“พรรคการเมือง ตอบโจทย์สื่อ ปฏิรูปประเทศไทย”

102 (1)

 

วันที่ 29 พฤษภาคม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอิศรา (มูลนิธิพัฒนาสื่อ) และสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดงานสัมมนาสื่อมวลชน “พรรคการเมือง ตอบโจทย์สื่อ ปฏิรูปประเทศไทย” ณ ห้องซาลอน เอ รร.สวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน ซักถามนโยบายพรรคการเมือง เกี่ยวกับข้อเสนอการปฏิรูปประเทศไทย ที่จะนำเสนอทิศทางและแนวคิดต่อการปฏิรูปประเทศไทยของพรรคต่างๆ โดยมี นายปลอดประสพ สุรัสวดี ตัวแทนพรรคเพื่อไทย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ตัวแทนพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และนายวัชระ กรรณิการ์ ตัวแทนพรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมสัมมนา
นายปลอดประสพ กล่าวแถลงนโยบาย 13 วิสัยทัศน์ มองสังคมไทยจากอนาคต ประกอบไปด้วย 1.ด้านเศรษฐกิจที่ขายตัวต่อเนื่อง 2.การลดหนี้สิน ขจัดความจน 3.การศึกษาดี มีคุณภาพ 4.สุขภาพดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี สังคมคาร์บอนต่ำ 5.สังคมไร้ยาเสพติด 6.สร้างระบบรถราง คมนาคมสะดวกขึ้น 7.สร้างระบบให้มีน้ำและที่ดินเพียงพอต่อการทำเกษตรและที่อยู่อาศัยตลอดปี 8.สร้างสังคมที่ประชาชนสามารถตั้งตัวได้ 9.แก้ปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง 10.กรุงเทพฯ ต้องไม่มีน้ำท่วม 11.มีทรัพยากรอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภคและส่งขาย 12.สร้างมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน 13.สร้างระบบภาษีที่ยุติธรรม
“กำหนด 9 นโยบาย 16 แผนงาน เน้นนโยบายปรองดอง ยืนยันแก้รัฐธรรมนูญ โดยถามประชาชนทุกขั้นตอน สร้างความเป็นธรรมและเยียวยาผู้เสียหายจากเหตุการณ์ชุมนุม จะไม่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้านนโยบายสังคมแก้ปัญหายาเสพติด กำจัดทุจริต การซื้อขายตำแหน่ง เดินหน้ารักษาโรคได้จริงด้วยบัตร 30 บาท จัดทำพลังงานทางเลือก ที่ไม่กระทบต่อความปลอดภัยทางอาหาร และทำฟรีไวไฟ 1 แท็บเล็ตต่อเด็ก เพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลที่ทันสมัย ร่วมทั้งสร้างความสัมพันธ์กับประเทศใหม่ๆ เช่น บราซิล มุ่งหวังการวางภาพประเทศ จะสามารถกู้เศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้จริงๆ สู่การเป็นประเทศชั้นนำของโลก”
ขณะที่นายสาทิตย์ กล่าวว่า นโยบายของพรรคจะสานต่อข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 2 ชุด ทั้ง คปร. ชุดอดีตนายกอานันท์ ปันยารชุน และ คสป. ชุด นพ.ประเวศ วะสี รวมทั้ง คอป. ชุดอ.คณิต ณ นคร และคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชุดนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ นับเป็นตัวอย่างรูปธรรมที่เป็นจุดยืนของประชาธิปัตย์ ที่มุ่งเน้นเรื่องความเป็นกลาง และให้คนที่เป็นกลางมาดำเนินการเรื่องความปรองดอง
“สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปที่เห็นด้วยในหลักการและนโยบายมี 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากรโดยท้องถิ่น ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม ที่ถือเป็นรากฐานในการจะสร้างความปรองดองในประเทศ การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ ลดส่วนกลางลง เพิ่มอำนาจท้องถิ่นมากขึ้น แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านต้องสร้างความพร้อมให้ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง เพิ่มบทบาทพลังชุมชน การจัดสรรทรัพยากรและภัยพิบัติต่างๆ โดยคนท้องถิ่น เช่น เรื่องน้ำท่วม ที่ดำเนินการไปบ้างแล้วและจะดำเนินการต่อไป”
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีการเปิดเผยการถือครองที่ดินแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการจำกัดการถือครองที่ดินการเกษตร 50 ไร่ ที่ขณะนี้กฎหมายเข้าสู่สภาฯ แล้ว ซึ่งหากได้เป็นรัฐบาลจะผลักดันต่อไป รวมทั้งเสนอกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งเล็งไว้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด และจัดทำด้านสาธารณะสุขให้คนไทยพลัดถิ่นและคนชายขอบที่เข้าไม่ถึง”
ด้านนพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมไทยคาดหวังปรองดองมากที่สุด อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ นโยบายพลังงานเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจทุกมิติ ดังนั้น ต้องสร้างเสถีรยภาพราคาพลังงานให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ
“จัดราคาเบนซินไม่เกิน 35 โซล่าไม่เกิน 30 โดยจะยกเลิกเบนซิน 91 ให้หันมาใช้แก็สโซฮอล และไบโอดีเซล เพื่อให้มีความต้องการใช้เอทานอลจากมันสำปะหลังมากขึ้น เชื่อมโยงไปสู่การสนับสนุนเกษตรกร สร้างความร่ำรวยให้เกษตรกร เพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้โดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ และผลักดันให้มีการส่งออกผลผลิต ให้เป็นโอเปคพลังงานไปสู่ต่างประเทศ โดยไม่บิดเบือนกลไกราคาน้ำมันระดับโลก ด้านสังคมส่งเสริมให้คนสุขภาพดี มีบัตรทองรักษาเท่าเทียมกันทุกโรงพยาบาล ด้านกีฬา จัดสร้างสปอร์ตคอมเพลก สนับสนุนงบให้สมาคมกีฬาและในแต่ละจังหวัดให้มีการพัฒนา ส่วนระบบขนส่งมวลชน สร้างมอเตอร์เวย์และรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ให้สามารถขนส่งสินค้าเร็วขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า สร้างแหล่งท่องเที่ยวเป็นเศรษฐกิจพิเศษ โดยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ”
ส่วนนายวัชระ กล่าวว่า ขณะนี้ความทุกข์ของคนไทยที่หนักที่สุดทุกระดับชั้น คือ ทุกข์เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง และความขัดแย้งของคนในชาติอันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ฉะนั้น หากสามารถลดความขัดแย้งและสร้างความปรองดองในชาติได้ จะสามารถพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะด้วยประชานิยม หรือประชาวิวัฒน์ได้
“คณะกรรมการหลายชุดที่รัฐบาลชุดประชาธิปัตย์ตั้งขึ้นมา ทั้ง คปร. คสป. คอป. และชุดของอาจารย์สมบัติ เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ล้วนผ่านกระบวรการทำงาน ใช้เวลา ใช้มันสมองและใช้งบประมาณจนได้ข้อเสนอมาแล้ว ซึ่งหลายอย่างสามารถทำได้ ขอเพียงนักการเมืองและพรรคการเมืองดำเนินตามกรอบในเวทีการเมือง เข้าสู่ถนนสามัคคี จะปรองดอง หรือวาทกรรมไหนก็ตาม อย่าเปิดโอกาสหรือดึงอะไรหรือใครที่อยู่นอกระบบเข้ามา เพราะโครงสร้างต่างๆ ของประเทศถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบแล้ว ควรเล็งเห็นเรื่องต่างๆ เหล่านี้อย่างเร่งด่วน เพราะประชาชนเป็นทุกข์มากกว่าเรื่องไข่ชั่งกิโล และราคาน้ำมันพืช”
หลังจากนั้นในช่วงท้ายมีการตอบประเด็นข้อซักถามจากตัวแทนสื่อ ได้แก่ นางสาวสนิทสุดา เอกชัย หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการทีพีบีเอส ด้านข่าวและรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายพัชระ สารพิมพา รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิทยุ อสมท(FM.๑๐๐.๕ Mhz.) นางสาวดวงกมล โชตะนา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ประธานบริหาร) และนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอิศรา

 

คำถามจากสื่อมวลชน

คุณสนิทสุดา เอกชัย

นสพ.บางกอกโพสต์

ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นต้นตอของความขัดแย้งในปัจจุบัน คือถ้าไม่แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ให้เกิดความสมดุลความเป็นธรรมก็ยากที่ประเทศไทยจะเข้าไปสุ่ความขัดแย้งความสงบได้ คณะกรรมการปฏิรูปได้เสนอให้มีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจโยการยุบหน่วยราชการส่วนภูมิภาค และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บภาษีเองโดยส่วนใหญ่

พรรคของท่านมีแนวทางในการดำเนินการเข้าสู่การกระจายอำนาจ โดยการปรับหรือยุบส่วนราชการภูมิภาคของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆเพื่อให้มีการเก็บภาษีของ อปท.ส่วนใหญ่นี้อย่างไร และระยะเวลาในการจัดการที่เห็นชัด ขอเป็นรูปธรรม

นายสาทิตย์ โดยหลักการแล้วเห็นด้วย แต่เราคิดว่าในระยะเบื้องต้นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป้นเรื่องสำคัญ คือปัจจุบันนี้ อปท มีหลากหลายรูปแบบจำนวนมากตั้งแต่ อบต อบจ เทศบาล สิ่งที่จะต้องเดินหน้าในเรื่องนี้คือ การลดภาระของท้องถิ่น ในเรื่องของเงินที่เป็นเงินที่เรียกว่าเป้นเงินซึ่งจัดสรรให้ท้องถิ่น รัฐบาลจะเดินหน้าในเรื่องของการปรับเบี้ยผู้สูงอายุ ปรับเรื่องของเงินซึ่งโอนให้ท้องถิ่นกลับมาเป็นของรัฐบาลกลาง ซึ่งเงินที่จะเป็นของท้องถิ่นตามกฎมหายกระจายอำนาจนั้น สามารถได้เต็ม100% และก็จะตรงกับแนวทางของคณะกรรมการปฏิรูป ซึ่งต้องการให้เงินที่ไปท้องถิ่นนั้น ไม่เป็นภาระผุกพันของรัฐบาล และรับในสัดส่วนของรัฐบาล เงินส่วนนี้เมื่อกลับไปแล้วตัวเลขที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 3-4 % ก็แปลว่าเงินที่จะลงไปที่ท้องถิ่นนั้น ก้สามารถที่จะมีเงินไปอุดหนุนท้องถิ่น สามารถดำเนินการในเชิงของการพัฒนาได้มากขึ้น อันนี้เป็นประการที่1 ส่วนระยะเวลานั้นสามารถทำได้ทันที ไม่เกินครึ่งปีของการเป้นรัฐบาล ในส่วนที่จะดำเนินการแล้วเสร็จก็คือส่วนของงบประมาณปี 2555

ส่วนที่2 คือกฎหมายซึ่งจะทำให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในตัวเอง

จะมีอยู่3-4ฉบับค้างใน สภา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อ ก้คือเรื่องของการไปผลักดันกฎหมาย4ฉบับนี้ เป็นไปตาม รธน.ปี2550 เพราะงั้นการแก้ไข รธน.ปี50 ผมไม่รู้ว่าจะรวมเรื่องนี้หรือปล่าว แต่ถ้าเราเป้นรับบาล ไม่มีการแก้ไขรธน.ในส่วนนี้ ก้เดินหน้าในส่วนนี้ไป ในการเพิ่มข้อเสนอ คปร อีกอันหนึ่งคือการเพิ่มกลไกภาครัฐเข้าไปมีบทบาทในการตรวจสอบ อปท. อันนี้จะมีกฎหมายที่เกี่ยวของอีก2-3ฉบับ การดำเนินการเรื่องนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 1-1 1/2ปี เพราะฉะนั้นแนวทางนี้เดินหน้าต่อได้ เพราะเห็นว่าองค์กรภาคประชาชนดูแลในส่วนนี้ได้ ผมคิดว่าถ้าปรับ2ตัวนี้ไปแล้ว ในเรื่อง อปท.ก็จะมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ในเวลาเดียวกันกับที่ราชการส่วนภูมิภาค เราไม่สามารถที่จะยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคได้ทันที แต่สิ่งที่เราทำได้คือการเอางานส่วนหนึ่งซึ่งเป็นงานส่วนภูมิภาคแต่เป็นงานที่ท้องถิ่นกับชุมชนทำได้เองให้เขาไปจัดการกัน เช่น เรื่องภัยพิบัติ อันนี้จะเป็นการลดบทบาทของภูมิภาคไปด้วยโดยตรง การไปเพิ่มบทบาทในการจัดการภัยพิบัติให้กับท้องถิ่นในแนวคิดของปชป.คือการจัดตั้งองค์ที่ไม่ใช่ราชการที่เป็นองค์กรจัดการภัยพิบัติ และต้องมีกองทุนเบื้องต้นประมาณหมื่นล้าน ขณะเดียวกันแนวที่เราเคยเดินไว้แล้ว ก็คือการให้กอิงทุนกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในการจัดการภัยพิบัติ เบื้องต้นนั้นอาจจะมีเงินไม่เกิน7ล้านบาท กับกองทุนในส่วนขององค์กรจัดการภัยพิบัติขนาดใหญ่ ใครจะเรียกกระทรวง ทบวง กรมอะไรก็แล้วแต่ ตรงนี้จะเป็นการลดภาระงานส่วนภูมิภาคไป ไปเพิ่มบทบาทของท้องถิ่นและประชาชนโดยตรง ผมว่าแนวทาง2อันท้าย ภายในระยะเวลา 3-4 ปี เราจะได้เห็นความเข้มแข็งของท้องถิ่นมากขึ้น บทบาทของภูมิภาคที่ลดลง และส่วนกลางที่จะดูการกระจายในภาพรวมที่ชัดเจนมากขึ้น

นายปลอดประสพ บอกเป็น2ประเด็น

1ผมดีใจที่๕ระกรรมการของท่านอานันท์ กับหมอประเวศ ได้พูถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยได้พูดถึงเรื่องคว่ามเหลื่อมล้ำมาตลอด แม้แต่คนเสื้อแดง ผมไม่มีสิทธิที่จะพูดแทนเขา เขาก็พูดมาแต่ไม่มีคนเชื่อไม่มีคนฟัง วันนี้ คณะกรรมการชุดนี้พูดออกมา4ข้อ ว่ามีการแข่งขันกันในเชิงอำนาจนอกระบบ และพูดว่าเกิดความแตกแยกจนนำไปสู่การนองเลือด ได้พูดว่ามีการเลือกกปฏิบัติจนเกิดความอยุติธรรมขึ้น และพูดว่าความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกันเป็นมูลเหตุของความรุนแรงในปัจจุบัน อย่างน้อยคณะกรรมการชุดนี้ได้ยืนยันในสิ่งที่พวกผมพูดมาตลอด คำถามที่ถามมานี้อยู่ในหมวดที่4มีอยู่ด้วยกัน10ข้อ อยู่ในข้อที่1 ว่าด้วยการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ พรรคเพื่อไทยได้นำมาเป้นนโยบายแล้ว2ข้อ คือข้อ7กับข้อ10 เรื่องของการให้ข้อคิดของการจัดระบบการคลังด้วยตนเองและก็ให้รัฐบาลสนับสนุนต่อการจัดการองค์กรภาคประชาชน เข้ามาในเรื่องนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ให้มาเป็นธนาคารชุมชน ในเรื่องของsme คือให้ไปคิดกันเองว่าให้ใครยืม ยืมไปทำเพื่ออะไรเป้นต้น ทีนี้กลับมาพูดเรื่องของการยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ในฐานะข้าราชการเก่า รัฐบสลชุดนี้บอกว่าหมดความจำเป็น ผมว่าเป็นการพูดที่ห้วนไปสักหน่อย มันต้องค่อยพัฒนาไป จะไปยกเลิกปุบปับแบบนี้มันไม่ได้ ข้าราชการเองก็ไม่ได้ตั้งใจให้มันปุบปับอย่างนั้น ต้องดูทีละเรื่องว่าการบริหารราชการสวนภูมิภาคนี่ ซึ่งมีหน่วยของกระทรวงเกษตร กระทรวงทัพยากรฯ เรื่องใดมันทำได้ก่อนได้หลังโดยคำนึงถึง2สัญญาณ อย่างแรกก็คือว่า ความพร้อมของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะรับสิ่งเหล่านั้นได้ สองก็คือว่าความสุ่มเสี่ยงที่ทำไปแล้วจะกระทบต่อประชาชนอย่างไร สามขั้นตอนเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเรื่องน้ำแหล่งน้ำขนาดเล้ก กรมชลฯเข้าไป ชาวบ้านก็ขาดความเข้าใจเรื่องแหล่งน้ำทั้งเอ็นจิเนียริ่ง เรื่องของระบบ และก็มีความพัวพีนในเรื่องของความไม่โปร่งใส ทำให้การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กของกรมชลฯ กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่โอนแล้วคืนมาไม่ได้เด็ขาด สิ่งที่ตามมาคือถนนซอกซอย กลายเป็นอาคารของ อบต.อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ต้องระวัง เรื่องอะไรที่เป็นเรื่องเทคนิคัล อีกเรื่องคือเรื่องป่า ภาษอังกฤษเรียกเนชั่นแนลพาร์ค มันเป็นของประเทสของส่วนรวมของประเทศ จะให้ตำบล ก. ตำบล ข. เข้ามาดูแลมันเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นมันต้องมาดูแลในรายละเอียดว่าอะไรได้ อะไรไม่ได้ อะไรถ่ายทอดหมด อะไรร่วมกันถ่ายทอด โดยสรุปก็คือว่า เห้นด้วยในหลักการแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป แล้วก็ต้องมีข้อมูลทางเทคนิคเพียงพอที่จะตัดสินใจ ความรวดเร็ว และวิธีการ เรื่องของกระบวนการ

นายวัชระ พรรคชาติไทยพัฒนาเราย้ำว่าเห็นด้วยกับแนวทางและข้อเสนอของคณะกรรมมการปฏิรูป โดยเฉพาะเรื่องของการกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่น ซึ่งโยงใยไปสู่การมีแนวคิดที่จะยุบ ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค ข้อแรกที่ผมอนากจะเรียนก็คือว่า เห็นด้วยและก็สนับสนุนแนวคิดนี้ ในแนวนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนาเองที่พรรคจัดทำขึ้นมาใช้เป็นคัมภีร์บริหารพรรคและนำเสนอแก่ประชาชนเรามีเรื่องการกระจายอำนาจอยู่ในข้อ 1.4 หมายความว่าเราให้ความสำคัญ พรรคเชื่อว่าการกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่นจะเป็นประโยชน์กับประเทศ เรานำเสนออยุ่3ตัว 1.กระจายอำนาจบริหาร 2.กระจายอำนาจการปกครอง 3.กระจายอำนาจการคลัง แต่อาจจะมีการตั้งคำถามจากข้าราชการประจำถึงเรื่องของความพร้อม ถ้าปล่อยให้ท้องถิ่นบริหารการเงินการคลังเอง บริหารงบประมาณเอง จะมีปัญหาในการใช้อำนาจอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ต้องเชื่อและมั่นใจในความรับผิดชอบ ต่อความรู้ความสามรรถของประชาชนหรือว่านักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งถ้าเกิดอะไรไม่ดีผมว่าสร้างระบบไม่ดี เห็นด้วยกับคุณปลอดประสพที่บางอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องดูไปทีละเรื่อง
นายแพทย์วรรณรัตน์ เห็นด้วยกับเรื่องปัญหาที่กดดันสังคมไทยในขณะนี้คือเรื่องของความเหลื่อมล้ำของสังคมในทุกมิติ ปัญหาผู้ด้อยโอกาสกับผู้มีโอกาสมากกว่าในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติต่าง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ที่ดิน ฯลฯ ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน คนเมืองคนชนบท การกระจายรายได้ต่างๆก็ดี การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้คนในท้องได้มีโอกาสใช้สติปัญญา ใช้ความร้ความสามารถในการที่จะแก้ไขปัญหาของถิ่นนั้นโดยหลักการที่ถูกต้อง ว่าท้องถิ่นต้องรู้ปัยหา รุ้ความต้องการของคนในท้องถิ่นได้ดีกว่าส่วนกลาง แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นก็ต้องดูความพร้อมของท้องถิ่นด้วย ต้องกระจายอำนาจ คน ไปพร้อมๆกัน ถ้ากระจายเพียงอย่างเดียว หรืองบประมาณไมไป มันก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เราต้องเสริมสร้างท้องถิ่นให้มีความพร้อมในทุกๆด้าน คน งบประมาณและการจัดการ เวลานี้มีผู้บริหารในจังหวัดอยู่2แบบ คือผู้ว่าฯซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และ นายก อบจ. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น กลายเปนว่าจังหวัดมีผู้บริหาร2คน ผู้ว่าฯเป็นผู้บริหารสายบริหาร นายก อบจ.เป็นผู้บริหารสายพัฒนา งบประมาณอยู่ที่ท้องถิ่นที่นายก อบจ. ผู้ว่าฯไม่มีงบประมาณ มีแต่งบCEO พบคิดว่าถ้าจะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็งสามารถดูแลปัญหาได้ ท้องถิ่นต้องมีความเข็มแข็งและเป็นเอกภาพ ผมเห็นด้วยในหลักการน่ะครับว่าถ้าจะให้ท้องถิ่นเข้มแข็งจริงๆแล้ว ผู้บริหารในจังหวัดต้องมีคนเดียวไม่ใช่แยกส่วน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม รองรับให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ปล่อยให้งานที่เป็นของส่วนกลางเป็นของส่วนกลางไป

 

คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

รอง ผอ. ฝ่ายข่าวและรายการ ไทยพีบีเอส

พรรคการเมืองมีนโยบายชัดเจนอย่างไรเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้จากกรณีของญี่ปุ่น จะมีหรือไม่มี
นายแพทย์วรรณรัตน์ กลับมาทบทวนถึงความปลอดภัยหรือไม่ พรรคคไม่มีการสร้างพลังงานนิวเคลียร์หยุดไฟฟ้าปรมานู สู่พลังงานทดแทน ไม่มี
นายวัชระ ตอนแรกมองว่าประเทสไทยมีความจำเป็น แต่พอเกิดเรื่องกับญี่ปุ่น ต้องต้องมาทบทวนความปลอดภัย ต้องมารับฟังประชาชนด้วย ถือว่าเราวางไว้บนโต๊ะ ในเบื้องต้นคงไม่มี
นายปลอดประสพ นโยบาย2ม. ในมิติของเทคโนโลยีความปลอดภัย คือ ไม่มี ในมิติที่2ว่าด้วยเรื่องความต้องการไฟฟ้าถึงจุดระดับที่จะต้องเลือกที่มาของๆฟฟ้าที่มีความเสี่ยงอย่างนี้หรือไม่ คำตอบคือเรายังไม่ถึงจุดนั้น ไม่มีด้วยเทคโนโนโลยีและไม่มีด้วยข้อเท็จจริงในวันนี้
นายสาทิตย์ เป็นรัฐบาล4ปีนั้นไม่มี อันดับ2ที่ต้องพูดถึงคือ เรื่องของพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกก็ยังมีปัญหาที่ต้องศึกษา เรื่องของการลดการใช้พลังงานเกินความจำเป็น

 

คุรพัชระ สารพิมพา

รักษาการ ผอ.อสมท.

– แต่ละพรรค เลือกสักเรื่องที่มั่นใจว่าจะทำได้ เป็นรูปธรรม จริงจัง

ถ้ามั่นใจ แล้วทำไม่ได้ จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร

– ความขัดแย้ง ยอมรับหรือไม่ว่านักการเมืองคือผู้นำหัวขบวนความขัดแย้ง

ถ้ายอมรับ นักการเมืองจะนำตนเองออกจากความขัดแย้งได้อย่างไร

นายแพทย์วรรณรัตน์ เรื่องนี้จริง นักการเมืองคนที่ตอบไม่จริงมันไม่ใช่ ไม่ว่านักการเมืองจะมีส่วนที่ให้ผู้สนับสนุนไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ม่าสน อาจจะมส่วน ที่ทำให้กองเชียขับเคลื่อนตามพรรคตนเองต้องการ

(ท้าย) เรื่องที่ทำได้ทันที เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

 

นายวัชระ เรื่องความขัดแย้งที่มาจากนักการเมืองและพรรคการเมือง ไม่ต้องถาม เรื่องนี้มันจริง นักการเมืองคนไหนที่ตอบว่าไม่จริงก็ไม่ใช่ นักการเมืองและพรรคการเมืองในข้อเท็จจริงย้อนหลังไป ไม่ว่านักการเมืองจะมีว่นหรือทำให้กองเชียร์หรือผุ้สนับสนุนกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งใดๆเสมอๆไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หลายคนบอกว่าพรรคและนักการเมืองมันชัดเจนขึ้น มีส่วนที่อาจจจะทำให้กองเชียร์มีพลังนอกสภา ขับเคลื่อนตามที่ตนเองหรือพรรคต้องการ นี่คือสมมติฐาน พรรคชาติไทยพัฒนาเราไม่ได้มีมวลชน ใครมีมวลชนเรามองอย่างนั้นจริงๆ พุดกันแบบไม่ดัดจริต คนทั้งประเทสมองแบบนั้น คำตอบตือ ไม่ต้องปฏิเสธหรือถกเถียงว่าเกี่ยวข้องหรือไม่ เอาเป็นว่าถ้านักการเมืองทุกคนเคารพกติกา ผลการเลือกตั้งออกมา ผมอยากให้พรรคใหญ่ๆพูดให้ชัดเลยว่ายอมรับผลการเลือกตั้ง ถ้าถามในฐานะนักการเมืองเล็ก พรรคการเมืองเล็กก็น่าจะโอเค

(ถ้ามีพรรคการเมืองหนึ่งได้เสียงข้างมาก แล้วอีกพรรคได้เสียงน้อยกว่า)

คนตอบต้องไม่ใช่ผม แต่เป็นพรรคการที่ได้ที่1หรือที่2 เรายังไม่ทราบ ไม่ได้ตอบแบบจะเสียบด้วย

นายปลอดประสพ  

เลือก2ข้อ อย่างแรกคือเรื่อง2มาตรฐาน ให้เหลือมาตรฐานเดียว ยังไงก็ไม่ยอมเด็ดขาด

เรื่อง2 คปร.บอกว่าคนจนมีแต้มต่อน้อย ไม่ยอมเด็ดขาด คนจนคนรวยมีมีสิทธิเท่ากัน เราจะกลายโอกาสกระจายเงินจะเห็นได้จากกองทุนต่างๆ

ข้อ3 คปร. ความยุติธรรมฝูงปลา ปลาใหญ่กินปลาน้อย ต่อไปนี้ไม่ยอม กินกันไม่ได้เด็ดขาด ฝูงปลาแปลว่าอยู่เป็นฝูเหมือนหมาหมู่ ไม่ยอมครับ

ข้อต่อไป การปฏิรุปกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ทั้งเนื้อหาสาระ และจะแก้รัฐธรรมนูญแน่นอน

ข้อต่อไปว่าด้วยการปฏิรูปกองทัพ ทหารต้องยอมรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น ถ้าผมเป็นรัฐบาลต้องยอมรับ ไม่ต้องมาขู่เรื่องปฏิวัติ ไม่กลัว ทหารต้องลดภาระกิจด้านการเมือง กลับกรมกองทำหน้าที่ของท่านจึงจะเป็นวีรบุรุษ

(สมมติว่าหากมีการปฏิวัติจริงเมื่อไหร่ไม่รู้ พรรคเพื่อไทยจะทำอย่างไรครับ)

หากมีปฏิวัติจริง ปฏิวัติเลยครับ เอาเลย ในที่นี้มีใครยอมรับการปฏิวัติ ไม่มีการยอม สู้กันยังไงไว้ค่อยว่ากัน ไม่กลัวเด็ดขาด

นายสาทิตย์ เห็นด้วยว่านักการเมืองเป็นหัวหอกของความขัดแย้ง นักการเมืองต้องถอยตัวออกมา มันไม่ใช่เรื่องที่ว่านักการเมืองจะสร้างความปรองดองได้โดยการออกกฎหมายนิรโทษกรรมล้างความผิดให้กับใคร พท.ขณะนี้ถึงกับประกาศหัวหน้าทีมปรองดองแล้วซึ่งเป็นคุณเฉลิม แต่ ปชป.เห็นว่าตัวคณะกรรมการซึ่งเป็นกลไกที่ไม่มีส่วนได้เสียกับการเมือง คนไม่ควรไปทำ และควรเป็นคนสร้างข้อเสนอในเรื่องของความปรองดองด้วยการลดความขัดแย้งในประเทศ

เรื่องที่2 ที่เสนอและทำได้ทันที่คือเรื่องที่ดิน เป้นปัญหาหลักเรื่องความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำในปัจจุบันนี้ ตนไร้ที่ดินตามตัวเลขของ ศยามล ไกรยูรวงศ์ ที่ กปร.ได้ไปศึกษา ประมาณล้านครัวไม่มีที่ดินทำกินเลย ฉะนั้นการดำเนินการในเรื่องที่ดิน เช่น โฉนดชุมชนประกาศไปแล้ว 2.5แสนคนใน1ปีที่กำลังทำ เรื่องะนาคารที่ดินซึ่งในขณะนี้กฤษฎีกาทำแล้ว 30 วันนี้เป็นการตั้งกรรมาธิกรเฉพาะ อันที่3กำหมายภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่จะผลักดันในสภา อันที่4เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนการจำกัดการถือครองที่ดินด้วยการใช้ระบบภาษีในอัตราก้าวหน้าก้จะโยงเข้ากับกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจะทำต่อแน่ สุดท้ายเป็นเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลการครอบครองที่ดิน

(ทำไมต้องเปิดเผยตัวเลขการถือครองที่ดินเฉพาะภาคเกษตร ทำไมไม่ขยายไปยังภาคอุตสาหกรรมหรือบริการ)

ข้อเสนอของ คปร. ศึกษาในเรื่องภาคเกษตรอย่างชัดเจน เรื่องของอุตสาหกรรมยังไม่มีคำตอบที่ชัด ในด้าน อุตสาหกรรมไม่สามารถที่จะตอบได้ว่าจะใช้พื้นที่จำนวนเท่าไหร่ในแง่ของการนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม บริการก็เหมือนกัน แต่เกษตรมีข้อเสนอ คปร. ชัดเจนมาก ซึ่งก็ถือเป็นการยอมรับเรื่องของการถือครองที่ดินในรูปแบบที่ดินขนาดใหญ่ด้วย

  (พท เสนอตัวปรองดอง แต่ ปชป เสนอคนกลางปรองดอง)

ปลอด- อาจคนกลางมาช่วยประนีประนอม แต่การปรองดองต้องเป็นความยินยอมพร้อมใจของผู้ที่แตกแยก ไม่ใช่จะมีใครมาชี้นาย ก. นาย ข. ให้พอ

สาทิตย์- แนวคิดเช่นนี้จำเป็นครับ พอดี พท.ประกาศจุดยืนความปรองดอง หลายคนก็กังวล โดยเฉพาะคุณเฉลิมเป้นแกนนำ อันแรกที่ประกาศคือย้ายผู้ว่าฯเชียงใหม่ ดำเนินคดีคุณสุเทพ ดำเนินคดีคุณอภิสิทธิ์ การเริ่มต้นอย่างนี้จะเป็นการเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดคำถามมากมาย เวลาเดียวกันกับบัญชีรายชื่อ พท.เองที่เป็นแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวเสื้อแดงหรือ นปช.เดิมหลายคน การมีคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย จะปราศจากข้อกังขาเรื่องการมีส่วนได้เสีย ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติได้

 

คุณดวงกมล โชตะนา

ประธานบริหาร นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

ระหว่างทีมีความขัดแย้งกันเป็นเวลา8ปี งบประมาณทางทหารเพิ่มขึ้น 1.7 แสนล้าน ในขณะที่ประเทสขาดดุลงบประมาณ4แสนล้าน

จะไฟแนนซ์จัดการเงินต่างๆของกลาโหมอย่างไร หรือจะควบคุบจำกัดงบประมาณอย่างไร

กับงบประมาณเหล่านี้ กลาโหมบอกว่ายังน้อยไปด้วยซ้ำ เพราะเป็นเพียงแค่ 1.02 ของจีดีพีโดยมาตรฐานแล้ว ซึ่งแปลว่าจะต้องเพิ่มอีกเป็นแสนล้าน

นายปลอดประสพ งบมากน้อยไม่ใช่ประเด็น อยู่ที่ว่าใช้ถูกทางหรือไม่ในทางการทหาร ถ้านำไปใช้เรื่องการจัดองค์กรทหารทั้งเรื่องฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์ ผมว่าไม่เห็นจะแปลกอะไร แต่ถ้าเมื่อไหร่ก้ตามงบถูกใช้ในสิ่งที่ไม่ควรอย่างที่เขากล่าวหาว่ามันเกี่ยวข้องกับฝูงชน ซึ่งมันก็ไม่ใช่หน้าที่ของทหาร เรื่องไปใช้กับชายแดนอย่างนี้มันก็ต้องคิดในเรื่องนโยบายต่างประเทศและงบประมาณ ความโปรงใสเรื่องงบประมาณทหารเป็นอย่างไร การใช้งบเรื่องของกำลังพล ถ้านำไปใช้ในการเพิ่มความรู้ สติปัญญา ความสามารถของกำลังพลก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าวันหน้าใครจะรู้ ทหารที่มีความรู้หยุดอยู่ที่ระดับหนึ่งแล้วออกมาทำธุรกิจค้าขาย การตั้งงบทหารไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องการแข่งขัน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

(ท้าย) เรื่องวิธีการแก้ไข ใช้สกุลเงินใหม่กับสินค้า เช่น สกุลเงินมันสำปะหลัง สกุลเงินข้าว สกุลเงินยางพารา แต่ไม่มีสกุลเงินไข่

นายสาทิตย์ ไฟแนนซ์อย่างไร ถ้าแยกแยะนโยบาย ปชปที่ยกขึ้นมา แต่ละตัวไม่ได้ใช้เงินมโหฬารอย่างที่ว่า อย่างกยศ.เรียนฟรีอยู่ ปีหนึ่งใช้ประมาณ8หมื่นล้านบาท อันนนี้ก็ใช้พอ ไม่ได้ขยายจากนี้ ประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงกลไกอันนี้ก้จะเป็นปัญหา

งบกลาโหม ปีงบประมาณ2555 ส่วนใหญ่ไปอยู่ที่สวัสดิการมากกว่า เช่นการดูแลผู้สูงอายุ ประกันสังคม แรงงานนอกระบบที่จะต้องเพิ่มขึ้นที่รัฐต้องจ่ายสมทบ ในส่วนงบการทหารที่เพิ่มขึ้น ประเด็นที่คุณปลอดประสพพูดนั้นถูกต้อง ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่มากน้อย แต่อยู่ที่เอาไปทำอะไร เรื่องของดุลด้านการทหาร จริงแล้วเป้นประเด็นต่อเนื่องกันมา 2ปีเศษที่นั่งอยู่ใน ครม. เป็นโครงการต่อเนื่องที่ต้องอนุมัติเพิ่มเติม แต่โครงการใหม่ไม่ได้เริ่มเลย ไม่ได้มีอะไรเพิ่มถึงแสนล้าน ในเวลาเดียวกันการเริ่มของศักยภาพทางทหารที่ลงมือทำงานอย่างที่ท่านพูดถึงโครงการพิเศษมันไม่ได้มีงบที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ว่างบที่จะไปในช่วง2ปีที่เพิ่มขึ้น ผมเห็นอยู่2อย่าง

หนึ่งคือเกิดเหตุตึงเครียดชายแดน ไม่อาจปฏิเสธการใช้จ่ายได้ สองคือปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้ แต่มันไปในงบของการพัฒนามากกว่า เน้นมาตรการจัดลำดับความสำคัญ

นายแพทย์วรรณรัตน์ ความมั่นคงประเทศไม่มีได้ถ้าขาดความมั่นคงด้านทหาร ประเทศชาติต้องมีการเสริมสร้างความมั่นคงด้านการทหารอย่างแรกก่อนจะเสริมสร้างความมั่นคงด้านอื่น ลดงบด้านกลาโหมอย่างไร ลดความขัดแย้งที่จำเป็นต้องใช้กำลังทหาร ลดความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำสะจนน้อยจนไร้สักยภาพ วิธีง่ายๆคือเปลี่ยนสนามการรบเป้นสนามการค้า
นายวัชระ เชื่อในหลักการดุลแห่งอำนาจ สิ่งที่ถูกถามเสมอคือคือเรื่อง งบกลาโหม แต่เรื่องที่ตอบได้คือค้ลายกับคุณสาทิตย์ ช่วงสองปีที่เห็น นโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลาโหม มีความจำเป็นใช้จำเป็นจริงๆ อย่างที่คุณหมอวรรณนัตน์กล่าว เราจำเป็นอย่างยิ่งท่าต้องรักษาดุลแห่งอำนาจ ดุลแห่งความเกรงกลัวกับต่างประเทศไว้แบบนี้ การที่ต่างฝ่ายเกรงกลัวกันและกัน ก็จะไม่ก่อให้เกิดสงคราม ต้องสร้างความเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ผมมองว่างบของกลาโหมยังมีความจำเป็น จริงๆแล้วถ้าเทียบกับต่างประเทศรอบข้างเรา เราน้อยมาก ต้องเน้นและจัดลำดับความสำคัญ ต้องโปร่งใส
คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

ผอ.บริหาร สถาบันอิศรา

กม. ม.112ของประมวล กม.อาญา เรื่องเกี่ยวกับความผิดในการหมิ่นประมาทและแสดงอาฆาตมาดร้ายต่อพรมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ใส่ร้ายป้ายสีและมีการเคลื่อนไหวให้ยกเลิก

มีนโยบายในเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของการบังคับใช้ และการแก้ กม. นี้ด้วย

นายสาทิตย์ มีจุดยืนในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ให้มาอยู่ในวงจรความขัดแย้งทางการเมือง ม.112 มีการพูดและมีการสนับสนุนคงไม่ใช่ประเด็น ประการหนึ่งคือพยายามเปรียบเทียบกับประเทศอื่นใน ตปท. เสมือนว่าการมีอยุ่เป้นกม.ซึ่งล้าหลัง เป็นเครื่องมือซึ่งเอาไว้จัดการกับคนไม่เห็นด้วย หรือคนที่มีการพูดในเชิงของการวิพากษ์วิจารณ์ นี่เป็นการแสดงแนวทางหรือจุดยืนที่ไม่ถุกต้อง สถานะพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยแตกต่างจากระบบเดียวกันในประเทศอื่นๆ กฎหมายต้องมุ่งพิสูจน์เจตนา เพราะกม.อาญาต้องมีเจตนาหรือไม่เจตนาเป็นเรื่องหลัก กม.นี้ไม่อาจบิดเบือนได้ถ้าคนมีเจตนาที่ชัดเจน ควรจะมีอยู่ต่อไป

ประเด็นปัญหาอยุ่ที่การบังคับใช้ว่าเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคนซึ่งไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์ท่านพูดชัดเจนเฉพาะคนที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาในวงวิชาการ เป็นเรื่องต้องพิจารณาว่าเขามีเจตนาที่จะฝ่าฝืนกม.ฉบับนี้ การพูดในวงเสวนาวิชาการไม่น่าจะเกี่ยวกับกม.นี้ กรณีเดียวกันถ้ามีเจตนาชัดเจนที่จะไปพูดจาในเชิงให้ร้าย ไม่เคยมีการใช้สื่อหลากหลายชนิดที่พุ่งเป้าไปที่สถาบันในลักษณะการให้ร้ายได้อย่างชัดเจนเท่ากับระยะ 2-3 ปีกว่า รัฐบาลจะใช้กม.ฉบับนี้จับกุมผู้อื่นไม่ได้ เพราะเปนการบังหน้า แต่ประเด็นคือต้องมุ่งในการพิสูจน์เจตนาที่ชัดเจนจริงๆ อันนั้นจึงเอาผิดได้ เพราะกระบวนการสุดท้ายคือต้องเข้าไปอยู่ที่ศาลมีเรื่องของการพิสูจน์ในเรื่องของความถูกต้อง พยายนหลักฐาน รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการใช้กม.นี้เป็นเครื่องมือในการจัดการฝ่ายตรงข้าม ต้องแยกแยะระหว่างตัวกม. ตัวบังคับใช้ และตัวที่พยายามจะไปกล่าวหาว่าใช้ กม.นี้เป็นเครื่องมือ

กม.ฉับบนี้ยังมีความจำเป็นที่ต้องพิทักษ์รักษาสถาบันกษัตริย์ต่อไป

สอง กม.ต้องชัดเจนว่าไม่ได้เป็นเรื่องของการกลั่นแกล้ง มุ่งให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้พิสูจน์เจตนา

นายปลอดประสพ ม.112 มีการตราขึ้นมาเพื่อเป้นการรักาพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เรื่อง อย่าวิจารณ์ เรื่องนี้ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดใดก็เป็นเรื่องที่จะทรงพิจารณา ไม่ใช่เรื่องของพวกเรา
นายวัชระ การมี ม.112 ดังกล่าว อยากจะพูด2เรื่องที่วิพากษวิจารณ์กัน ก็คงไม่พ้นเรื่องการใช้ กม.นี้ให้เกิดประโยชน์กับตน และอีกข้อคือสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งสูงส่ง เป็นเรื่องที่ไม่บังควรที่ใครคนใดคนหนึ่งจะล่วงละเมิดจาบจ้วง ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้และไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เรื่องของ ม.112 จะไม่มีทางเกิดขึ้นเลยถ้ามันพ้นจากเงื่อนไขที่พูดไปทั้ง2ข้อ คือสมมติฐานกล่าวอ้างว่ามีการบังคับใช้กม.โดยไม่เป็นธรรม กับสอง ไม่เกิดเหตุการณ์จริงขึ้นว่ามีการล่วงละเมิด
นายแพทย์วรรณรัตน์ ถ้าบังคับใช้กม.อย่างตรงไปตรงมา ไม่มีหลายมาตรฐาน มันก็ว่ากันตามนั้น ผิดก็ผิด ถูกก็ว่าถูก ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

 

คอรัปชั่น ทำไมไม่มีพรรคการเมืองใดชูเรื่องการปราบคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องเด่นเหมือนนโยบายเรื่องอื่นๆ และถ้านโยบายนี้เป้นรูปธรรมจะทำอย่างเมื่อเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น
นายสาทิตย์ ทุกพรรคคงจะเขียนเรื่องคอร์รัปชั่น ประเด็นอยู่ที่ยกขึ้นมานำเสนอมากน้อยเพียงใด สิ่งที่น่ากังวลเรื่องนี้คือโกงได้นิดหน่อยไม่เป็นไร แต่ว่าขอให้ชาวบ้านได้บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น มีอยุ่3ประเด็น หนึ่งคือเรื่องกลไกการจัดการ ต้องเริ่มต้นปัญหาใหญ่สุดคือการจัดซื้อจัดจ้างหรือการกำหนดราคาก็ดี การกำหนดวิธีการ ต้องมีการแก้ไข รัฐบาลที่ผ่านมีมีการเข้าไปกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างไปจนถึงเรื่งใหญ่จนถึงอนุญาโตตุลาการ ซึ่งทุกครั้งรัฐบาลเสียเปรียบทุกกรณีของอนุญาโตฯ อันที่สองคือกลไก อปท. อปช. สตง.และกลไกอื่นซึ่งต้องมีการเข้าไปจัดการ ตรงนี้สำคัญถ้าเกิดกรณีคอร์รัปชั่นขึ้นมา ต้องมีการดำเนินการโดยทันที รัฐบาลหรือพรรคเองก็สนับสนุนนโยบายเหล่านี้ เรื่องสุดท้ายคือเรื่องกลไกลการตรวจสอบประชาสังคมและสื่อมวลชนด้วยการร่วมกันเปิดเผยข้อมุลข่าวสาร เป็นการป้องกันคอร์รัปชั่นได้อีกทาง
นายวัชระ มีนโยบายเหมือนกันทุกพรรค มองว่าคอร์วันนี้กลายเป็นอาวุธที่บรรดานักการเมืองต่างพรรคเอาไว้ซัดกัน แต่ไม่เคยเห็นซัดกันจนจบซักที ซัดกันในสภาฯตลอด ไม่ได้หมายถึงช่วงแค่ปีสองปี

เวลายื่นอภิปรายไม่ไว้วาง ข้อกล่าวหาหนึ่งคือเรื่องคอร์รัปชั่น พูดเสร็จแล้วก็จะยื่นเรื่องไป ปปช. ฯลฯ ก็ว่ากันไป เสร็จแล้วก็จบลงไปแบบนั้น

ในส่วนขององค์กรที่ตรวจสอบหรือกฎระเบียบต่างๆมีมากพอแล้ว มากเกินไปด้วยซ้ำ มันอยุ่ที่พวกเรา ในทีนี้หมายถึงผู้มีโอกาสตอร์รัปชั่นไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง จริงๆแล้วจำเลยอีกพวกหนึ่งคือคนในระบบราชการบางคนก็มีโอกาสและมีส่วน

นายแพทย์วรรณรัตน์ เป็นปัญหาซับซ้อนยุ่งยาก  คล้ายกับปัญหายาเสพติด หวยเถื่อน โสเภณี ก็คงไม่ยอมรับแน่ๆ มันต้องใช้ความมุ่งมั่นในการเยียวยาแก้ไข ตัวละครในการคอร์รัปชั่นมีตั้งแต่นักการเมือง ข้าราชการ ผู้ประกอบการ ประชาชน บางครั้งฝ่ายนักการเมืองหรือข้าราชการเรียกรับ บางครั้งก็เป้นธุรกิจหรือประชาชนเป้นฝ่ายเสนอ มีกลไกป้องกัน ลงโทษกับผุ้กระทำผิดมาลงโทษอยุ่แล้ว มี ปปช. อปท. แต่กระบวนการนั้นยังไม่มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จะเห็นว่าสถิติการร้องเรียนยังคงค้างอยุ่ใน ปปช.อีกจำนวนมากมายมหาศาล ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการในเรื่องของการป้องกันและการสืบสวนสอบสวนหาผู้ทำผิดมาลงโทษให้มีประสิทธภาพรวดเร็วยิ่งขึ้น กับสอง กระบวนการที่นำไปสุ่การคอร์รัปชั่นนั้น เช่นการขออนุญาตสัมปทานนั้นเป็นที่มาของการคอร์รัปชั่น อาจเป็นไปได้ว่าต้องกำหนดระยะเวลา หรือกำหนดเรื่องการร้องเรียนต่อสรรพากรหรืออื่นในเรื่องของความเป็นธรรม
นายปลอดประสพ พรรคมีนโยบายคอร์รัปชั่นชัดเจน การคัดสรรคนเข้ามาบริหารประเทศมันห่วย ถ้าประเทศไทยมีรัฐมนตรีมีสี คอร์รัปชั่นก็จะน้อยลง การแต่งข้าราชการ ผู้บริหารกระทรวง ถ้าเป็นอยู่อย่างนี้คอร์รัปชั่นไม่มีวันหมด ไม่ต้องยกมือไหว้ ไม่ต้องนับถือคนโกง ท่านอย่ายอม เป็นใครท่านก็รู้อยู่

 

สุขภาพ นโยบายสวัสดิการสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ การประกันสุขภาพกลายเป็นสิทธิพื้นฐานไปแล้ว ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อผุ้ใช้บริการ เพราะต้องมีคนกลุ่มเดียวคือผุ้ประกันตนต้องจ่ายเบี้ยประกัน ในขณะที่คนอื่นๆได้รับบริการไม่เสียค่าใช้จ่าย พรรคของท่านมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาความลักลั่นของระบบสุขภาพอย่างไร ทั้งข้าราชการ ประชาชนทั่วไป และสมาชิกระบบประกันสังคม และมีแนวคิดรวมเป้นระบบเดียวกันหรือไม่ อย่างไร
นายปลอดประสพ มุ่งมั่นเรื่อง30บาทรักษาโรค ให้การรักษาเป็นตัวกระตุ้นให้รู้สึกว่าได้รับการรักาที่ดี ไม่ได้มาขอทาน ไม่ได้อยากได้เงิน แต่อยากกระตุ้นเท่านั้น ข้อสองคือว่าไม่มีโรคหนึ่งโรคใดหลุดออกไปจากวงโคจรแม้โรงพยาบาลไม่พอใจ หมอไม่พอใจ ข้อสามคือแม้ไม่หลุดออกไปซักโรคหนึ่งแต่ก็ให้ได้ยาที่มีคุณภาพที่สุด ส่วน ขรก. พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างในระบบ ซึ่งเราพยายามทำให้เป็นระบบเดียวอยู่แล้วนั้นทั่วประเทศไม่ลักหลั่นกัน
นายแพทย์วรรณรัตน์ แบ่งคนใช้บริการสุขภาพ 5 กลุ่ม 1.ข้าราชการ 2.ผู้ใช้แรงงานในระบบ 3.ประชาชนถือบัตรทอง 4.ประชาชนที่มีฐานะมีรายได้ไม่เดือดร้อน 5.ไม่มีอะไรเลย แรงงาน ต่างด้าว รวมระบบได้ แต่ต้องมีจุดว่าสิทธิแต่ละบบไม่เหมือนกัน อย่าง ขรก. ได้ไปถึงพ่อแม่คู่สมรสและลูก แต่บัตรทองนั้นเฉพาะตัว เป็นไปได้ที่จะรวมแต่อาจต้องใช้เวลาในการปรับฐานข้อมูล สามารถใช้บริการเชื่อมโยงจัดการค่าใช้จ่ายได้เหมือนกันทุกที่ อาจต้องให้พนักงานพยาบาลเข้ามาเป็นข้าราชการเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการให้บริการ
นายวัชระ อยู่ในกรอบนโยบายพรรคเรื่องของการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ เห็นด้วยครับในเรื่องของหลักการที่มีความแตกต่างกันด้านสาธารณสุขให้มาอยู่ในรูปแบบเดียวกัน สิทธิประโยชน์อาจจะมีต่างกันบ้างขึ้นอยุ่กับการบริหารจัดการ แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากฝากประชาชนคือถ้าไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ จะต้องได้รับการรักษาจากภาคเอกชนและรัฐอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เปรียบเทียบว่าอันนั้นดีกว่าอันนี้เยอะกว่า และก็ต้องดูในเรื่องของงบประมาณด้วย
นายสาทิตย์ ไม่มีระบบ30บาทแล้ว เป็นระบบรักษาฟรี มีความแตกต่างด้านระบบสุขภาพจริง 1.รักษาฟรี 2.ประกันสังคม 3.ข้าราชการ ไม่เห็นด้วยกับการรวมระบบทุกอย่างเข้าด้วยกัน วันนี้รักษาฟรี สปสช. ดูแลอยู่ ประกันสังคมก็มีส่วนของประกันสังคม ประเด็นคือถ้ารวม หมายถึงต้องรวมกองทุน ปกส. เข้ากับ สปสช. หรือไม่ ปกส.จะทำอย่างไร แต่ที่สำคัญคือการไปปรับการรักษามาตรฐานขั้นต่ำให้เท่ากัน เข้าใจว่า สปสช. นี่เยอะ ใครต่อใครก็พยายามทำอยู่ให้คนที่อยุ่ในระบบการรักษาดุแลอยุ่ในเกณฑ์ขั้นต่ำพอที่จะยอมรับได้ อันที่สองคือการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพในบุคคลทุกกลุ่ม ที่เราพูดถึงประกันสังคมในแรงงานนอกระบบ

.

การศึกษา พรรคของท่านมีนโยบายด้านปฏิรูปการศึกษาอย่างไร ทั้งในเรื่องการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก การกระจายอำนาจการจัดการให้ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคม รวมถึงสถาบันการศึกาพิเศษที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงแพงกว่าเรียนภาคปกติ จะแก้ไขดำเนินการอย่างไร
นายวัชระ มองนดยบายการศึกษาเป็เรื่องที่สำคัญอย่างมาก ขณะเดียวกันก็มีการประเมินว่าถ้าจัดงบไม่เกินที่ใช้ไป ผลลัพท์ที่ได้ออกมามากเพียงพอรึยัง เมื่อเทียบกับตัวชี้วัดต่างๆเทียบกับหลายประเทศ ถือว่าเราลงทุนสูงมากเมื่อเทียบกับคุณภาพที่มันออกมา สิ่งที่พรรคตั้งเป็นกรอบเอาไว้คือต้องเร่งในระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษาทั้งหลายทั้งปวงแต่ไม่ได้หมายความว่าจะลดเม็ดเงิน แต่อัดเม็ดเงินลงไปด้วยซ้ำ ถ้ามีโอกาสเราจะดูที่เม็ดเงินที่อัดลงไปให้คุ้มค่าคุ้มคุณภาพของการศึกษาของตัวนักเรียน ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
นายแพทย์วรรณรัตน์ แบ่งเป็น3ส่วน 1.โครงสร้างพื้นฐาน โรงเรียน วัสดุอุปกรณ์ความพร้อมต่างๆ 2.เนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอน 3.ครู ฉะนั้นเราบอกว่านักเรียนไทยนั้นมีไอคิวต่ำเทียบกับเพื่อนบ้าน เพราะระบบการศึกษานั้นไม่มีประสิทธิภาพพอ ยิ่งเรื่องของครูที่มาสอนนั้นคุณภาพไม่ดีพอเด็กก็จะมีการประเมินผลที่ต่ำ เราต้องพัฒนนาโครงสร้างพื้นฐานให้พอเพียง สื่อการเรียนการสอนต้องพอเพียง พัฒนาหลักสูตรให้ก้าวนำทันโลก ส่งเสริมการสอนแม่ครูให้มาสอนครูอีกทีเพื่อที่จะไปสอนนักเรียนอีกที
นายสาทิตย์ เป็นเรื่องหลักของพรรค ปชป. ในตอนนี้พูดถึงเรื่องของการปฏิรูปการศึกษา มีอยู่ 3-4 ประเด็น ในแง่ตัวผู้เรียน เรื่องของโอกาสเป็นเรื่องสำคัญ การให้กูยืมเรียนดอกเบี้ยต่ำ อันที่สองเป็นเรื่องคุณภาพ จะเป็นเรื่องผู้สอนสวัสดิการต้องถึงแน่นอน แต่ในการปรับเรื่องคุณภาพหลักสูตร คงเป็นเรื่องใหญ่แต่ทุกคนต้องเข้ามาช่วยเรื่องการระดมทรัพยากรด้านการศึกษา ในเรื่องนี้มีกม.อยู่2ฉบับที่ผ่านมา ในแง่ของงบประมาณที่มาจากการจัดสรรคลื่นความถี่และเรื่องระดมทรัพยากรการศึกษาที่ต้องลดภาษีให้แก่เขา อันที่2เรื่องของโรงเรียนเล็กและการกระจายอำนาจยังคงต้องเดินต่อ โรงเรียนที่มีการถ่ายโอนไปยังท้องถิ่น หลายโรงเรียนทำได้ดีมาก อันที่3เรื่องการสอนพิเศษถือว่าเป็นทางเลือก อาจมีมาตรฐานที่ต้องแบ่งควบคุม ที่ผ่านมาก็มีความพยายามเข้าไปควบคุม เพราะมีหลายโรงเรียนที่สอนไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ต้องเข้าไปดูแลและควบคุมเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย มองภาพรวมเป็นเรื่องของโอกาส เมื่อมีโอกาสแล้ว คุณภาพก็ต้องดี ผู้สอนก็ต้องดีด้วย
นายปลอดประสพ มี3-4ประเด็น ประเด็นแรกคือเรื่องปริมาณ พรรคพยามให้คนไทยมีการศึกษามากที่สุดทั่วถึง ประเด็นที่2เรื่องคุณภาพ จบแล้วได้ใบประกาศอย่างเดียวไม่เพียงพอ ให้ความสำคัญกับโรงเรียนอาชีวะศึกษา ข้อ3ทางด้านเกษตรกร ให้มหาวิทยาลัยไปส่งเสริมการเกษตรแล้วนำปัญหามาทำการวิจัย โดยจะให้เงินแก่หมาวิทยาลัยที่ทำได้ ระบบการศึกษานอกโรงเรียน ให้มั่นใจว่า 24 ชั่วโมงมีประโยชน์ เรื่องแท็บเบล็ตพีซีนักเรียน ไวไฟฟรีสาธารณะก็ดี และสุดท้ายจะห้องเรียนรู้พิเศษในพื้นที่ทั่วไปแล้วจ้งครูพิเศษมา นักเรียนคนใด ไม่ต้องไปเรียนอีกต่อไป มาเรียนในโรงเรียนกวดวิชาโดยรัฐบาลจัดให้

 

แท็ก คำค้นหา