‘ขอแสดงความยินดี​กับผู้ได้รับรางวัลสายฟ้าน้อย#15 ทุกคนทุกมหาวิทยาลัย​’​

79774071_1800649713405950_4230964659722649600_o

‘ขอแสดงความยินดี​กับผู้ได้รับรางวัลสายฟ้าน้อย#15 ทุกคนทุกมหาวิทยาลัย​’​
ผลการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ สายฟ้าน้อยครั้งที่ 15/2562 โดยรวมคุณภาพผลงานปีนี้ดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา มรภ.สงขลา ดีเด่นประเภทวิถีชุมชน-ม.สารคาม ดีเด่นประเภทข่าวทั่วไป ทั้งสองสถาบันผลงานสูสีดีและเด่นคนละด้าน รับรางวัลดีเด่นและชมเชยไปครองสถาบันละ 3 รางวัล ด้าน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ดีเด่นด้านอัตลักษณ์วัฒนธรรม ส่วน ม.รังสิต ชมเชยด้าน สวล. 2 รางวัล ส่วนผลการตัดสินรางวัลวิทยุกระจายเสียง มช. / มรภ.สงขลา และ มรภ.สวนสุนันทา รับรางวัลชมเชย

วันนี้ (21 ธ.ค.2562) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยมี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เจ้าภาพร่วมในการจัดงานประกาศผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อร่วมส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการผลิตข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทวิทยุกระจายและสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ และเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ อันจะเป็นช่องทางในการพัฒนาทักษะเตรียมความพร้อมเข้าสู่วิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน

ในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 54 เรื่อง แบ่งเป็นประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ จำนวน 39 เรื่อง ใน 4 ประเภทรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ดังนี้
สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ประเภทข่าวทั่วไปดีเด่น จำนวน 14 เรื่อง จาก 7 สถาบันการศึกษา- ผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทข่าวทั่วไปดีเด่น คือ เรื่อง “ปัญญาคาเฟ่ – มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา” / เรื่อง “สารปรอทออนไลน์ (Mercury Net) –มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา” / เรื่อง “อ้อยเข้าปากช้าง-มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทสิ่งแวดล้อมดีเด่น จำนวน 10 เรื่อง จาก 6 สถาบันการศึกษา – ผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทสิ่งแวดล้อมดีเด่น คือ เรื่อง “นากสัตว์ที่ (ไม่) น่ารัก – มหาวิทยาลัยรังสิต” / เรื่อง “พลาสติกสู่อิฐสร้างบ้าน-มหาวิทยาลัยรังสิต” / เรื่อง “นกเงือก-มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา”

สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทวิถีชุมชนดีเด่น จำนวน 9 เรื่อง จาก 5 สถาบันการศึกษา – ผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทวิถีชุมชนดีเด่น คือ เรื่อง “วิสาหกิจชุมชนอ่านปากบารา – มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” / เรื่อง “ทางรอดคนริมโขง – มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” / เรื่อง “บทเรียนนวัตวิถี- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”

สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรม จำนวน 6 เรื่อง จาก 4 สถาบันการศึกษา -ผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรมดีเด่น คือ เรื่อง “คนทรงศิลป์-มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” / เรื่อง “Shadow play disruption – มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” / เรื่อง “โพนหนึ่งเดียวในไทย อัตลักษณ์จังหวัดพัทลุง – มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา”

ประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง มีผลงานส่งเข้าประกวด 15 เรื่อง คณะกรรมการตัดสินรางวัลประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง ได้พิจารณาคัดเลือกผลงานเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1.Food Rider – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2.จับตาท้าแบนพาราควอต –มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3.เจาะกระบวนการ ‘ธุรกิจรับบริจาค’ การกุศลแฝงผลกำไร – มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 4.การกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์ (Cyber Bully) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 5.ภัยเงียบยุค 4.0 การเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอมือถือ – มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

ผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2562 ผลงานทีได้รับรางวัลในแต่ละประเภทมีดังนี้
รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทข่าวทั่วไปดีเด่น ได้แก่เรื่อง “อ้อยเข้าปากช้าง” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 20,000 บาท สำหรับรางวัลชมเชยคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลมีความเป็นว่า ยังไม่มีผลงานเรื่องใดได้มาตรฐานและมีคุณค่าพอที่จะได้รับรางวัลชมเชย

รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทสิ่งแวดล้อมดีเด่น คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลมีความเป็นว่า ยังไม่มีผลงานเรื่องใดได้มาตรฐานและมีคุณค่าดีพอที่จะได้รับรางวัลดีเด่นในประเภทนี้ แต่มีผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชย 3 เรื่อง คือ 1.เรื่อง “นากสัตว์ที่ (ไม่) น่ารัก – มหาวิทยาลัยรังสิต” / 2. เรื่อง “พลาสติกสู่อิฐสร้างบ้าน-มหาวิทยาลัยรังสิต” / 3. เรื่อง “นกเงือก-มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา” ทั้ง 3 เรื่อง ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท
รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทวิถีชุมชนดีเด่น ได้แก่ เรื่อง “วิสาหกิจชุมชนอ่านปากบารา – มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 20,000 บาท และมีผลงานที่รับรางวัลชมเชย 2 เรื่อง คือ “เรื่อง “ทางรอดคนริมโขง – มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” และ เรื่อง “บทเรียนนวัตวิถี- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ทั้ง 2 เรื่อง ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท

รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรมดีเด่น ได้แก่เรื่อง “คนทรงศิลป์-มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 20,000 บาท ผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชยคือ “โพนหนึ่งเดียวในไทย อัตลักษณ์จังหวัดพัทลุง – มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล10,000 บาท

รางวัลสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง ไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น คณะกรรมการพิจารณาแล้วผลงานดีสุดจากการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจึงมอบรางวัลชมเชยให้กับผลงาน 3 เรื่อง ดังนี้ เรื่อง Food Rider – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / เจาะกระบวนการ ‘ธุรกิจรับบริจาค’ การกุศลแฝงผลกำไร – มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ เรื่องภัยเงียบยุค 4.0 การเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอมือถือ – มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ทั้ง 3 เรื่อง ได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท

สำหรับคณะกรรมการตัดสินรางวัลประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง คือ 1.อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน/ 2.นายศักดา จิวัธยากูล บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น / 3.อาจารย์กรรณิการ์ โต๊ะมีนา หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์/ 4.นายเดชา รินทพล ผู้จัดการ สถานีวิทยุครอบครัวข่าว FM 106 Mhz.และ 5.นางสาววัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น หัวหน้ากองข่าวต่างประเทศ ฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย

คณะกรรมการตัดสินประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ คือ 1.นายพิภพ พานิชภักดิ์ รองผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส / 2.ดร.ปรัชญา เปี่ยมการุณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / 3. ผศ.ดร.จารุวัส หนูทอง อาจารย์ประจำสาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / 4.นายประสาน อิงคนันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บุญมีฤทธิ์ มีเดีย จำกัด / 5.นางสาวสนมพร ฉิมเฉลิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อ/ 6.นายจักรพันธุ์ กมุทโยธิน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อ /7.นายสุรชา บุญเปี่ยม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อ / 8.นางสาวธนานุช สงวนศักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ/ 9.นางสาวฉัตรรัศม์ ปิยทัศน์สิริ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อ และ 10. นายพุทธิฉัตร จินดาวงศ์ หัวหน้าผู้สื่อข่าว สถานีโทรทัศน์ PPTV

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดให้มีการประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2548 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีคุณภาพของนักศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่วิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์และสื่อสารมวลชน อีกทั้งยังประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนโครงการฯ สำหรับการพิจารณาตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยสมาคมฯ ได้สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินรางวัลไว้ดังนี้ ด้านคุณภาพ(Quality) คุณค่า(Value) ผลงาน(Performance) และจรรยาบรรณ/จริยธรรม(Code of Ethics) และในปีนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประกาศผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2562
———————————————————–

 

แท็ก คำค้นหา