นักวิชาชีพและนักวิชาการ ร่วมกันสะท้อนถึงวิธีการ CHANGE วิทยุและโทรทัศน์

087 (1)

 

ในเวทีเสวนา CHAGE วิทยุและโทรทัศน์ไทย สัญจรพื้นที่จังหวัดภาคใต้
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเสวนา “นักวิชาการพบนักวิชาชีพ CHANGE วิทยุและโทรทัศน์ไทย” เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิ.ย.53 ณ มหาวิทยาลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช โดยตัวแทนนักวิชาการและนักวิชาชีพจากส่วนกลาง คือ รศ.ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ นายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, คุณสุริยนต์ จองลีพันธ์ บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด, คุณสนิมพร ฉิมเฉลิม ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ คุณธนานุช สงวนศักดิ์  บรรณาธิการสารคดีเชิงข่าว เนชั่น แชแนล

พร้อมด้วยตัวแทนอาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ คือ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มรฎ.นครศรีธรรมราช และเจ้าภาพร่วมจัดงาน สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำหรับประเด็นในการเสวนาครั้งนี้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงคุณสมบัติที่ดีของนักนิเทศศาสตร์ทั้งด้านวิชาการและความต้องการของผู้ประกอบการด้านวิชาชีพสื่อ, กระบวนการเตรียมของหลักสูตรด้านนิเทศศาสตร์และตัวนักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่ภาควิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์, วิธีการในการทำข่าวเชิงลึก เนื้อหาของข่าว การคิดเชิงวิพากษ์ ยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักนิเทศศาสตร์, โดยนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เปิดเวทีเสวนาว่า วัตถุประสงค์ของการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้เพราะว่าวิชาการก่อให้เกิดวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ขณะเดียวกันก็ยังมีสื่อใหม่ๆ ซึ่งเรียกกันว่า โซเซียล มีเดีย เกิดขึ้นอย่างมากมาย ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านสื่อวิทยุและโทรทัศน์จะต้องเรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
นักวิชาชีพร่วมกันสะท้อนถึงภาพรวมของวิทยุและโทรทัศน์ว่า “คุณสมบัติของนักนิเทศศาสตร์ที่ดี คือ จะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ อยู่ในตัวคนๆ เดียวกัน 1.มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระสำคัญของข่าวที่ต้องการนำเสนอ 2.ศิลปะ คือ ศิลปะในการนำเสนอ ต้องเขียนข่าวเป็น ต้องตัดต่อได้ และต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการนำเสนอได้”
นอกจากนี้ตัวแทนนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ ได้สะท้อนถึงข้อจำกัดและปัญหาของการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้สิ่งที่นักศึกษายังขาดอย่างมากคือ พื้นฐานทางความคิดเพราะนักศึกษาสมัยนี้อ่านและค้นคว้าหาข้อมูลกันน้อยลง ทำให้ขาดความลุ่มลึกและขาดความคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญของนักนิเทศศาสตร์
รายละเอียดในการแสดงความคิดเห็นในเวทีเสวนาทั้งหมดสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์นี้

แท็ก คำค้นหา