯ ในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน ได้รับคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอสมควร ในเรื่องของการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพในชั้นก็พนักงานสืบสวน ในชั้นของพนักงานจับกุมสอบสวนกับการแถลงข่าวของสื่อมวลชนว่ามีการทำถูกต้องตามจริยธรรมกฎหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้จะเห็นว่าสื่อมวลชนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะสะท้อนสังคม ในฐานะบทบาทที่จะนำสิ่งเหล่านั้นเผยแพร่ต่อสาธารณะ ในเรื่องนี้ก็เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ถ้าดูในแง่ผลดี ผลดีก็จะเกิดขึ้นต่อคนในสังคม แต่มันก็มีในแง่ผลเสียคือเรื่องผลกระทบต่อคนที่ตกเป็นข่าว เสมือนแผ่นฟิล์มบางๆ ถ้าดูในกรอบของอาชีพ ในกรอบของกฎหมายกับกรอบจริยธรรม กฎหมายบางทีมันแพ้ จริยธรรมต้องถูกกว่า หัวข้อจำเลยทางกฎหมายกับจำเลยสังคม ทีนี้ในมุมมองของนักสิทธิมนุษยชนมองว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ตรงๆ แต่จะทำอย่างไรถ้าไม่มีประจักษ์พยาน เขาก็จำเป็นต้องไปนำชี้ที่เกิดเหตุเพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องเป็นมาอย่างไรในเรื่องเหตุการณ์แวดล้อมประกอบในเรื่องของการชี้นำจุดเกิดเหตุ เห็นว่าทางตำรวจมีคำสั่ง ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอสมควร แต่ละเลยในสิ่งที่มีคำสั่งมีระเบียบไว้ ในตัวระเบียบที่เกี่ยวข้องกับทางกรณีของตำรวจหรือพนักงานสอบสวน จะมี อะไรอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นประมวลการตำรวจเกี่ยวกับคดี ในเรื่องของการทำแผนที่เกิดเหตุ ในเรื่องของภาพนี้ให้ผู้มีหน้าที่ หรือการให้สัมภาษณ์แถลงข่าวหรืออะไรลักษณะนี้ มีอยู่พอสอสมควร ในทางปฏิบัติมีการละเลยอยู่ ตลอดเวลา
ในมุมมองทางด้านการแถลงข่าวต่อสื่อสารมวลชน ที่เอาผู้ถูกกล่าวหามาตั้งกล้องอยู่ตรงหน้าทีวี ตรงนี้การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไม่มีอยู่ในกฎหมายเลย กฎหมายให้พนักงานสอบสวนไปรวบหลักหลักฐานในคดีแล้วไปฟ้องศาล การแถลงข่าวในต่างประเทศมันไม่มีในสิ่งเหล่านี้ หากจะแถลงเป็นเรื่องการแถลงว่าเหตุเกิดที่ไหน จับกุมอะไร มีของกลางยังไง ไม่จำเป็นต้องเอาบุคคลมาตั้งโต๊ะแล้วแถลงว่าจับได้ แม้ไม่มีการสัมภาษณ์ในกรณีนั้นจะรู้ว่าสัมภาษณ์ยาก การแถลงข่าวเป็นการละเมิดชัดเจน ทุกวันนี้ไม่ควรโดยเฉพาะเรื่องของเด็กและเยาวชน แม้แต่คลุมโม่งถ้าเขาจำรูปลักษณ์หรืออัตตลักษณ์ได้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ตรงนั้นก็อันตราย เพราะมันเข้าตามตัวบทกฎหมายที่ผิด ในเรื่องนี้ถ้าเป็นแผ่นฟิล์มบางๆในเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจน เพราะบางอย่างมันล่วงล้ำกัน เรื่องของสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมันมีรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา35 บัญญัติไว้ว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว ตลอดจนเกียรติยศ ชื่อเสียงตลอดจนความเป็นอยู่ต้องได้รับการคุ้มครอง ถึงแม้จะมีวรรค2ว่าการข่าวหรือแพร่หลายขึ้นข้อความไม่ว่าโดยวิธีใดไปยังสาธารณะชนอันเป็นการละเมิดอันกระทบต่อบุคคล เกียรติยศชื่อเสียงส่วนบุคคล จะกระทำนี้ได้เว้นแต่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ต้องตั้งคำถามว่าอะไรเป็นประโยชน์สาธารณะและอะไรไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ สิทธิในการรับรู้ข่าวสารก็ไม่จำเป็นในสิ่งเหล่านั้น เพราะไม่ล่วงเกินสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ไม่ใช่สัดส่วนกัน นอกจากนั้นถ้าดูการนำชี้ที่เกิดเหตุและคำประกอบคำรับสารภาพ มันก็ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 39
นายสมชาย หอมลออ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เสนอในมุมของเสรีภาพ ในแง่ของเสรีภาพของสื่อ นี่เป็นประเด็นที่ทำให้เราชั่งน้ำหนักในการนำเสนอข่าวสาร ว่าจริงๆ แล้วควรจะอยู่ตรงไหน ผู้ร่วมเวทีสัมมนาอาจสงสัยว่าลงข่าวอะไรไม่ได้เลยหรือในที่สุดมันก็จะไปละเมิดอะไรต่างๆ เหล่านี้ อยากจะให้มองอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้เกิดดุลยภาพกัน จะได้ทำงานมีหลักการที่จะนำไปใช้กำหนดบทบาท ภารกิจและการปฏิบัติของเราว่าจุดใดคือความพอดี หลักของสิทธิเสรีภาพจากกฎหมายที่ได้พูดไป ไทยเราใช้หลักกฎหมายธรรมชาติ คำนึงถึงความเป็นจริงของมนุษย์ อันนี้ผู้สื่อข่าวในด้านความเป็นจริง ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชนฐานะหนึ่งของรัฐ โดยหลักแล้วรัฐต้องส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน เมื่อเราก็รู้สึกว่าสื่อก็มีเสรีภาพ รัฐมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพของสื่อ ในขณะเดียวกัน ขณะที่เราจะรายงานข่าวของผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน ขณะที่ปกป้องสื่อก็ต้องมีหน้าที่ปกป้องคนอื่น ดังนั้นหลักการที่รัฐจะต้องปกป้องเสรีภาพของคนทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ
ถึงแม้ว่าสื่อจะมีเสรีภาพ แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบอย่างที่หลายท่านได้พูดไปแล้ว แต่มี 2 อย่าง คือ ความรับผิดชอบในหน้าที่ ซึ่งถ้าไม่ทำก็ต้องมีโทษ กับความรับผิดชอบทางศีลธรรม ผมได้นำเสนออีกมุมมองหนึ่งที่อยากให้ไปชั่งดูว่าเสรีภาพของพวกเราได้รับการรับรองจากปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ บางทีก็มีหลายประเด็นที่หยิบยกกันขึ้นมา เช่น ถ่ายรูปมาแล้ว แต่ไม่ได้ลงเผยแพร่เป็นความผิดไหม น่าสงสัยอยู่ว่าคนที่รับผิดชอบคือบรรณาธิการ คนถ่ายต้องรับผิดชอบหรือเปล่า เพราะรูปที่เรานำเสนอมีเยอะแยะ เป็นร้อยแต่ก็หยิบไป1-2 รูปที่บังเอิญว่ารูปนั้นไปละเมิดกฎหมายคุ้มครองเด็กหรืออื่นๆ หรือจากการตรวจสอบเมื่อ เม.ย.-พ.ค. ปีที่แล้วเหมือนกัน บก.สั่งให้ไปทำข่าว ถามเจ้าพนักงานระดับผู้บังคับการว่าสั่งให้ไปดูแลสถานการณ์ ไม่ได้สั่งให้ไปฆ่าคน ทุกคนพูดอย่างนี้หมด การที่จัดแถลงข่าวหรือจัดแสดง เขาไม่ได้บอกว่าคุณทำผิดกฎหมาย อันนี้ก็ต้องดูรูปธรรมว่าโดยเจตนา โดยรู้ข้อเท็จจริงว่าต้องได้ข่าวมาในลักษณะเช่นนี้อย่างเดียว ก็ดูเป็นกรณีไป แต่เขาก็ตั้งไว้อยู่แล้วว่าไม่ได้ให้คุณไปทำผิดกฎหมาย ในทางกฎหมาย คือ ผู้เป็นตัวการด้วยกัน ผู้สนับสนุน ถ้ามีข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำความผิด บก.กับนักข่าวเป็นตัวการด้วยกันก็ต้องรับผิดทั้ง2คน หรือบางทีเป็นผู้สนับสนุน ก็เป็นไปได้ถ้าเกิดข้อเท็จจริง โดยหลักพื้นฐานของกฎหมายอาญาก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว

ประเด็นที่ 2 คือ การรายงานข่าวอาชญากรรมในขณะที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำไม่ได้เลยหรือ เพราะว่าหลักศีลธรรมอย่างหนึ่งก็คือ ต้องชั่งระหว่างสิทธิส่วนบุคคลหรือประโยชน์ของสังคม เพราะถ้าเราไม่รายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมเลยมันก็อาจเป็นการปกป้องสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ประการที่ 2 คือ การป้องกันการละเลย ปกป้องสิทธิของผู้เสียหายก็ได้ ประการที่ 3 คือ สังคมควรได้รู้ได้เข้าใจมีสิทธิหรือไม่ เพราะว่าการอ่านข่าวอาชญากรรมก่อให้เกิดความระแวดระวังไม่ให้อาชญากรรมอย่างนั้นเกิดขึ้นอีก เช่น การปล้นทอง แก๊งเอทีเอ็ม จริงๆ แล้วก็ไม่ได้หมายความว่ารายงานข่าวไม่ได้เสียเลย เช่น การรายงานข่าวแล้วปิดหน้าผู้ต้องหาหรือจำเลย หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อจริง แต่ข้อสำคัญก็คือว่าทำอย่างไรให้มีการรายงานข่าวอีกด้านหนึ่งด้วย อันนี้ก็เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้ว เนื้อข่าวก็ต้องทำให้เห็นว่าคนคนนี้ไม่ได้ผิด ไม่ได้ทำความผิดจนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุด แม้แต่การยกเอาหลักการนี้มาก็ไม่มี จะทำยังไงให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีโอกาสพูดด้วย แต่ต้องยอมรับว่าในทางปฏิบัติ จำเลยไม่อยากพูด8434 ผู้ต้องหาไม่อยากพูด ทนายยังไม่อยากพูด เพราะเราใช้ระบบสาวหา แล้วอาจจะเป็นประโยชน์หรือเสียรูปคดี ดังนั้นนักข่าวอาชญากรรมเองก็ต้องใช้วิธีซักจากเจ้าหน้าที่นั่นแหละ เพื่อทำให้เห็นว่าข้อมูลที่อ้างนั้นมีอีกมุมหนึ่งหรือเปล่า นี่จึงจะเป็นการได้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคมด้วย อีกอย่างหนึ่งคือต้องยอมรับว่าสื่อกระแสหลักก็ต้องแข่งกับ โซเชียลมีเดีย เป็นปัญหาใหม่ที่ท้าทายทั้งไทยและทั่วโลก ยังไม่มีคำตอบหรือความคิดเห็นว่า ในขณะที่เราเรียกร้องสื่อกระแสหลักต้องมีความรับผิดชอบแต่ โซเชียลมีเดีย มันเป็นยังไง
นายเจษฎา อนุจารี  อุปนายกด้านจริยธรรม สภาทนายความ รองประธานคนที่ 2 และ ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่าในอดีตไม่เคยมีกฎหมายใดเอาผิดกับสื่อนั้น แต่จากที่ได้ประชุมสี่ฝ่าย โดยมีประมุขศาล อัยการสูงสุด ตำรวจโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และมีนายกสภาทนายความ มีการคุยกันในเรื่องของ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ ฉบับใหม่ที่ตอนนี้มีประเด็นปัญหาถกเถียงกันค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะพนักงาน อัยการ ศาล พนักงานสอบสวนที่ตีความกันไปคนละเรื่อง และปัญหาที่ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ในเรื่องเดียวกัน ซึ่งมีผู้เสนอว่าสื่อมีปัญหาที่นำเสนอเรื่องเด็ก เรื่องผู้หญิงถูกข่มขืนทางหน้าทีวีทีหนึ่ง แล้วไปถูกทนายข่มขืนซ้ำในศาลอีกทีหนึ่ง เช่น ข่าวที่นำเสนอเรื่องพระข่มขืนหญิงผู้หนึ่งจนต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล สื่อไปสัมภาษณ์ทุกแง่มุมว่าอะไรยังไงซึ่งกลายเป็นว่าข่มขืนทางทีวีอีกที ก็กลายเป็นประเด็นปัญหาและเกิดเป็นการตั้งข้อสังเกต ว่ากระบวนการยุติธรรมไม่เคยเอาสื่อที่นำเสนอเรื่องแบบดังกล่าวมาลงโทษเป็นตัวอย่าง ในที่ประชุมก็เห็นว่าควรจะมีตัวอย่างคือ เชือดไก่ให้ลิงดู จะได้รู้ว่าวันหลังอย่าไปทำ เพราะว่าประเด็นนั้นเป็นความผิดหมดเลย
“ผมเองอยู่ในที่นั้นและก็ได้กล่าวบอกว่าสื่อเองก็มีความระมัดระวัง ในบางครั้งจงใจ หรือบางครั้งมีหลุดไปบ้าง บางทีก็ไปสัมภาษณ์เปิดหน้า แล้วยังไปดูไปถ่ายรูปโรงเรียนมาด้วย เพราะฉะนั้นสื่อก็ระมัดระวังแต่ไม่เต็มที่ ก็ต้องพยายามมาพูดกันเรื่องแบบนี้บ่อยๆ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวอยู่ในใจ เวลาทำงานก็นึกถึงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องของกระบวนการในการทำแผนประกอบการสารภาพของตำรวจ ก็มีประโยชน์ในอีกแง่มุมหนึ่งด้วยเหมือนกัน คุณสมชายบอกว่าดูแลเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อ ผมดูแลเรื่องความรับผิดชอบของสื่อ เสรีภาพกับความรับผิดชอบต้องคู่กัน คนไทยเวลาพูดเรื่องสิทธิจะไม่พูดเรื่องหน้าที่ พูดว่ามีสิทธิอย่างนั้นอย่างนี้แต่ไม่เคยพูดถึงเรื่องการมีหน้าที่ ถ้าผมพูเรื่องสิทธิเสรีภาพของผม ผมก็จะไม่พูดถึงความรับผิดชอบของผมเลย ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หมายความว่าเราต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่นด้วย ไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เราไปดู รัฐธรรมนูญ มาตรา45,46  รับรองเสรีภาพของสื่อไว้เต็มที่ รัฐไม่มีสิทธิปิด เจ้านายไม่มีสิทธิสั่งห้ามลูกน้อง รัฐธรรมนูญ เขียนเสรีภาพของใครไว้ว่าอย่างไรก็ต้องไปดูตามเสรีภาพเหล่านั้นไว้ ต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด ภาษา เพศ ฯลฯ ที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ ต้องเคารพเขาหมด ฉะนั้นกระบวนการของสื่อก็ต้องมีในสิ่งเหล่านี้ด้วย การไขข่าวฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อเกียติยศ ชื่อเสียงหรือครอบครัวนั้นจะกระทำมิได้”
รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 รัฐจะต้องส่งเสริมความสัมพันธ์ ยึดถือหลักปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี มีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่องการต่อต้านความรุนแรงต่อครอบครัว เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเคารพ และถ้าไปดูเรื่อง พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ที่บัญญัติเกี่ยวการดำเนินการของสื่อ นั่นคือการพยายามให้สื่อรวมตัวกัน แล้วใช้เรื่องจรรยาบรรณมาดำเนินการในเรื่องของการควบคุมสื่อด้วยกันอย่างใน รัฐธรรมนูญ ที่อยากให้สื่อรวมตัวกันและการให้มาตรฐานจริยธรรมเกิดขึ้น เรื่องเหล่านี้จะต้องดำเนินการ เพราะเรื่องจริยธรรมเป็นมาตรฐานขั้นสูงกว่าทั่วๆไป แต่ว่าเราหน้าแตกเอาเรื่องจริยธรรมไปใส่ไว้ใน รัฐธรรมนูญ เรื่องจริยธรรมนักการเมืองซึ่งฝรั่งเห็นก็หัวเราะเอา เพราะจริยธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือ ไม่ได้อยู่ที่ข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพ แต่มันอยู่ที่พวกเราทำงาน ในขณะทำงานต้องสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำงานในฐานะของการเป็นสื่อ กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคนอื่นหรือเปล่า เราก็ต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาเหมือเอาเรื่องหัวอกเขามาใส่หัวอกเรา แล้วเราก็จะทำหน้าที่ของสื่อได้โดยไม่ผิดจรรยาบรรณ ทุกครั้งที่เรากระทำ เราจะนึกถึงคำว่าจริยธรรมคำนี้เสมอ
สำหรับผู้สนใจต้องการทราบรายละเอียดในการพูดคุย มุมองและข้อเสนอของวิทยากรแต่ละท่าน สามารถเข้าดูได้ที่เวปไซต์ของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย www.newsbroadcastingcoouncil.or.th  และ เวปไซต์ www.thaibja.org  ของสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
————————————————————————–
By Niramol Prasansuk
Manager of the Secretariat : The News Broadcasting Council of Thailand

 

 

————————————————————————–

 
สัมมนา “รายงานข่าวอย่างไรไม่ตกเป็นจำเลย”
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2554  เวลา 09.30 – 15.30 น.
ชั้น 3  อาคารสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ถ.สามเสน
……………………………………………………………………………….

วัตถุประสงค์  เพื่อนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข้อกฎหมาย ปัญหาในแง่มุมต่างๆ
จากวิทยากร ในหัวข้อ “รายงานข่าวอย่างไรไม่ตกเป็นจำเลย”
วิทยากร
คุณไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมาย
และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณเจษฏา อนุจารี    อุปนายกด้านจริยธรรม สภาทนายความ รองประธานคนที่ 2 และ ประธาน
คณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
คุณสมชาย หอมลออ    มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิ
เสรีภาพ สื่อมวลชน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา
ประเด็นและแนวทางการสัมมนา
– ข้อกฎหมายและบทลงโทษต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานวิชาชีพข่าวและสื่อมวลชน
– รายงานข่าวอย่างไรไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
– จริยธรรมและความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าว
– เหตุผลและความจำเป็นในการทำแผนประกอบการคำรับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีจับตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา
– ผลกระทบต่อผู้ต้องหาที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อในมิติสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม
– ความเห็นและแนวทางการแก้ไขหรือวิธีการดำเนินการด้วยวิธีอื่นแทนการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
ดำเนินรายการโดย
คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์
 รองประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย คนที่ 1
บรรณาธิการรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ Thai PBS

 

สัมมนา รายงานข่าวอย่างไรไม่ตกเป็นจำเลย 

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2554 
คุณก่อเขต : เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่เกี่ยวข้องวิชาชีพสื่อสารมวลชน เนื่องจากว่างานที่ทำมีผลกระทบไปทั่ว เรารายงานข่าวอะไรก็ล้วนมีผลกระทบทั้งนั้น ผลทั้งดีและก็ไม่ดี แล้วก็การทำงานที่แข่งกับเวลาบ้าง กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลากหลาย ทำให้สังคมจับจ้องการทำงานของสื่อมาโดยตลอด และมีคำวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดเช่นกัน เมื่อเป็นอย่างนี้จึงคิดว่าคนที่ทำงานด้านสื่อจำเป็นที่จะต้องมาทดสอบตัวเองและทำให้ตัวเองมีความพร้อมที่จะทำให้รายงานข่าวอย่างที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางที่ไม่ดี ทุกฝ่าย ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในข่าวที่เรารายงาน คิดว่าวันนี้จะเป็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนกัน
คุณประสงค์ : พูดถึงหัวข้อทำข่าวอย่างไรไม่ให้ตกเป็นจำเลย คือมาพูดเรื่องศีลธรรมกัน บรรณาธิการข่าว หัวหน้าข่าว รีไรเตอร์ โปรดิวเซอร์ ที่มีอำนาจตัดสินใจในการนำเสนอข่าวทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ควรจะมาร่วมรับฟังและเสนอความคิดเห็น เพราะในขณะนี้คนที่มีอำนาจตัดสินใจในการเลือกข่าวเพื่อออกอากาศหรือตีพิมพ์ กับคนทำข่าวเป็นคนละคนกัน คนที่มีอำนาจการตัดสินใจในการเลือกข่าวที่จะออกสู่สาธารณะเป็นคนสำคัญ มีหลายครั้งที่เรามีสิ่งทีมีมานานหลายปีคือเรื่องเล่าข่าว เล่าข่าวแล้วมักจะให้ความเห็น แล้วก็นำเสนอ ซึ่งตรงนี้ผมก็นั่งดูด้วยหลากหลายอารมณ์หลายความคิดว่ามันมีความหลากหลาย สิ่งที่เขารายงาน ซึ่งกฎหมายในความเห็นของผม มันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการปกป้องการละเมิดสิทธิโดยเฉพาะคนด้อยโอกาส เด็กและสตรี แต่ก็เห็นเสมอว่ามีการละเมิดทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ คนเล่าข่าว นอกจากนั้น ในการละเมิด ทางกฎหมายยุติธรรมแล้วบางครั้งอาจละเลยเถิดด้วยซ้ำ เลยเถิดขนาดที่ว่า ยุให้เกิดความรุนแรง ไม่ได้พูดถึงเรื่องวิทยุท้องถิ่นเล็กๆ ที่เกิดขึ้นชั่วคราว ไม่ใช่อย่างนั้น รายการทีวีกระแสหลักเรานี่แหละไปยุให้เกิดความรุนแรง บางคดี เช่น คดีของโจ๊ก-จิ๊บ ไผ่เขียว หลายคนคงจำได้ ปรากฎว่าโจ๊กผู้พี่ได้ลาโลกไปก่อนแล้วซึ่งจิ๊บหนีคดี พอหนีคดีแล้ว ตำรวจมีการรายงานทุกช่องเวลาเอาข่าวมาอ่านในทีวี เราตำรวจพังประตูเข้าไปเอาปืนจ่อหัว จิ๊บใช่ไหม ใช่ครับ ก็ควบคุมตัว แต่ผู้เล่าข่าวบอกว่า มันน่าจะสู้น่ะ ตำรวจทำเสียงดังๆ หน่อยมันสู้น่ะ ไม่ให้มันสู้เสียก่อน ทำไม มันจะได้วิสามัยหรือยิงทิ้งอะไรทำนองนี้ อาจจะไม่ได้พูดชัดขนาดนั้น ก็ดุอารมณ์แล้วทำเป็นเรื่องเล่นๆ อีกคดีหนึ่งคือผู้ต้องหาถูกจับในคดีข่มขืนเด็ก แล้วตำรวจตั้งใจจะทำแผนกิจกรรมแล้วประกาศให้คนรู้ วันนั้นให้คนว่างไปดูหน่อย หรือใส่รองเท้าเบอร์ใหญ่ๆไปหน่อย คือพิธีกรพูดให้เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งคุณจะคิดยังไงกับคดีมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าเวลานำเสนอมันก็อีกเรื่องหนึ่งเราไปดูสังคมไทยเวลาดูตรงนี้ ผมเคยถามนักศึกษาที่เคยสอน เด็กรู้สึกเฉยๆ ในการเล่าข่าวแล้วยุให้เกิดความรุนแรงมันเป็นเรื่องปกติ ฉะนั้นเราจึงไม่แปลกใจที่จะเห็นความรุนแรงเพราะว่าคนที่ได้รับความนิยมทางหน้าจอทีวีเป็นคนยุให้เกิดความรุนแรงขึ้นเองไม่ว่าจะทำเป็นทีเล่นที่จริงหรืออะไรก็ตามแต่ นั่นเป็นประเด็นที่น่าเสียดาย เขาอาจจะไม่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ คิดไม่ค่อยเหมือนคนอื่นในเรื่องเหล่านี้
นอกจากนี้เราจะเห็นทีวีและหนังสือพิมพ์ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองบางคนที่พยายามทำงานด้านเด็ก จับเด็กให้สวมโม่งให้ถ่ายรูป ลองนึกสภาพดูว่าตัวเราเองว่าเราเป็นผู้ถูกกระทำผิดหรือผู้ต้องหาก็ดี อายุแก่ๆ อย่างเรานี่ ลองจับใส่ไอ้โม่งแล้วถ่ายรูป เราจะรู้สึกยังไง แต่ก็ยังตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองเหล่านั้นอยู่ ผมก็ไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องถ่ายอย่างนั้นละ กลัวตกข่าว เหตุผลก็คือง่ายๆ และผมคิดว่าถ้าเราละเลยสิ่งเหล่านี้มันก็จะเป็นประเด็นเป็นปัญหา นี่คือภาพที่ผมพยายามขยาย
ทีนี้ถามว่าทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นจำเลย คงยากเพราะการนำเสนอข่าวมันแทบจะมีการละเมิดคนตลอดเวลา เพียงแต่ละเมิดที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล หรือเป็นสิ่งต่างๆ คือคนที่ถูกละเมิดถูกตกเป็นข่าวรู้สึกตลอดเวลาว่าตัวเองตกเป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้นการจะไม่ตกเป็นจำเลยคงลำบาก เพราะเป็นสิทธิของผู้ที่จะฟ้องหรือแจ้งความดำเนินคดีในศาลคดีหมิ่นประมาท ฟ้องละเมิด ให้เขาเห็นว่าเขาเสียหาย บางคดีไม่เหตุผล ไม่ได้เอ่ยถึงเขาเลย ยังฟ้องได้นะครับ บางคนบางคดีนายตำรวจใหญ่รู้สึกว่าตัวเองเป็นวีรบุรุษ พอเอ่ยคำว่าวีรบุรุษ ตำรวจก็คิดว่าตัวเองเลย ไปฟ้องคดีแล้วนักข่าวก็ตกเป็นจำเลย แต่ว่าพอตกเป็นจำเลยแล้วมีช่องทางมีเหตุมีผลที่จะตรวจสอบ สู้ด้วยพยานหลักฐานพาดหัวข่าวนำเสนอข่าวเกินความจริงหรือเปล่า เป็นข้อเท็จจริงหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นก็ได้ ฉะนั้นเราต้องมาดูว่ามีอะไรที่จะช่วยเราได้บ้าง ถ้าเรามาดูกฎหมายเกี่ยวกับสื่อมวลชน ที่ควบคุมการนำเสนอข่าวสื่อมวลชน คุณมานิจ สุขสมจิตรเคยมานั่งสำรวจ กฎหมายมีอยู่ถึง 30 ฉบับ กฎหมายอาหารและยา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ค่อยถูกใช้ กฎหมายอาหารและยาอาจจะปรับสักหนึ่งหมื่นก็ไม่สนใจ ปรับเล็กปรับน้อยก็ไม่สนใจ แต่กฎหมายหลักที่เราถูกเอาไปใช้บังคับหรือถูกดำเนินคดีอะไรต่างๆ คงไม่เถียงว่าตรงนั้นหมิ่นประมาท ตรงนั้นดูหมิ่นซึ่งหน้า คงไม่ต้อง เพราะว่ามันมีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง 1.กฎหมายอาญา กฎหมายหมิ่นประมาทที่เรารู้กันทั่วไป มาตรา328หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาภาพวาดหรือเอกสารระบายสี ภาพยนตร์อะไรต่างๆที่ตีวงเข้ามาเกี่ยวข้องได้หมด ถ้าเอากฎหมายตัวนี้ไปผนวกกับกฎหมาย พ.ร.บ. การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เข้าใจว่ามาตรา14หรือ15 ก็โดนโทษหนักขึ้นกว่ากฎหมายอาญาทั่วไป อันนี้ก็ต้องระวัง อะไรดูหมิ่นซึ่งหน้า อันไหนหมิ่นประมาทก็ต้องไปศึกษาเอาเอง เพราะว่าต้องดูข้อเท็จจริง ถ้าเราไปพาดหัวเกินข้อเท็จจริงก็โดน ถ้าเราพาดหัวตรงข้อเท็จจริง ต้องดูว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวเข้าโรงแรมม่านรูด แล้วก็ไม่ใช่บุคคลสาธารณะ โดน3เดือนไม่มีรอลงอาญา หรือมาตรา329ที่ระบุเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิด หรือไม่ต้องรับโทษ ละเมิดฟ้อแพ่งมาตรา423 ผู้ใดละเมิดฯ ซึ่งถ้าเขาฟ้องแพ่งด้วย ศาลจะให้แพ่งรอไว้ให้คดีอาญาเสร็จเสียก่อน ต่อเป็นกฎหมายที่ออกใหม่ เดิมเป็น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน 2534 ก็ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ศาลเยาวชน สังเกตว่าจัดตั้งไม่มีแล้ว แต่เพิ่งมีผลบังคับใช้วันที่22 พฤษภาคมหลังจากพ้น 180 วัน กฎหมายตัวนี้ก็ปรับปรุงวิธีพิจารณาคดีในศาล เรื่องสถานพินิจ เรื่องอะไรต่างๆ แต่ที่เกี่ยวข้องกับสื่อจริงๆ คือ มาตรา 76 เพื่อให้คุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิด ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชนหรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีหรือให้มีการอนุญาตถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ถ่ายรูปตรงนี้ไม่ได้บอกต้องรู้ว่าเป็นใคร ผู้ต้องหาที่คุณจับเขาถ่ายรูปสวมไอ้โม่งเข้าข่ายข้อนี้แล้ว และก็ต้องรู้ว่าเป็นใครจับไอ้โม่งมาสวม คุณไปถ่ายเขาเนี่ย คุณนี่โดนแต่เขาไม่โดน แต่ว่ากฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดกฎหมายเฉพาะไว้เหมือนกรณีอื่น ดังนั้นถ้าคุณทำ ผมเข้าใจว่า 1.วินัย โดนแน่นอนถ้าเกิดมีคนร้อง อันที่2.คือ อาจถึงขั้นเกิดผู้เสียหายเพราะได้แสดงผลงาน กฎหมายไม่ได้เขียนความผิดไว้ อาจจะต้องไปใช้กับกฎหมายอื่นคืออาญา ที่นี้เกี่ยวกับเรา สมมติว่าตำรวจไม่ให้ถ่ายภาพ ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือโฆษณาข้อความซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือในทางพิจารณาคดีของศาลที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว อะไรก็ได้ที่ทำให้รู้จักตัว ห้องเรียน2/1 ชื่อตัว หรือชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิด หรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น โทษจำคุก1ปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท พ.ร.บ. ศาลเยาวชนโทษแค่6เดือน กฎหมายอื่นๆเกี่ยวกับเยาวชนโทษแค่หกเดือนหมด เพิ่มเป็นหนึ่งปีแล้ว คดีแพรวา แพรวาอายุ17 ตอนสอบสวนปิดหน้าหมดแต่เห็นหน้าแม่หราเลย รู้แม่รู้ลูกไหม ก็ใช่ ฉะนั้นการที่ปิดรูปสัมภาษณ์แม่ ปิดลูกสัมภาษณ์ยาย รายการดังบอกว่าเบรกหน้ามาดูข่าวเด็กใจแตกอายุ15ปีคลอดลูกให้ยายเลี้ยง ตัดภาพมาเป็นยายอุ้มเด็กหัวโตเลย เปิดหน้ายายชื่อยายหมด แม้ไม่รู้หน้าเด็กแต่รู้หน้ายายนั้นผิดหมดเลย ส่วนอันนี้เกี่ยวกับคำพิพากษา ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความ หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันจะทำให้รู้จักตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล อันนี้เป็นข้อความหรือบทบัญญัติเดิมที่มีอยู่แล้ว1929 แต่เพิ่มขึ้นมา2อันคือการห้ามถ่ายภาพของพนักงานสอบสวน เดิมคุ้มครองในชั้นที่ตกเป็นจำเลยแล้ว แต่ของใหม่ ทั้งพนักงานสอบสวนเลย แต่ทีนี้มันยังมีคดีครอบครัวอีก เกิดเป็นคดีครอบครัวจะเอาคำพิพากษาอะไรมาลงไม่ได้ ต้องเป็นการคุ้มครอง อันนี้ก็จะโดนอีกโทษคือ1ปีเหมือนกันหมด
พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ใช้มาตั้งแต่2546 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ บางครั้งตัวอย่างที่จะยกเป็นกรณีที่สุ่มเสี่ยงมาก กฎหมายมีขั้นต่ำ แต่คุณควรมีจรรยาบรรณที่สูงกว่า คดีแอนนี่ บรู๊ค สถานะลูกของแอนนี่อาจกล่าวว่ายังหาพ่อไม่ได้ แต่คุณสามารถอุ้มเด็กคนนี้ไปออกทีวีหรือบากหน้าไปออกทีวีได้ผ่านรายการดัง2รายการ แต่ทุกคน กลุ่มผู้หญิงเห็นแก่แอนนี่หมด ประณามฟิล์มหมดเลย แต่ไม่เห็นมีใครประณามผู้จัดรายการที่เอาเด็กอายุหกเดือนมาบากหน้าออกทีวี ซึ่งโตขึ้นยังเป็นเด็กไม่มีพ่อเลย ในสังคมไทยชอบล้อว่าลูกไม่มีพ่อ ฝรั่งอาจจะไม่ค่อยถือเท่าไทย แต่สังคมไทยยังมีการติฉินนินทาอย่างนี้ เด็กเสียหาย และมียิ่งกว่านี้อีกเยอะมากที่คนจัดคนออกไม่รู้ และถ้าดูจริงๆกฎหมายคุ้มครองเด็กพูดถึงความสามารถของพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็ก และเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมด้วย แล้วการที่พ่อแม่เอาลูกตระเวนออกทีวี มันแสดงความสามารถหรือเปล่า จริงๆแล้วบางประเทศอาจเข้ามาแทรกแซงแล้วด้วยซ้ำไป นี่มันรุนแรงแต่ทำให้เห็นว่าจริงๆแล้วสังคมไทยไม่ถนัดเรื่องนี้
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว อันนี้ตีความกันยุ่งว่าอะไรคือครอบครัว หย่ามา20ปียังเรียกครอบครัวได้เลย อดีตคู่สมรสหรือคนที่อยู่ด้วยกันนะครับ คู่สมรสเดิมเคยอยู่กินกันมาแล้ว ตีความว่า20ปีมาตบกันผัวะ อยู่ในกฎหมายอาญาหรือในกฎหมายนี้ นี่ก็ยังเถียงกันอยู่ วันดีคืนดีมีอดีตโฆษกตำรวจ พ่อคนหนึ่งเมาแล้วเอาขวดเบียร์ปาหัวลูก ลูกอยู่โรงพยาบาล ต้องการสร้างผลงานก็เลยพาไปถ่ายรูปพ่อกับลูกใหญ่ อ้างว่าเคลียร์แล้ว ผมเตือนว่าระวังโฆษกจะติดคุก เพราะหลังจากที่แจ้งเจ้าพนักงานแล้วห้ามเผยแพร่ กฎหมายตัวนี้จะไม่อนุญาตให้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ด้วยวิธีใดๆ ซึ่งภาพหรือข้อมูลใดอันน่าให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำ ผู้กระทำต้องได้รับการคุ้มครอง หรือผู้ถูกกระทำ ผู้ได้รับความรุนแรงในครอบครัวหรือทั้ง 2 ฝ่าย ได้รับหมด เพราะฉะนั้นการที่สามีภรรยาตบหน้ากัน ลงข่าวแล้วเป็นคดี คุณมีสิทธิที่จะได้รู้กฎหมาย เขาไปล่อคุณนะ เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้การต้องให้ครอบครัวกลับมาอยู่สมานฉันท์ด้วยกันดี แต่คนเราต้องผ่านกระบวนการทางสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ไม่มิฉะนั้นไม่มีกลับมา แต่สำหรับสื่อเราต้องมาทะเลาะกันมีปัญหา แสดงว่าเคยมีการคุ้มครองคู่กรณีไหม เรามีศาลเยาวชนท่านหนึ่งกล่าวว่า มันน่าจะอยู่ในขอบเขตที่ไม่รุนแรง ถ้าไม่ถึงกับฆ่ากันแล้ว มันจะอยู่ด้วยกันไม่ได้แล้ว มันไม่อยู่ในเจตนารมณ์ของกฎหมายตัวนี้ แต่ถ้าเกิดตบตีกันยิ่งตบยิ่งลูกดก อันนั้นอาจจะมีทาง
พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เมื่อก่อนขายลูก แรงงานต่างด้าวถูกจับ ถ่ายรูปหมดเลย ไม่ได้เพราะคุ้มครองเหมือนกัน เราลงหมด ภาพแรงงานพม่าอุ้มเด็ก
กฎหมายที่พูดมาทั้งหมด ไม่เคยถูกบังคับใช้กับสื่อมวลชนเลยแม้แต่สักคดีเดียวยกเว้นคดีหมิ่นประมาทและการละเมิดทางกฎหมายอาญา มาตรา328 443 นอกนั้นไม่เคยมีเลย เกิดวันดีคืนดีมีองค์กรไปร้อง องค์กรผู้บริโภคเริ่มจัดตั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับสื่อแล้ว เกิดมีคนไปร้องว่าละเมิดฉันแล้วไปแจ้งความเมื่อไหร่ คุณเสร็จเลย เรามีโอกาสตลอดเวลา เพียงแต่ว่าสังคมไทยไม่ค่อยตระหนัก พวกคุณมีสิทธิไปนอนคุกกันทั้งนั้น พิธีกรที่เล่ากันสนุกสนาน

 

คุณไพบูลย์ : ในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน ได้รับคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอสมควร ในเรื่องของการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพในชั้นก็พนักงานสืบสวน ในชั้นของพนักงานจับกุมสอบสวนกับการแถลงข่าวของสื่อมวลชนว่ามีการทำถูกต้องตามจริยธรรมกฎหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้จะเห็นว่าสื่อมวลชนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะสะท้อนสังคม ในฐานะบทบาทที่จะนำสิ่งเหล่านั้นเผยแพร่ต่อสาธารณะ ในเรื่องนี้ก็เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ถ้าดูในแง่ผลดี ผลดีก็จะเกิดขึ้นต่อคนในสังคม แต่มันก็มีในแง่ผลเสียคือเรื่องผลกระทบต่อคนที่ตกเป็นข่าว เสมือนแผ่นฟิล์มบางๆ ถ้าดูในกรอบของอาชีพ ในกรอบของกฎหมายกับกรอบจริยธรรม กฎหมายบางทีมันแพ้ จริยธรรมต้องถูกกว่า หัวข้อจำเลยทางกฎหมายกับจำเลยสังคม ทีนี้ในมุมมองของนักสิทธิมนุษยชนมองว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ตรงๆ แต่จะทำอย่างไรถ้าไม่มีประจักษ์พยาน เขาก็จำเป็นต้องไปนำชี้ที่เกิดเหตุเพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องเป็นมาอย่างไรในเรื่องเหตุการณ์แวดล้อมประกอบ เช่น มีรอยล้อรถตรงกันหรือไม่ ตรงนั้นจำเป็นไม่ว่าศาลจะรับฟังหรือไม่ในเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มันเป็นเรื่องของการสร้างพยานหลักฐาน มันไม่มีประจักษ์พยาน ทำอย่างไรไม่ให้มีการละเมิด การนำชี้เขาบอกว่าจำเป็นในบางคดี บางคดีก็ไม่จำเป็นเพราะหลักฐานประจักษ์พยานมันแน่น บางคดีไม่มีประจักษ์พยานหลักฐานก็ต้องหาสิ่งแวดล้อม เช่นถ้า หารอยกระสุนปืนในขณะนั้น หารอยล้อรถก็จำเป็นจะทำอย่างไรไม่ให้ละเมิดสิทธิ ตรงจุดนี้เป็นประเด็นสำคัญ ในระบบของต่างประเทศ การที่จะไม่ให้ละเมิดสิทธิตรงจุดนี้ก็ไปนำชี้ถ้าเกิดความจำเป็นโดยไม่บอกใคร ทำเฉพาะเจ้าหน้าที่ แต่ทุกวันนี้ยังไม่ทันจะนำชี้ก็รู้กันหมดแล้ว แล้วพอไปนำชี้มันก็ไม่มีการป้องกันใดใด ใช้ระบบเชือกกั้น 2 ชั้นไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในจุดเหล่านั้น ถ้าทำได้ลักษณะนี้ การละเมิดสิทธิก็จะเบาบางลง ถ้าทำไม่ได้มันก็เกิดตามที่ภาพข่าวพาดหัวผู้ถูกกล่าวหา มีการสัมภาษณ์ญาติของผู้ตกเป็นเหยื่อ อย่างนี้เป็นต้น มันเหมือนกับสะท้อนสังคมในเชิงพิพากษาไปด้วยในตัว ถ้าวันดีคืนดีศาลพิพากษาว่าพยานตรงนั้นไม่สามารถที่จะนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาลงโทษได้ ผลในเชิงของสังคมที่เกิดขึ้นมันพิพากษาไปเลย ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาอยู่บ้าง ทางผู้พิพากษาก็บอกว่า แม้จำเลยศาลพิพากษากระทำความผิดก็ไม่ควรต้องเอาประจาน เพราะต้องการที่จะคืนคนดีสู่สังคม เป็นเรื่องของการทำผิดพลาดไปแล้วให้เขากลับตัว แล้วพอเขากระทำผิดไม่ว่าจะเรื่องเพศ เรื่องยาเสพติด ญาติจะเป็นอย่างไร ลูกเต้าไปโรงเรียนก็ถูกล้อถูกถาม เป็นเรื่องคุ้มครองผู้เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายแม้ว่าจะกระทำความผิด ในเรื่องของการชี้นำจุดเกิดเหตุ เห็นว่าทางตำรวจมีคำสั่ง ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอสมควร แต่ละเลยในสิ่งที่มีคำสั่งมีระเบียบไว้ ในตัวระเบียบที่เกี่ยวข้องกับทางกรณีของตำรวจหรือพนักงานสอบสวน จะมีอะไรอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นประมวลการตำรวจเกี่ยวกับคดี ในเรื่องของการทำแผนที่เกิดเหตุ ในเรื่องของภาพนี้ให้ผู้มีหน้าที่ หรือการให้สัมภาษณ์แถลงข่าวหรืออะไรลักษณะนี้ มีอยู่พอสอสมควร ในทางปฏิบัติมีการละเลยอยู่ ตลอดเวลา ในมุมมองทางด้านการแถลงข่าวต่อสื่อสารมวลชน ที่เอาผู้ถูกกล่าวหามาตั้งกล้องอยู่ตรงหน้าทีวี ตรงนี้การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไม่มีอยู่ในกฎหมายเลย กฎหมายให้พนักงานสอบสวนไปรวบหลักหลักฐานในคดีแล้วไปฟ้องศาล การแถลงข่าวในต่างประเทศมันไม่มีในสิ่งเหล่านี้ หากจะแถลงเป็นเรื่องการแถลงว่าเหตุเกิดที่ไหน จับกุมอะไร มีของกลางยังไง ไม่จำเป็นต้องเอาบุคคลมาตั้งโต๊ะแล้วแถลงว่าจับได้ แม้ไม่มีการสัมภาษณ์ในกรณีนั้นจะรู้ว่าสัมภาษณ์ยาก การแถลงข่าวเป็นการละเมิดชัดเจน ทุกวันนี้ไม่ควรโดยเฉพาะเรื่องของเด็กและเยาวชน แม้แต่คลุมโม่งถ้าเขาจำรูปลักษณ์หรืออัตตลักษณ์ได้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ตรงนั้นก็อันตราย เพราะมันเข้าตามตัวบทกฎหมายที่ผิด ในเรื่องนี้ถ้าเป็นแผ่นฟิล์มบางๆในเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจน เพราะบางอย่างมันล่วงล้ำกัน เรื่องของสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมันมีรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา35 บัญญัติไว้ว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว ตลอดจนเกียรติยศ ชื่อเสียงตลอดจนความเป็นอยู่ต้องได้รับการคุ้มครอง ถึงแม้จะมีวรรค2ว่าการข่าวหรือแพร่หลายขึ้นข้อความไม่ว่าโดยวิธีใดไปยังสาธารณะชนอันเป็นการละเมิดอันกระทบต่อบุคคล เกียรติยศชื่อเสียงส่วนบุคคล จะกระทำนี้ได้เว้นแต่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ต้องตั้งคำถามว่าอะไรเป็นประโยชน์สาธารณะและอะไรไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ สิทธิในการรับรู้ข่าวสารก็ไม่จำเป็นในสิ่งเหล่านั้น เพราะไม่ล่วงเกินสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ไม่ใช่สัดส่วนกัน นอกจากนั้นถ้าดูการนำชี้ที่เกิดเหตุและคำประกอบคำรับสารภาพ มันก็ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 39 อยู่เยอะ ไม่พูดถึงกฎหมายเล็ก เอากฎหมายแม่บทเป็นกฎหมายสูงสุด ม.39 เขียนไว้ว่า บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญาเว้นแต่ได้กระทำการโดยกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ แล้วโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักว่ากฎหมายที่กำหนดโทษไว้ในเวลานั้นมิได้ วรรค2ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยหรือผู้ต้องหาไม่มีความผิด ตราบใดที่ศาลยังไม่พิพากษา แต่ว่ากลายเป็นว่าเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาทางสังคมไปแล้ว ศาลตัดสินตามกระแสไม่ได้ ก็ต้องดูพยานหลักฐาน ถ้าศาลตัดสินไปอีกทาง ศาลก็จะถูกวิจารณ์ บางท่านก็ว่าจำเลยในคดีเอามาให้สังคมตัดสินไปแล้ว แม้ตัวท่านตัดสินไปอีกทางแต่พยานหลักฐานไม่ถึง ตัวท่านเองท่านก็เสีย ในวรรค3ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด การที่บุคคลใดกระทำผิดโดยการปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ เพราะฉะนั้นหลักการมาตรา 39 ไปสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนใสข้อ16อนุ1 นอกจากนี้ อนุสัญญาต่างๆระหว่างประเทศที่ประเทศไทยไปเป็นภาคี กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อย่อย1 บุคคลทั้งที่ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพต้องได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรมและด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ แม้จะถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดก็ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมนุษย์ ข้อ 14 ข้อย่อย 2 บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตากฎหมายได้ว่ามีความผิด
ชื่นชมทางสภาวิชาชีพ คณะอนุกรรมการก็ตกถึงธรรมนูญว่าด้วยจริยธรรม ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ถ้าสมาชิกร่วมกันปฏิบัติที่ชัดเจน ทางบรรดาสื่อมวลชนบ้านเราที่จะสะท้อนข่าวในเชิงถูกต้อง และมีจริยธรรมในสิ่งเหล่านั้นประกอบมันเป็นเรื่องที่ดีในเรื่องนี้ แล้วการนำเสนอสิ่งต่างๆให้สังคมได้ยอมรับ บางอย่างก็มีการจัดเรตติ้ง ใครถึงคราวเร็วก็สะท้อนขึ้นไป ทำอย่างไรให้แข่งขันในความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นความจริงที่สะท้อนอยู่ แต่ทุกวันนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่พอสมควร แต่ผมก็ไม่ได้คาดหวังถึงแม้เป็นหน้าที่ที่อยู่ในองค์กร ไม่ได้หวังว่าจะพลิกทันทีทันใด เพียงแต่ว่า ทำอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้และค่อยๆดูว่า สิ่งเหล่านั้นมันสอดคล้องกับจริยธรรมและกฎหมาย อย่าให้มันเพิ่มขึ้น อย่าให้มันลดน้อยลงให้สอดคล้องกับสภาวิชาชีพได้วางไว้ ถ้าในตรงนี้ไม่มีเรื่องข้อบังคับใช้ว่าด้วยจริยธรรม ทางสภาวิชาชีพ หรือว่าสภากลางเป็นกลไกกลางที่จะไปดูร่วมกัน ก็คิดว่ามันน่าจะประสบความสำเร็จพอสมควร ถ้าองค์กรใดมีแบบไทยพีบีเอสก็นำไปปฏิบัติ แต่ถามว่าพนักงานจะจำได้ไหม เพราะทำเป็นเล่มหนาพอสมควร
คุณประสงค์ : จริงๆ แล้วผมก็ไม่เคยจำ

ไม่เคยจำกฎหมายจริยธรรมของสภาการ แต่เราควรจะสร้างความตะหนักในจุดๆหนึ่ง คือตระหนักความว่าสัตย์ต่อวิชาชีพ ร่างกฎมาให้ท่องก็ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง ถ้าเราสร้างสำนึกมามันจะช่วยได้มากกว่า
ถ้าสื่อมวลชนคิดว่าผู้ที่ถูกนำเสนอเป็นลูกหลานเขา ก็อาจจะตระหนักขึ้นในสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรจะทำ การรายงานที่จะไม่เกิดผลกระทบในทางเสีย
ผู้เข้าร่วมสัมมนาถาม: เรื่องการนำชี้ที่เกิดเหตุ
คุณประสงค์/คุณไพบูลย์: ได้เชิญผู้แทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทน ดีเอสไอ ผู้แทนของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สำนักงานอัยการสูงสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม กรมการปกครอง และอาจารย์มหาวิทยาลัย ทางสภาวิชาชีพก็มีสภาการหนังสือพิมพ์ที่มาชี้แจง เห็นต้องกันหมด แต่มองว่าแม้เห็นตรงกัน แล้วทำไมแม้แต่ตำรวจในฐานะผู้ปฏิบัติว่าที่ไปจับกุมในคดียาเสพติดว่าต้องออกข่าว ปรากฎว่าคนจับกุมก็ไม่อยากออกข่าวแล้วทำไมถ่ายรูปหมด ปรากฎว่าทางผู้บังคับการเดินมาที่จุดแล้วนักข่าวเดินตามมาเป็นขบวน อันนี้รู้ได้อย่างไร เพราะนักข่าวต้องแข่งขันอยู่แล้ว ไปโทษเขาไม่ได้ แต่คนที่บอกทำไมถึงไม่บอกในเรื่องนี้ แล้วแทนที่จะมาแถลงถึงความคืบหน้าคดีเหมือนในระบบต่างประเทศ ไม่ต้องเอาผู้ต้องหามาโชว์ตัว ไม่ต้องคลุมโม่ง ว่าเรื่องนี้ถ่ายได้ เรื่องนี้ไม่ต้องระบุชื่อ เพราะระบุชื่อก็ละเมิดแล้ว เรื่องนี้เห็นตรงกันและระเบียบของตำรวจก็มีกล่าวถึงเรื่องนี้ แล้วทำไมมีการกระทำในสิ่งเหล่านี้อยู่ น่าแปลกใจว่าเผยแพร่เพื่อความดีความชอบหรือเปล่า ก็ฝากให้คิดในเรื่องนี้

 

คุณสมชาย: อยากนำเสนออีกมุมหนึ่ง คือ ในแง่ของเสรีภาพ เพราะ 2 ท่านที่พูดไปพูดถึงแง่ความรับผิดชอบ ในแง่ของเสรีภาพของสื่อ นี่เป็นประเด็นที่ทำให้เราชั่งน้ำหนักในการนำเสนอข่าวสาร ว่าจริงๆแล้วมันควรจะอยู่ตรงไหน เท่าที่ฟังก็อาจสงสัยว่าลงข่าวอะไรไม่ได้เลยหรือในที่สุดมันก็จะไปละเมิดอะไรต่างๆเหล่านี้ อยากจะให้มองอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้เกิดดุลยภาพกัน เราจะได้ทำงานมีหลักการที่จะนำไปใช้กำหนดบทบาท ภารกิจและการปฏิบัติของเราว่าจุดใดคือความพอดี หลักของสิทธิเสรีภาพจากกฎหมายที่ได้พูดไป ไทยเราใช้หลักกฎหมายธรรมชาติ คำนึงถึงความเป็นจริงของมนุษย์ อันนี้ผู้สื่อข่าวในด้านความเป็นจริง ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชนฐานะหนึ่งของรัฐ โดยหลักแล้วรัฐต้องส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน เมื่อเราก็รู้สึกว่าสื่อก็มีเสรีภาพ รัฐมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพของสื่อ ในขณะเดียวกัน ขณะที่เราจะรายงานข่าวของผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน ขณะที่ปกป้องสื่อก็ต้องมีหน้าที่ปกป้องคนอื่น ดังนั้นหลักการที่รัฐจะต้องปกป้องเสรีภาพของคนทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ
ถึงขั้นเป็นสโลแกนสหประชาชาติ ซึ่งการปกป้องสิทธิมนุษยชนของรัฐมีอยู่ด้วยกัน 2 หลัก คือหลักดินแดน และหลักคนชาติ คนที่อยู่ในดินแดนไทยไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนไทย คนไร้สัญชาติ คนจน คนมี ข้าราชการ เอกชน แรงงานข้ามชาติ เด็ก ผู้ใหญ่หรือชนเชื้อชาติ สีผิว ชาติกำเนิดใดใดก็ตามรัฐก็มีหน้าที่ที่จะปกป้องพวกเขาโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือรัฐจะละเลยไม่ปกป้องสิทธิแรงงานพม่าไม่ได้ ต่อไปอาจจะต้องตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสิทธิฯมากขึ้น ผู้ต้องหาคนไทยมาแถลงข่าว กับผู้ต้องหาพม่ามาแถลงข่าวอย่างนี้ไม่ได้ ต้องปกป้องทุกคน แม้ถ้าเป็นคนชาติไม่ได้อยู่ในดินแดนไทย รัฐก็ต้องปกป้อง คนที่ถูกจับในต่างแดน รัฐก็ต้องไปช่วย คนไทยที่ตกระกำลำบากเพราะเหตุขัดแย้งก็ต้องไปช่วยเพราะถือว่าเป็นคนรัฐไทย บางชาติตีความถึงว่า แม้ไม่ได้เป็นคนชาตินั้นแต่มีพื้นที่อยู่ในชาตินั้น หลักประการที่3คือหลักสิทธิสัมบูรณ์และหลักสิทธิจำกัด สิทธิสัมบูรณ์ เช่น เสรีภาพที่จะไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกอุ้มขาย ไม่ถูกอุ้มฆ่า โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม บางประเทศ สิทธิในชีวิตเป็นสิทธิอันสัมบูรณ์ สมาชิกของสหภาพยุโรปต้องเลิกโทษตายจึงจะเป็นสมาชิกได้ จะอุ้มหายเพื่อชาติ อุ้มหายเพื่อสังคม ทรมานเพื่อชาติไม่ได้ ไม่มีกฎหมายฉบับใดเลยที่มีการอนุญาตให้มีการทรมาน อุ้มหาย หรืออุ้มฆ่า แม้แต่ในสถานการณ์การสู้รบ สงคราม ฉุกเฉินรับก็ไม่มีสิทธิที่จะละเมิดในส่วนนี้ ฉะนั้นกานำเสนอข่าวถ้าเราไม่เข้าใจในจุดนี้ ก็อาจจะให้ความหรือการชี้นำประชาชนให้ไปในทำนองที่เป็นทุกข์ ส่งเสริม หรือคล้อยตาม แต่ถ้ารายงานข่าวโดยคำนึงถึงหลักสัมบูรณ์แล้ว เราก็จะรายงานข่าวไปอีกแนวหนึ่งเพื่อที่จะให้ได้รับการเคารพและการปฏิบัติที่ดี ส่วนสิทธิอันไม่สัมบูรณ์รวมทั้งสิทธิของสื่อ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดได้ แต่การจำกัดนั้นมีเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เป็นพื้นฐาน แต่จริงแล้วกฎหมายว่าด้วยสิทธิพลเมืองมาตรา19ที่เรียกว่า article 19th ยังให้รัฐจำกัดสิทธิมากกว่ารัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป เช่น ในเรื่อง รัฐธรรมนูญ นี้ไม่มีเรื่องการสาธารณสุข แต่มาตรา19ของกติการะหว่างประเทศให้จำกัดสิทธิได้เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข เช่น ห้ามโฆษณาบุหรี่ เหล้า อย่างนี้เป็นต้น แต่รัฐธรรมนูญของเราไม่ได้เขียนชัดขนาดนั้น อาจจะเป็นเพราะความไม่สงบเรียบร้อยต่างๆแต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปสักที ประเด็นคือว่าการจำกัดสิทธิของสื่อจำกัดได้ใน2สถานการณ์ ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะไม่ถูกจำกัด ไม่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ไม่มีสิทธิของสื่อใดเลยที่จะไม่ถูกจำกัด ต้องเข้าใจ เพราะว่าการจำกัดในสถานการณ์ปกติมีการจำกัดอยู่แล้ว การจำกัดต้องกฎหมายออกมาให้อำนาจรัฐจำกัด เหมือนหลักการที่เรียนให้ทราบว่าเมื่อมนุษย์เกิดมาเสรี การปกครองโดยหลักหลักนิติรับหรือนิติธรรมแบบประชาธิปไตย เมือมนุษย์เกิดมาเสรี จะทำอะไรก็ได้ทุกอย่างเลยเพราะเกิดมาเสรี ยกเว้นกำหมายห้าม ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายมาห้ามว่าทำไม่ได้ แต่ไม่มีกฎหมายที่บอกว่าว่าอันนี้ทำได้ แต่อย่างนั้นไม่ให้ทำ อันนั้นคือระบอบเผด็จการ แต่เจ้าหน้าที่รัฐทำอะไรไม่ได้นอกจากกฎหมายจะให้อำนาจมา ดังนั้นการจะจำกัดสิทธิเสรีภาพต้องมีกฎหมายที่อ้างอิงเสมอ ถ้าไม่มีอ้าง การจำกัดสิทธินั้นก็จะกลายเป็นคำสั่ง ระเบียบเถื่อน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา19 หลักสิทธิมนุษยชนรวมทั้งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ตรงกัน คือ 1.รัฐต้องมีอำนาจผ่านทางกฎหมาย การจำกัดนั้นต้องทำเท่าที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น 2.เพื่อความมั่นคงของชาติ เป็นประเด็นเพราะว่าตีความกว้างขวาง แต่การจำกัดนั้นต้องตีความถึงขั้นที่ว่าถ้าไม่จำกัดสิทธิแล้วอาจทำให้เสี่ยงต่อการทำให้ชาติสูญสลายหรือเกิดความไม่สงบจลาจล ในคำพิพากษาศาลปกครองกลาง พูดถึงมากเรื่องมาตรา112 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ การแสดงการดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายบุคคลในพระมหากษัตริย์ จริงๆแล้วแค่4คนเท่านั้น ที่ได้รับการคุ้มครอง คือ องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการ ในแง่การดำเนินคดีก็ต้อง4คนนี้เท่านั้นแต่บางทีสื่อไม่เข้าใจ ประเด็นอะไรที่นำเสนอเกี่ยวกับราชวงศ์นี้ก็ดูเหมือนจะเป็นประเด็นไปเสียหมด แล้วก็มีการพูดกันอยู่ว่าฝ่ายที่วิจารณ์มาตรา112 ต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เพราะมีการกำหนดบทลงโทษ และว่าศาลใช้อำนาจตีความในแบบลงโทษเหมือนกับว่าอะไรก็ผิดหมด หรือไม่ก็ไม่มีเหตุผลเลย ซึ่งอาจจะเป็นจริงในบางกรณี แต่มีประเด็นที่เป็นคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีของอาจารย์สุรักษ์ เราเป็นฝ่ายฟ้อง ถูกฟ้องมาเยอะแล้วเราก็ฟ้องบ้าง ศาลอธิบายในคำพิพากษาอย่างนี้ว่าในข้อหาการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นต้องดูบริบทของสังคมด้วย ศาลสรุปว่าในขณะนี้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวที่ออกไปในลักษณะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคดีสวรรคต ขณะที่คนอ่านได้รับข่าวสารในขณะที่ยังมีความเชื่อ ความจงรักภักดีต่อสถาบันมากขนาดนี้แล้ว เมื่อได้อ่านข้อความนั้นแล้วอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบก็ได้ ในแง่นี้เองที่ยกตัวอย่างมาในเรื่องความไม่สงบเรียบร้อย ว่าฝั่งไหนผิดไม่ผิดก็ต้องโยงมายังเรื่องความสงบเรียบร้อยของชาติไว้ด้วย แน่นอนว่าเรื่องสาธารณสุข เพื่อศีลธรรมอันดีของประชาชน พวกสิ่งลามกอนาจารต่างๆ แต่การจำกัดนั้นก็ต้องโดยสมควรแก่เหตุด้วย นี่เป็นการจำกัดโดยทั่วไป แต่ในการจำกัดสื่ออีกในสถานการณ์หนึ่งที่ไม่ปกติ รัฐสามารถจำกัดสิทธิของสื่อได้โดยกฎหมาย3ฉบับ พ.ร.บ. ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. กฎอัยการศึก เจ้าพนักมีหน้าที่บังคับกฎหมายจำกัดโดยทั่วไปตามกฎหมายนั้นๆ ส่วนในสถานการณ์ไม่ปกตินั้น จะเป็นเรื่องการจำกัดเป็นพิเศษ ดังนั้นคนที่ต้องตัดสินใจคือฝ่ายการเมือง ว่าจะประกาศใช้กฎหมายที่กล่าวมาหรือไม่ ทั้งนี้ฝ่ายการเมืองจะต้องชั่งระหว่างความจำเป็นและความรับผิดชอบในทางการเมือง เช่นถ้าประกาศเพื่อความมั่นคงของรัฐบาลเองแล้วจำกัดสิทธิประชาชนมากเกินสมควร การเลือกตั้งคราวหน้ารัฐบาลชุดนี้อาจไม่ได้รับการเลือกตั้ง แล้วจะโยนให้ข้าราชการประจำรับผิดชอบไม่ได้ เป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบาย สิทธิเสรีภาพของสื่อในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเป็นประเพณี แม้ไม่ได้มีลายลักษณ์แต่ก็เหมือกับว่าเรามีกฎหมายประเพณี ที่ประกันสิทธิในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การไม่เปิดเผยแหล่งข่าว กระทั่งรัฐหรือศาลจะบังคับให้สื่อเปิดเผยแหล่งข่าวไม่ได้ ไม่มีกฎหมายฉบับไหนเขียนหรือรองรับ แต่สิ่งนี้จะเรียกว่าเป็นกฎหมายประเพณีก็ได้ และอีกอย่างที่กลายเป็นประเพณีคือการที่รัฐจะต้องไม่จ่ายเงินเพื่อให้สื่อยุติการนำเสนอข่าว อันนี้เหมือนกับเป็นกฎหมายจริยธรรม แต่แน่นอนว่ากฎหมายเหล่านั้นมันจะไปละเมิดรัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายสูงสุด หลักประกันก็คือว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา45 วรรค 3,4,5 การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์ทำไม่ได้ แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินมีการปิดสื่อมวลชนอื่นเช่นวิทยุชุมชน ฟรีทีวี เคเบิลทีวี ซึ่งเป็นข้อห้ามเด็ดขาด ในความเห็นผมคิดว่าทำไม่ได้ แต่กรณีวิทยุชุมชนนี่น่าจะเป็นการเลี่ยงใช้กฎหมายอื่นไปยึดอุปกรณ์ สื่อก็เลยต้องปิดไปโดยปริยาย อันนี้เป็นการใช้อำนาจที่เรียกกว่า role of law หรือเป็น role by law อันนี้ก็เป็นปัญหาถ้าพูดถึงตัวบทกฎหมาย อีกวรรคคือการมิให้สื่อเผยแพร่เพื่อลิดรอนเสรีภาพ จะทำมิได้เว้นแต่จะเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้เพื่อการนั้น ดังนั้นกฎหมายฉุกเฉินใดใดอาจห้ามไม่ให้นำเสนอข่าว แต่ปิดโรงพิมพ์ไม่ได้ หรือการที่ให้เอาข่าวมาตรวจก่อนที่จะโฆษณาหรือพิมพ์
ถึงแม้ว่าสื่อจะมีเสรีภาพ แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบอย่างที่หลายท่านได้พูดไปแล้ว แต่มันมี2อย่าง คือความรับผิดชอบในหน้าที่ ซึ่งถ้าไม่ทำก็ต้องมีโทษ กับความรับผิดชอบทางศีลธรรม ผมได้นำเสนออีกมุมมองหนึ่งที่อยากให้ไปชั่งดูว่าเสรีภาพของพวกเราได้รับการรับรองจากปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ บางทีก็มีหลายประเด็นที่หยิบยกกันขึ้นมา เช่น ถ่ายรูปมาแล้ว แต่ไม่ได้ลงเผยแพร่เป็นความผิดไหม น่าสงสัยอยู่ว่าคนที่รับผิดชอบคือบรรณาธิการ คนถ่ายต้องรับผิดชอบหรือเปล่า เพราะรูปที่เรานำเสนอมีเยอะแยะ เป็นร้อยแต่ก็หยิบไป1-2รูปที่บังเอิญว่ารูปนั้นไปละเมิดกฎหมายคุ้มครองเด็กหรืออื่นๆ หรือจากการตรวจสอบเมื่อ เม.ย.-พ.ค. ปีที่แล้วเหมือนกัน บก.สั่งให้ไปทำข่าว ถามเจ้าพนักงานระดับผู้บังคับการว่าสั่งให้ไปดูแลสถานการณ์ ไม่ได้สั่งให้ไปฆ่าคน ทุกคนพูดอย่างนี้หมด การที่จัดแถลงข่าวหรือจัดแสดง เขาไม่ได้บอกว่าคุณทำผิดกฎหมาย อันนี้ก็ต้องดูรูปธรรมว่าโดยเจตนา โดยรู้ข้อเท็จจริงว่าต้องได้ข่าวมาในลักษณะเช่นนี้อย่างเดียว ก็ดูเป็นกรณีไป แต่เขาก็ตั้งไว้อยู่แล้วว่าไม่ได้ให้คุณไปทำผิดกฎหมาย ในทางกฎหมาย คือ ผู้เป็นตัวการด้วยกัน ผู้สนับสนุน ถ้ามีข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำความผิด บก.กับนักข่าวเป็นตัวการด้วยกันก็ต้องรับผิดทั้ง2คน หรือบางทีเป็นผู้สนับสนุน ก็เป็นไปได้ถ้าเกิดข้อเท็จจริง โดยหลักพื้นฐานของกฎหมายอาญาก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ประเด็นที่ 2 คือ การรายงานข่าวอาชญากรรมในขณะที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำไม่ได้เลยหรือ เพราะว่าหลักศีลธรรมอย่างหนึ่งก็คือต้องชั่งระหว่างสิทธิส่วนบุคคลหรือประโยชน์ของสังคม เพราะถ้าเราไม่รายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมเลยมันก็อาจเป็นการปกป้องสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ประการที่2คือการป้องกันการละเลย ปกป้องสิทธิของผู้เสียหายก็ได้ ประการที่3คือว่าสังคมควรได้รู้ได้เข้าใจมีสิทธิหรือไม่ เพราะว่าการอ่านข่าวอาชญากรรมก่อให้เกิดความระแวดระวังไม่ให้อาชญากรรมอย่างนั้นเกิดขึ้นอีก เช่น การปล้นทอง แก๊งเอทีเอ็ม จริงๆ แล้วก็ไม่ได้หมายความว่ารายงานข่าวไม่ได้เสียเลย เช่น การรายงานข่าวแล้วปิดหน้าผู้ต้องหาหรือจำเลย หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อจริง แต่ข้อสำคัญก็คือว่าทำอย่างไรให้มีการรายงานข่าวอีกด้านหนึ่งด้วย อันนี้ก็เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้ว เนื้อข่าวก็ต้องทำให้เห็นว่าคนคนนี้ไม่ได้ผิด ไม่ได้ทำความผิดจนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุด แม้แต่การยกเอาหลักการนี้มาก็ไม่มี จะทำยังไงให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีโอกาสพูดด้วย แต่ต้องยอมรับว่าในทางปฏิบัติ จำเลยไม่อยากพูด8434 ผู้ต้องหาไม่อยากพูด ทนายยังไม่อยากพูด เพราะเราใช้ระบบสาวหา แล้วอาจจะเป็นประโยชน์หรือเสียรูปคดี ดังนั้นนักข่าวอาชญากรรมเองก็ต้องใช้วิธีซักจากเจ้าหน้าที่นั่นแหละ เพื่อทำให้เห็นว่าข้อมูลที่อ้างนั้นมีอีกมุมหนึ่งหรือเปล่า นี่จึงจะเป็นการได้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคมด้วย อีกอย่างหนึ่งคือต้องยอมรับว่าสื่อกระแสหลักก็ต้องแข่งกับ โซเชียลมีเดีย เป็นปัญหาใหม่ที่ท้าทายทั้งไทยและทั่วโลก ยังไม่มีคำตอบหรือความคิดเห็นว่า ในขณะที่เราเรียกร้องสื่อกระแสหลักต้องมีความรับผิดชอบแต่ โซเชียลมีเดีย มันเป็นยังไง
คุณเจษฎา : จากที่กล่าวว่าในอดีตไม่เคยมีกฎหมายใดเอาผิดกับสื่อนั้น แต่จากที่ได้ประชุมสี่ฝ่าย โดยมีประมุขศาล อัยการสูงสุด ตำรวจโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และมีนายกสภาทนายความ เราคุยกันในเรื่องของพ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ ในฉบับใหม่ที่ตอนนี้มีประเด็นปัญหาถกเถียงกันค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะพนักงาน อัยการ ศาล พนักงานสอบสวนที่ตีความกันไปคนละเรื่อง และปัญหาที่ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ในร่องรอยเดียวกัน ซึ่งมีผู้เสนอว่าสื่อมีปัญหาที่นำเสนอเรื่องเด็ก เรื่องผู้หญิงถูกข่มขืนทางหน้าทีวีทีหนึ่ง แล้วไปถูกทนายข่มขืนซ้ำในศาลอีกทีหนึ่ง เช่น ข่าวที่นำเสนอเรื่องพระข่มขืนหญิงผู้หนึ่งจนต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล สื่อไปสัมภาษณ์ทุกแง่มุมว่าอะไรยังไงซึ่งกลายเป็นว่าข่มขืนทางทีวีอีกที ก็กลายเป็นประเด็นปัญหาและเกิดเป็นการตั้งข้อสังเกต ว่ากระบวนการยุติธรรมไม่เคยเอาสื่อที่นำเสนอเรื่องแบบดังกล่าวมาลงโทษเป็นตัวอย่าง เราก็เห็นว่าควรจะมีตัวอย่างคือเชือดไก่ให้ลิงดู จะได้รู้ว่าวันหลังอย่าไปทำ เพราะว่าประเด็นนั้นเป็นความผิดหมดเลย
ผมเองอยู่ในที่นั้นและก็ได้กล่าวบอกว่าสื่อเองก็มีความระมัดระวัง ในบางครั้งจงใจ หรือบางครั้งมีหลุดไปบ้าง เช่น ถ่ายภาพเด็กที่ทำความผิดก็พยายามถ่ายภาพจากทางด้านหลัง แต่ตัวเด็กกลับระเบิดหูเด่นชัดรู้ได้เลยว่าใคร บางทีก็ไปสัมภาษณ์เปิดหน้า แล้วยังไปดูไปถ่ายรูปโรงเรียนมาด้วย เพราะฉะนั้นสื่อก็ระมัดระวังแต่ไม่เต็มที่ ก็ต้องพยายามมาพูดกันเรื่องแบบนี้บ่อยๆ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวอยู่ในใจ เวลาทำงานก็นึกถึงอยู่ตลอดเวลา กระบวนการของการแถลงข่าว ทางสภาทนายความก็ตามเรื่องผู้การฯ ที่จังหวัด ให้ภาพตรงนั้นชัดแล้วมาบอกว่าจะไม่ค้ายาบ้าอีกแล้ว จะเอาลงหม้อ เดี๋ยวจะไปจับคนเป็นง่อยเล่นการพนัน แล้วจะอุ้มขึ้นรถยังไง ก็ต้องไปทำออกทางหน้าสื่อ คนนี้เป็นคนที่ชอบทำงานออกสื่อ แล้วสื่อก็ไปติดตามไปช่วยเผยแพร่ให้เขา แล้วบางคนเอาไปเล่าข่าวและพูดว่า นี่มันน่านัก อยากเห็นแบบนี้บ่อยๆ เป็นการเชียร์ให้เขาทำบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอยู่ด้วย ในเรื่องการทำแผนเรื่องแถลงข่าว จริงๆแล้วมีมุมกลับที่จะเรียนให้ทราบด้วย ในการสู้คดีของทนายความเคยมีการนำภาพเหล่านี้ พอทำแผนแล้วตำรวจกำกับว่าต้องถือมีดอย่างนี้ อย่างนี้ไม่ได้ ต้องเข้าตรงนี้ ต้องทำตรงนู้น บรรยายภาพให้เสร็จ เขียนบทให้เสร็จ สื่อก็ถ่ายภาพออกมา เราก็เอาตรงนี้เข้ามาต่อสู้ในเชิงคดี แล้วก็หลุดไปแล้วบ้างด้วย อย่างเรื่องคดีฆาตกรรมของ โจ ด่านช้าง มีอดีตนายตำรวจใหญ่เข้าไปถึง ตอนนั้นไอทีวีเป็นคนทำข่าว คนทำข่าวบอกว่าจงใจปล่อยคลิปตรงนั้นให้ออก เมื่อคุมตัวนักโทษออกมา นายตำรวจใหญ่คนนี้บอกว่าเอาออกมาทำไม เอากลับเข้าไป แล้วก็โป้งปังตายเลย หาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่แล้วก็ใส่กุญแจมือแล้วก็คดีนี้ สภาทนายความก็ไปทำเรื่องไต่สวนการตาย โดยอยากจะเอานายตำรวจใหญ่เข้าคุกสักคน เพราะระดับใหญ่ที่เคยทำ คือ พันตำรวจโท ยังไม่ถึงนายพล อยากได้นายพลเป็นตัวอย่าง ก็เดินหิ้วกระเป๋าขึ้นไปหาเจ้าหน้าที่ศาล เจ้าหน้าที่ถามว่ามาทำไม บอกว่าก็มาเรื่องที่มีการไต่สวนการตาย กลับตอบว่าเขาเลิกกันไปแล้วจ่ายเงิน 6 ล้าน แล้วเลิกไปเลย คดีนี้มันเลยไม่ถึงตัวใหญ่สักที ดังนั้นเรื่องของกระบวนการในการทำแผนเหล่านี้ก็มีประโยชน์ในอีกแง่มุมหนึ่งด้วยเหมือนกัน ท่านสมชายบอกว่าดูแลเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อ ผมดูแลเรื่องความรับผิดชอบของสื่อ เสรีภาพกับความรับผิดชอบต้องคู่กัน คนไทยเวลาพูดเรื่องสิทธิจะไม่พูดเรื่องหน้าที่ พูดว่ามีสิทธิอย่างนั้นอย่างนี้แต่ไม่เคยพูดถึงเรื่องการมีหน้าที่ ถ้าผมพูเรื่องสิทธิเสรีภาพของผม ผมก็จะไม่พูดถึงความรับผิดชอบของผมเลย ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หมายความว่าเราต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่นด้วย ไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เราไปดู รัฐธรรมนูญ มาตรา45,46  รับรองเสรีภาพของสื่อไว้เต็มที่ รัฐไม่มีสิทธิปิด เจ้านายไม่มีสิทธิสั่งห้ามลูกน้อง รัฐธรรมนูญ เขียนเสรีภาพของใครไว้ว่าอย่างไรก็ต้องไปดูตามเสรีภาพเหล่านั้นไว้ ต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด ภาษา เพศ ฯลฯที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ ต้องเคารพเขาหมด ฉะนั้นกระบวนการของสื่อก็ต้องมีในสิ่งเหล่านี้ด้วย การไขข่าวฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อเกียติยศ ชื่อเสียงหรือครอบครัวนั้นจะกระทำมิได้ อย่างเรื่องแอนนี่ บรู๊ค  หรือข่าวที่เด็กมาออกมั่นเกี่ยวกับเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวอย่างไร ในมาตรา 28 บอกว่า รัฐจะต้องส่งเสริมความสัมพันธ์ ยึดถือหลักปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี เรามีเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่องการต่อต้านความรุนแรงต่อครอบครัว เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเคารพ และถ้าเราไปดูเรื่อง พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ที่บัญญัติเกี่ยวการดำเนินการของสื่อ นั่นคือการพยายามให้สื่อรวมตัวกัน แล้วใช้เรื่องจรรยาบรรณมาดำเนินการในเรื่องของการควบคุมสื่อด้วยกันอย่างใน รัฐธรรมนูญ ที่อยากให้สื่อรวมตัวกันและการให้มาตรฐานจริยธรรมเกิดขึ้น เรื่องเหล่านี้จะต้องดำเนินการ เพราะเรื่องจริยธรรมเป็นมาตรฐานขั้นสูงกว่าทั่วๆไป แต่ว่าเราหน้าแตกเอาเรื่องจริยธรรมไปใส่ไว้ใน รัฐธรรมนูญ เรื่องจริยธรรมนักการเมืองซึ่งฝรั่งเห็นก็หัวเราะเอา เพราะจริยธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือ ไม่ได้อยู่ที่ข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพ แต่มันอยู่ที่พวกเราทำงาน ในขณะทำงานต้องสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำงานในฐานะของการเป็นสื่อ กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคนอื่นหรือเปล่า เราก็ต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาเหมือเอาเรื่องหัวอกเขามาใส่หัวอกเรา แล้วเราก็จะทำหน้าที่ของสื่อได้โดยไม่ผิดจรรยาบรรณ ทุกครั้งที่เรากระทำ เราจะนึกถึงคำว่าจริยธรรมคำนี้เสมอ.
—————————————————————————————–

 

แท็ก คำค้นหา