“News you don’t believe”: Audience perspectives on fake news“

fake news002

“News you don’t believe”: Audience perspectives on fake news“  ข่าวที่คุณไม่น่าเชื่อ”: ทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวง

Fake News หรือ “ข่าวลวง” ในประเทศไทย กำลังเป็นประเด็นร้อนถกเถียง วิพากษ์ เรียกร้อง ให้มีการกระทำบางอย่างในด้านกฎหมายและการแซงซั่นทางสังคม ตามสถานการณ์ในบริบทสังคมไทย
ในขณะที่สื่อในประเทศไทย ผู้รับสารจากสื่อในประเทศไทย และ ผู้รับสาร-ส่งสารในโซเซียลมีเดีย กำลังถกเถียง เรียกร้อง ฟาดฟันหาจำเลย หาผู้รับผิดชอบต่อการเกิดขึ้นและแพร่กระจาย “Fake News” อยู่นั้น
เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา RISJ ( Reuters Institute for the Study of Journalism) โดย สถาบัน Reuters สำหรับการศึกษาวารสารศาสตร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการวิจัยทั่วโลกที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  ได้เผยแพร่งานวิจัยออกมาชิ้นหนึ่งชื่อว่า “News you don’t believe”: Audience perspectives on fake news”

* https://reutersinstitute.politics.ox.ac.uk/our-research/news-you-dont-believe-audience-perspectives-fake-news*

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ถอดความผลงานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเป็นภาษาไทย เพื่อเป็นงานวิชาการในการเรียนรู้ร่วมกันของสื่อมวลชน นักวิชาการ นักศึกษา และสังคมทุกภาคส่วน *การถอดความงานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเผยแพร่เพื่อสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่เพื่อการค้าใดๆ ทั้งสิ้น*

ผลจากการวิจัยและเก็บข้อมูลระบุว่า จากทัศนคติของผู้รับสาร เมื่อนิยามอย่างแคบ ข่าวลวงเป็นข่าวที่ถูกกุขึ้นในการรายงานข่าว แต่หากนิยามอย่างกว้างอาจหมายถึงความไม่พอใจในขอบเขตของข้อมูล (information landscape) ซึ่งรวมถึงสำนักข่าว นักการเมือง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตแฟลตฟอร์ม หากกล่าวโดยทั่วไป การแก้ปัญหาข่าวลวงเป็นเรื่องสำคัญแต่นั่นมิได้มองถึงปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ การที่ผู้คนรู้สึกว่าข้อมูลที่ตนพบเจอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโลกออนไลน์ มีทั้งการรายงานข่าวที่ไม่ดี การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง การโฆษณาในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม และคอนเทนต์ที่ได้รับการสนับสนุน

ปัญหา “ข่าวลวง” กลายเป็นวาระระดับโลก แต่สื่อมักจะให้นิยามโดยแคบว่า ข่าวลวง คือ การรายงานข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายทางการเมือง  หรือบางครั้งข่าวลวงก็เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ที่มีรัฐบาลคอยหนุนหลังอยู่ ขณะที่ประชาชนก็มีสิทธิใช้ข่าวลวงเพื่อปกปิดนัยยะของการรายงานข่าว เหตุผลในการเลือกข้าง และปกปิดคำพูดอันผิดเพี้ยนของนักการเมือง ข่าวลือเหล่านี้ถูกแพร่กระจายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) และแฟลตฟอร์มอื่น ๆ  และมักถูกเน้นย้ำด้วยสื่อมวลชนอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวลวงจะยิ่งทวีกำลังมากขึ้นหากนักวิจารณ์จากสถาบันสื่อมวลชนร่วมกันโจมตีหรือกัดกร่อนทำลายความน่าเชื่อถือของการรายงานข่าวของสื่อวิชาชีพ

พื้นฐานการถกเถียงเกี่ยวกับข่าวลวงในโลกปัจจุบัน คือวิกฤติศรัทธาระหว่างองค์กรสื่อและสถาบันอื่น ๆ รวมถึงนักการเมืองและสาธารณชนในหลายประเทศ และการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย จากยุคศตวรรษที่ 20 ที่โลกถูกยึดครองด้วยการกระจายเสียงและสื่อสิ่งพิมพ์ เข้าสู่การขยายตัวของสื่อดิจิตอลเคลื่อนที่และโซเชียลมีเดีย แม้ผู้ผลิตข่าวสารจะยังสำคัญเท่ากันกับเหล่าโปรดิวเซอร์ แต่ก็ถูกเบี่ยงบทบาทแกนกลางในฐานะผู้ส่งต่อและผู้เฝ้าประตูให้ลดลง ขณะที่ผู้รับสารมีตัวเลือกมากขึ้นแต่ก็ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากบริษัทแฟลตฟอร์มจำนวนเท่าหยิบมือใช้พลังอำนาจสื่อสร้างรูปแบบการบริโภคข่าวสารของประชาชนผ่านระบบการค้นหา(search) สื่อสังคมออนไลน์(social media) และโปรแกรมสนทนาด้วยข้อความ ในสภาพเช่นนี้ จึงเป็นการง่ายที่จะผลิตข้อมูลหลากหลายลักษณะ ซึ่งรวมถึงข้อมูลลวงและข้อมูลที่ถูกสร้าง

โดยคณะผู้วิจัย Dr. Rasmus Kleis Nielsen, DIRECTOR OF RESEARCH และ Dr. Lucas Graves, SENIOR RESEARCH FELLOW นำข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม 8 กลุ่มและการสำรวจกลุ่มผู้อ่านข่าวออนไลน์มาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวง ซึ่งเก็บข้อมูลช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 และกลุ่มตัวอย่างทั้งในการสนทนากลุ่มและการสำรวจมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน และฟินแลนด์ ผลการวิจัยพบว่า:

– กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความแตกต่างระหว่างข่าวปลอมและข่าวจริงอย่างพร่าเลือน และไม่รู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน

– เมื่อถูกขอให้ยกตัวอย่างข่าวลวง กลุ่มตัวอย่างกลับระบุถึงการเขียนข่าวที่แย่ การโฆษณาชวนเชื่อ (รวมถึงการโกหกของนักการเมืองและข้อความเลือกข้างชัดเจน) และโฆษณาบางชนิดมากกว่าพูดถึงข้อมูลปลอมที่ถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอเหมือนเป็นข่าวทั่วไป

– ข่าวลวงกลายเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดการรวมมือกันระหว่าง 3 องค์ประกอบคือ องค์กรสื่อที่เผยแพร่ข่าวลวง นักการเมืองบางคนที่สร้างข่าวลวงขึ้นมา และแฟลตฟอร์มบางแห่งที่ยินดีเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นออกไป

– กลุ่มตัวอย่างระมัดระวังตัวในการถกเถียงเรื่องราวเกี่ยวกับข่าวลวงและมองว่ามันเป็นวลียอดนิยมที่นักการเมืองและกลุ่มบุคคลอื่นหยิบมาใช้เพื่อวิจารณ์องค์กรสื่อและบริษัทผลิตแฟลตฟอร์ม

– การถกเถียงเรื่องข่าวลวงเป็นตัวการที่ทำให้ความเชื่อถือที่มีต่อองค์กรสื่อ นักการเมือง และแฟลตฟอร์มต่ำลง ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความสงสัยต่อตัวบุคคลที่กุมข้อมูลข่าวสารร่วมสมัย

– กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสำนักข่าวอิสระเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือและจะกลับไปเช็คข้อมูลเมื่อต้องการ แต่ก็ไม่เห็นด้วยว่าการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข่าวแหล่งเดียวหรือสองสามแหล่งจะน่าเชื่อถือพอสำหรับทุกเรื่อง ในทัศนคติและมุมมองของสื่อ ผู้รับสาร ผู้ผลิตสาร และ แฟลตฟอร์ม

“News you don’t believe”: Audience perspectives on fake news

fake news

In this RISJ Factsheet by Rasmus Kleis Nielsen and Lucas Graves, we analyse data from 8 focus groups and a survey of online news users to understand audience perspectives on fake news. On the basis of focus group discussions and survey data from the first half of 2017 from the United States, the United Kingdom, Spain, and Finland, we find that:

  • People see the difference between fake news and news as one of degree rather than a clear distinction;
  • When asked to provide examples of fake news, people identify poor journalism, propaganda (including both lying politicians and hyperpartisan content), and some kinds of advertising more frequently than false information designed to masquerade as news reports;
  • Fake news is experienced as a problem driven by a combination of some news media who publish it, some politicians who contribute to it, and some platforms that help distribute it;
  • People are aware of the fake news discussion and see “fake news” in part as a politicized buzzword used by politicians and others to criticize news media and platform companies;
  • The fake news discussion plays out against a backdrop of low trust in news media, politicians, and platforms alike—a generalized scepticism toward most of the actors that dominate the contemporary information environment;
  • Most people identify individual news media that they consider consistently reliable sources and would turn to for verified information, but they disagree as to which and very few sources are seen as reliable by all.

Our findings suggest that, from an audience perspective, fake news is only in part about fabricated news reports narrowly defined, and much more about a wider discontent with the information landscape – including news media and politicians as well as platform companies. Tackling false news narrowly speaking is important, but it will not address the broader issue that people feel much of the information they come across, especially online, consists of poor journalism, political propaganda, or misleading forms of advertising and sponsored content.

————————————————————————————

“News you don’t believe”: Audience perspectives on fake news“

ข่าวที่คุณไม่น่าเชื่อ”: ทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวง

*รามุส คลีส นิลสัน และ ลูคัส กราเวส ( About the authors Rasmus Kleis Nielsen is Director of Research at the Reuters Institute for the Study of Journalism and Professor of Political Communication at the University of Oxford , Lucas Graves is Senior Research Fellow at the Reuters Institute for the Study of Journalism at the University of Oxford)*

ผลการวิจัยที่สำคัญ

ในเอกสารบรรยายสรุปของ RISJ ชิ้นนี้ ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม 8 กลุ่มและการสำรวจกลุ่มผู้อ่านข่าวออนไลน์มาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวง ซึ่งเก็บข้อมูลช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 และกลุ่มตัวอย่างทั้งในการสนทนากลุ่มและการสำรวจมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน และฟินแลนด์ ผลการวิจัยเราพบว่า:

  • กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความแตกต่างระหว่างข่าวปลอมและข่าวจริงอย่างพร่าเลือน และไม่รู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน
  • เมื่อถูกขอให้ยกตัวอย่างข่าวลวง กลุ่มตัวอย่างกลับระบุถึงการเขียนข่าวที่แย่ การโฆษณาชวนเชื่อ (รวมถึงการโกหกของนักการเมืองและข้อความเลือกข้างชัดเจน) และโฆษณาบางชนิดมากกว่าพูดถึงข้อมูลปลอมที่ถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอเหมือนเป็นข่าวทั่วไป
  • ข่าวลวงกลายเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดการรวมมือกันระหว่าง 3 องค์ประกอบคือ องค์กรสื่อที่เผยแพร่ข่าวลวง นักการเมืองบางคนที่สร้างข่าวลวงขึ้นมา และแฟลตฟอร์มบางแห่งที่ยินดีเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นออกไป
  • กลุ่มตัวอย่างระมัดระวังตัวในการถกเถียงเรื่องราวเกี่ยวกับข่าวลวงและมองว่ามันเป็นวลียอดนิยมที่นักการเมืองและกลุ่มบุคคลอื่นหยิบมาใช้เพื่อวิจารณ์องค์กรสื่อและบริษัทผลิตแฟลตฟอร์ม
  • การถกเถียงเรื่องข่าวลวงเป็นตัวการที่ทำให้ความเชื่อถือที่มีต่อองค์กรสื่อ นักการเมือง และแฟลตฟอร์มต่ำลง ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความสงสัยต่อตัวบุคคลที่กุมข้อมูลข่าวสารร่วมสมัย
  • กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสำนักข่าวอิสระเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือและจะกลับไปเช็คข้อมูลเมื่อต้องการ แต่ก็ไม่เห็นด้วยว่าการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข่าวแหล่งเดียวหรือสองสามแหล่งจะน่าเชื่อถือพอสำหรับทุกเรื่อง

ผลจากการวิจัยและเก็บข้อมูลระบุว่า จากทัศนคติของผู้รับสาร เมื่อนิยามอย่างแคบ ข่าวลวงเป็นข่าวที่ถูกกุขึ้นในการรายงานข่าว แต่หากนิยามอย่างกว้างอาจหมายถึงความไม่พอใจในขอบเขตของข้อมูล (information landscape) ซึ่งรวมถึงสำนักข่าว นักการเมือง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตแฟลตฟอร์ม หากกล่าวโดยทั่วไป การแก้ปัญหาข่าวลวงเป็นเรื่องสำคัญแต่นั่นมิได้มองถึงปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ การที่ผู้คนรู้สึกว่าข้อมูลที่ตนพบเจอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโลกออนไลน์ มีทั้งการรายงานข่าวที่ไม่ดี การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง การโฆษณาในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม และคอนเทนต์ที่ได้รับการสนับสนุน

ภาพรวมโดยทั่วไป

การไหลของข้อมูลผิด ๆ ระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ราวปี 2016 ทำให้ปัญหา “ข่าวลวง” กลายเป็นวาระระดับโลก แต่สื่อมักจะให้นิยามโดยแคบว่า ข่าวลวง คือ การรายงานข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายทางการเมือง(Wardle 2017)

แต่ในทางปฏิบัติข่าวลวงมีความหมายมากกว่าด้านผลประโยชน์ ข่าวลวงที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์แก่การโฆษณา ของชาวมาซิโดเนียนที่ไม่ได้โด่งดังในปัจจุบัน (เช่น กรณีซับบราเมเนียน 2017 – Subramanian 2017) หรือบางครั้งข่าวลวงก็เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ที่มีรัฐบาลคอยหนุนหลังอยู่ ขณะที่ประชาชนก็มีสิทธิใช้ข่าวลวงเพื่อปกปิดนัยยะของการรายงานข่าว เหตุผลในการเลือกข้าง และปกปิดคำพูดอันผิดเพี้ยนของนักการเมือง ข่าวลือเหล่านี้ถูกแพร่กระจายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) และแฟลตฟอร์มอื่น ๆ  และมักถูกเน้นย้ำด้วยสื่อมวลชนอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวลวงจะยิ่งทวีกำลังมากขึ้นหากนักวิจารณ์จากสถาบันสื่อมวลชนร่วมกันโจมตีหรือกัดกร่อนทำลายความน่าเชื่อถือของการรายงานข่าวของสื่อวิชาชีพ

ข่าวลวงที่สาธารณชนถกเถียงกันส่วนใหญ่จบลงด้วยการถูกครอบงำหรือชี้นำจากนักข่าว บริษัทเทคโนโลยี ผู้กำหนดนโยบาย และประชาคมวิชาการ หรือเหล่านักคิดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนักวิชาการ (Wardle 2017, Marwick and Lewis 2017, Bouengru et al 2017, Howard et al 2017) เป้าหมายของงานวิจัย RISJ คือการเปิดเผยให้เห็นทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวงเพื่อยกระดับจากฐาน เนื่องจากการถกเถียงที่ผ่านมามักเป็นมุมมองจากผู้มีอำนาจสูงและไม่ค่อยวิเคราะห์ว่าบุคคลโดยทั่วไปมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาข่าวลวง

ผู้วิจัยวิเคราะห์ทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวงบนพื้นฐานของการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณซึ่งเป็นข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สเปน และฟินแลนด์ รวมถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่ม 8 กลุ่มและจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจผ่านผู้อ่านข่าวออนไลน์ หัวข้อที่นำมาถามในการสัมภาษณ์กลุ่มและการสำรวจเป็นหัวข้อที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ Digital News Report แต่ยังไม่เคยกล่าวถึง (Newman et al 2017, Vir and Hall 2017) ซึ่งยังมีคำถามเฉพาะบางข้อที่เน้นที่กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งหมายรวมถึงข่าวลวงและความเชื่อถือที่มีต่อสื่อมวลชนประเทศต่าง ๆ

การเปลี่ยนรูปแบบการให้ความสำคัญกับการถกเถียงเรื่องข่าวลวง

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสองอย่างนี้จะเผยให้เห็นพื้นฐานการถกเถียงเกี่ยวกับข่าวลวงในโลกปัจจุบัน

โครงสร้างแรกที่เปลี่ยนไปคือวิกฤติศรัทธาระหว่างองค์กรสื่อและสถาบันอื่น ๆ รวมถึงนักการเมืองและสาธารณชนในหลายประเทศ (Norris 2011, Ladd 2012, Nielsen 2016) วิกฤตินี้อาจมีรูปแบบต่างกัน หากแต่กระทบต่อคนจำนวนมากในหลายประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งในประเทศที่มีความเชื่อใจสูงอย่างฟินแลนด์ ซึ่งประชากรมีความสงสัยต่อข้อมูลที่พบในพื้นที่สาธารณะอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้ยินจากนักการเมือง เผยแพร่จากสำนักข่าว หรือเจอในโซเชียลมีเดียและการค้นหาออนไลน์ แน่นอนว่าอย่างเช่น สหรัฐอเมริกานั้น มีการลดลงของความเชื่อใจเกิดขึ้นก่อนจะมาเป็นยุครุ่งเรืองของสื่อดิจิตอล และนั่นน่าจะเป็นสาเหตุที่ผลักดันให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในวงการข่าวสารรวมทั้งเกิดแนวคิดทางการเมืองแบบสุดขั้วขึ้น เพราะผู้คนเริ่มมีพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกันและมีการโจมตีทางการเมืองผ่านสำนักข่าวบ่อยครั้งและถี่ขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นในส่วนที่สอง คือการที่การเปลี่ยนผ่านยุคสมัย จากยุคศตวรรษที่ 20 ที่โลกถูกยึดครองด้วยการกระจายเสียงและสื่อสิ่งพิมพ์เข้าสู่การขยายตัวของสื่อดิจิตอลเคลื่อนที่และโซเชียลมีเดีย แม้ผู้ผลิตข่าวสารจะยังสำคัญเท่ากันกับเหล่าโปรดิวเซอร์ แต่ก็ถูกเบี่ยงบทบาทแกนกลางในฐานะผู้ส่งต่อและผู้เฝ้าประตูให้ลดลง ขณะที่ผู้รับสารมีตัวเลือกมากขึ้นแต่ก็ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากบริษัทแฟลตฟอร์มจำนวนเท่าหยิบมือใช้พลังอำนาจสื่อสร้างรูปแบบการบริโภคข่าวสารของประชาชนผ่านระบบการค้นหา(search) สื่อสังคมออนไลน์(social media) และโปรแกรมสนทนาด้วยข้อความ(messaging application) (Bell et al 2017, Nielsen and Ganter 2017) ในสภาพเช่นนี้ จึงเป็นการง่ายที่จะผลิตข้อมูลหลากหลายลักษณะ ซึ่งรวมถึงข้อมูลลวงและข้อมูลที่ถูกสร้าง ขณะที่งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าแม้แต่ในสหรัฐฯ ก็มีคนจำนวนน้อยที่พยายามพิสูจน์ข่าวลวง (Guess, Reifler and Nyhan 2017) และข่าวลวงที่ถูกเปิดเผยนี้ คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณข่าวลวงที่ผู้คนได้รับทราบในแต่ละวัน (Allcott and Gentzkow 2017) และนั่นเป็นภาพร่างของการไหลเวียนข่าวผิดและพลาดในสภาพแวดล้อมของการสื่อสารที่เปลี่ยนไป

มุมมองของผู้รับสารที่มีต่อข่าวลวง

เพื่อให้เข้าใจมุมมองของผู้รับสารเกี่ยวกับข่าวลวงให้มากขึ้นในสภาวะความเปลี่ยนแปลงของสื่อมวลชน เราจึงนำปัญหาเหล่านี้มาสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม(Focus group)จำนวน 8 กลุ่มจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน และฟินแลนด์ ผู้วิจัยถามผู้เข้าร่วมให้นิยามคอนเซปต์ว่าอะไรคือ “ข่าวลวง” และมีความหมายอย่างไรต่อพวกเขา โดยพึงระวังว่าการทดลองเชิงคุณภาพนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาผลลัพธ์เชิงลึกและความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้นผลการวิจัยจึงสะท้อนถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมเฉพาะและไม่สามารถนำไปอนุมานถึงกลุ่มประชากรทั้งหมดได้ ซึ่งเกิดความน่าสนใจว่า คำว่า “ข่าวลวง” ก่อให้เกิดการถกเถียงมากที่สุดในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกามากกว่า ในสเปนและฟินแลนด์ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีรูปแบบบางอย่างที่สามารถระบุว่าเหมือนกันได้อย่างชัดเจน

*กลุ่มโฟกัสกรุ๊ปมีจำนวน 6-8 คนต่อกลุ่มและใช้เวลาในการพูดคุยประมาณ 2 ชั่วโมงโดยทีมผู้วิจัยเน้นถามคำถามที่กำหนดมาแล้วอันเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้เข้าร่วม การทดลองภาคสนามในหลายประเทศจะแบ่งผู้ร่วมวิจัยที่บริโภคข่าวสารจากสำนักข่าวและแฟลตฟอร์มที่แตกต่างกันออกเป็นกลุ่มระหว่างกลุ่มอายุน้อย (20-34) และกลุ่มอายุมาก (35-54) การทดลองภาคสนามดำเนินงานโดย Kantar Media ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2017 ดูรายละเอียดตัวอย่างและระเบียบวิธีวิจัยฉบับเต็มได้ที่ Vir and Hall (2017)

แผนภาพที่ 1 มุมมองที่ผู้รับสารมีต่อข่าวลวง

“ข่าวลวง”

มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลอันผิดพลาดจากหลายแหล่งข่าว อาทิ จากนักข่าว ซึ่งมีความแตกต่างจากข่าวจริงเป็นระดับ และผู้รับสารยังมองว่ามันเป็นอาวุธของนักวิจารณ์ในสำนักข่าวและบริษัทผู้สร้างแฟลตฟอร์มต่างๆ

005

 

fake news002

ตามข้อมูลที่ได้รับจากการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยสามารถจำแนกรูปแบบของเนื้อหาที่ผู้คนกล่าวถึงเกี่ยวกับ “ข่าวลวง” ได้ ผู้เข้าร่วมหลายคนเชื่อว่าข่าวลวงเป็นเครื่องมือของนักวิจารณ์จากสำนักข่าวหรือบริษัทผู้สร้างแฟลตฟอร์ม ข่าวลวงยังแตกต่างอย่างชัดเจนจากการที่ข่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อเหน็บแนมและใส่ร้ายแต่ก็ยังมีอีกหลายความเห็นที่มองว่าข่าวลวงมีเนื้อหาที่หลากหลายและแปลกใหม่มากมาย เช่น การเขียนข่าวที่ผิดพลาด การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง โฆษณาบางรูปแบบ และเนื้อหาผิดหรือถูกสร้างขึ้นอย่างเห็นแก่ตัว รูปแบบของข่าวลวงในมุมมองอื่นเหล่านี้จะมีความแตกต่างเป็นระดับ กล่าวคือสำหรับผู้รับสารแล้วข่าวลวงและข่าวจริงนั้นไม่ได้แตกต่างกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่แตกต่างเป็นระดับ ประเภทข่าวลวงที่มีการพูดถึงบ่อยแสดงให้เห็นในแผนภาพที่ 1

 

ข้อแรก ผู้คนมองว่าความแตกต่างระหว่างข่าวจริงและข่าวลวงเป็นความแตกต่างแบบระดับ

สมาชิกการสนทนากลุ่ม ส่วนใหญ่เห็นว่า ข่าวลวงว่ามีรูปแบบและลักษณะที่หลากหลายและแตกต่างจากข่าวจริงอย่างเป็นระดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับนิยามของนักการศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มักคิดว่ามันเป็นเรื่องที่แอบแฝงมาในรูปแบบของการรายงานข่าวเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือทางการเมือง ความแตกต่างระหว่างข่าวลวงและข่าวจริงนั้นไม่ได้ต่างกันแบบดำกับขาว ลองสำรวจคำตอบจากหนึ่งในสมาชิกการสนทนากลุ่มจากลอนดอน

ผู้ดำเนินการสัมภาษณ์: คุณคิดว่า ‘ข่าวลวง’ มีความหมายอย่างไร

ช1: เรื่องที่ถูกสร้างขึ้น

ญ: คุณเชื่อสิ่งที่คุณได้ยิน เห็น หรืออ่านเหรอ? ฉันแน่ใจว่ามีบางอย่างที่แต่งขึ้น

ช2: มันเป็นความคิดเห็นที่หลากหลายต่ออีกฝ่าย (spectrum) หรือเปล่า?

ช3: มีข่าวลวงถูกรายงานมาตั้งนานแล้วไม่ใช่เหรอ?

คำว่า ความคิดเห็นที่หลากหลายต่ออีกฝ่าย (spectrum) และมุมมองที่ว่าข่าวลวงเป็นปัญหาล้าสมัยนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เข้าร่วมสนทนาหลายคนกล่าวถึง รวมทั้งในฟินแลนด์ ซึ่งคำนี้มีการถกเถียงค่อนข้างน้อย เมื่อถามเกี่ยวกับข่าวลวง หนึ่งในสมาชิกของการสนทนากลุ่มในเฮลซินกิระบุนิยามว่า “ข่าวที่ไม่ได้อยู่บนฐานของความจริงหรือเปล่า? มีการใส่สีตีไข่ และมีอคติ” และจากนั้นก็เสริมว่า “แต่ก็นะ จะมีสำนักข่าวไหนบ้างที่เป็นกลางอย่างแท้จริง ปัญหาจริง ๆ คือมันเอนเอียงทางไหนมากกว่า”

เมื่อถามถึงนิยามของข่าวลวง สมาชิกการสนทนากลุ่มให้นิยามหลากหลายเช่นเดียวกับที่พวกเขาคิดว่าผู้อื่น (เช่น คนทั่วไป สำนักข่าว และนักการเมือง) ให้คำนิยาม

“มันมีสองความหมาย โอเค ความหมายแรกคือข่าวที่มีจุดมุ่งหมายตรงข้ามกับข่าวจริงคือเพื่อการแจ้งให้ทราบ มันเป็นข่าวสารที่ไม่บอกความจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ อีกอันคือการใช้เรียกข่าวจริงที่มีความเห็นทางการเมืองไปในทางตรงกันข้ามกับมุมมองของผู้เรียก”

นิยามที่ง่ายที่สุดของข่าวลวงถูกนำเสนอโดยหญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกสนทนากลุ่มในนิวยอร์ค เธอเรียกสั้น ๆ ว่าเป็น “ข้อมูลผิด ๆ” แต่ในทางปฏิบัติ สมาชิกสนทนากลุ่มหลายคนระบุว่ามันยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูลกับข้อมูลผิด ๆ และนั้นทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาศักยภาพการวิเคราะห์ของตัวเองเพื่อพิจารณาข่าวสารที่ไหลเวียนมายังพวกเขา พวกเขาเข้าใจว่าข่าวสารนั้น หลายครั้งเกิดจากการตัดสินแบบอัตวิสัย หญิงอีกคนจากการสนทนากลุ่มในนิวยอร์คกล่าวว่าสำหรับเธอแล้ว  “ข่าวลวง” เป็น “ข่าวที่คุณไม่เชื่อว่าเป็นความจริง” เธอเล่าต่อ “ชายคนนี้มีเรื่องหนึ่ง อีกคนก็มีอีกเรื่อง คุณก็ต้องตัดสินใจว่าเรื่องไหนหลอกเรื่องไหนจริง” เช่นเดียวกับที่สมาชิกการสนทนากลุ่มในลอนดอนกล่าวเน้นย้ำ “คุณต้องตรวจสอบ”

ในการจัดการสนทนากลุ่ม สมาชิกมักระบุว่า “นัยยะแหล่งที่มา” (แบรนด์หรือยี่ห้อที่พวกเขาเชื่อถือ) และ “นัยยะทางสังคม” (บุคคลที่เราเชื่อถือ) เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อตรวจสอบความเท็จจริงของข่าว กล่าวคือพวกเขาพึ่งพาเพื่อน ครอบครัว สำนักข่าวที่เชื่อถือและการค้นหา (ออนไลน์) ของตัวเอง (ผลการค้นพบนี้สอดคล้องกับสิ่งที่นักวิจัยก่อนหน้า อย่าง Messing and Westwood 2014 และ Tandoc et al 2017 เคยค้นพบก่อนหน้านี้) ซึ่งวิธีนี้ก็อาจใช้ได้ผลแต่พวกเขาก็รายงานว่าบางครั้งก็ละเลยการเช็คหรือตรวจสอบข่าวเพราะมันไม่มีค่าพอให้เสียเวลาไปตรวจเช็คข้อมูลที่น่าสงสัย

ข้อสอง การเขียนข่าวแย่ ๆ การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง และโฆษณาบางแบบถือเป็นรูปแบบของข่าวลวงที่คนพูดถึงมากที่สุด

เมื่อถูกขอให้ยกตัวอย่างว่า อะไรที่พวกเขาคิดว่าเป็นข่าวลวง สมาชิกสนทนากลุ่มให้ตัวอย่างว่า คือการเขียนข่าวแย่ ๆ (หลายครั้งมาจากองค์กรสื่อที่ก่อตั้งมานานแล้ว) เพื่อโฆษณาชวนเชื่อตัวละครทางการเมืองที่พวกเขาไม่ไว้วางใจ (ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ) การโฆษณาหลายรูปแบบและคอนเทนต์ที่ได้รับการสปอนเซอร์บนออนไลน์และมีเนื้อหาผิด ๆ เพียงน้อยนิดที่พยายามทำตัวเลียนแบบความเป็นข่าว ขณะที่ข่าวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจขนาดใหญ่หรือมีหน่วยงานรัฐคอยหนุนหลังนั้นถูกนิยามว่าเป็นข่าวลวงอย่างมาก นอกจากนั้นสมาชิกยังเห็นว่าข่าวลวงเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่เกี่ยวพันกับนักข่าวและนักการเมือง

สมาชิกสนทนากลุ่มเชื่อมโยงการเขียนข่าวแย่ ๆ กับการเขียนเร้าอารมณ์และมีรูปแบบการรายงานไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะข่าวที่เกี่ยวกับคนดัง สุขภาพ และกีฬา “มีข่าวลวงเกี่ยวกับคนดังเยอะมาก อย่าง Jennifer Aniston มีสามีใหม่ คุณไปหาได้เลยว่ามีเว็บไซต์กว่า 20 แหล่งรายงานเรื่องนี้และสุดท้ายก็วนกลับมาว่ามันเป็นเรื่องหลอก” สมาชิกชาวอเมริกันกล่าว  ที่สมาชิกสนทนากลุ่มในสเปนกล่าวว่า “สำหรับข่าวสุขภาพหรือกีฬา ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันชอบ เรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องโกหก มันเป็นธรรมชาติของเรื่องในหมวดนี้ไปซะแล้ว”

ในขณะที่การโฆษณาชวนเชื่อแนบแน่นกับนักการเมือง ซึ่งถ้าไม่โกหกทั้งเพก็ปั้นน้ำเป็นตัว ประธานาธิบดีทรัมป์เองก็กุเรื่องขึ้นบ่อย ๆ ทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกา แม้แต่ในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ทรัมป์ก็พูดไว้เป็นพัน ๆ เรื่อง ยกตัวอย่างที่ทรัมป์พูดว่าตัวเองเป็นประธานาธิบดีซึ่งได้คะแนนเสียง Electoral Vote มากที่สุดในประวัติศาสตร์ จนผู้รายงานข่าวต้องแย้งว่าทรัมป์ได้คะแนน 304 คะแนนแต่   โอบามาได้ 365 ทว่าการโฆษณาชวนเชื่อไม่ได้มีเพียงกรณีเช่นนี้เท่านั้น แต่รวมถึงกรณีที่สื่อมวลชนเข้าไปยุ่มย่ามกับการเมืองด้วย ผู้คนมองพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการเล่นพรรคเล่นพวกโดยวิธีการเสนอความจริงเรื่องหนึ่งหรืองดเว้นการเสนอความจริงเรื่องหนึ่ง ในสเปน ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มคนหนึ่งกล่าวว่า “(สื่อมวลชน)เอาเรื่องไม่จริงไปยัดใส่ปากผู้คน  สื่อพวกนั้นประดิษฐ์ความจริงขึ้นเอง ความจริงชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นด้วยซ้ำ… สื่อบางสำนักก็พอจะน่าเชื่อถือได้อยู่ แต่ส่วนใหญ่มีแต่ข่าวลวงทั้งนั้น นั่นแหละคือเหตุผลที่ฉันปฏิเสธสื่อมวลชน”

ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มหลายคนยังพบโฆษณาน่าสงสัยอีกด้วย เช่น พวกที่เป็นโฆษณา pop-up พวกโฆษณาแฝงจากสปอนเซอร์ หรือพวกโฆษณาที่เกลื่อนอยู่บนอินเตอร์เน็ตอย่างที่เจอบ่อยใน Outbrain หรือ Turboola  ซึ่งพวกเขามองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอีกรูปแบบของข่าวลวงเช่นกัน

ญ1: คุณได้รับข่าวลวงไร้สาระแบบโฆษณา pop-up พวกนั้น ก็เพราะว่าไม่ต้องจ่ายเงิน ดังนั้นเค้าก็ต้องหาเงินเอาจากการขายโฆษณานั่นแหละ

ผู้ดำเนินงาน: สำหรับคุณแล้วข่าวลวงตรงนี้หมายความว่ายังไงบ้าง

ญ2: ก็เหมือนเวลาคุณเลื่อนหน้าจอลงล่างไปเรื่อยๆแล้วเจอข้อความว่า “ดูสิ 12 ดาราเด็กเมื่อตอนนั้น เดี๋ยวนี้กลายเป็นอย่างนี้ไปแล้วนะ” แล้วพอเราเลื่อนไปดูก็มีแต่ภาพไร้สาระทั้งนั้น

สุดท้าย ข่าวลวงก็มีความเกี่ยวข้องกับข่าวผิดด้วยเหมือนกัน นิยามให้ชัดเจนก็คือการกระจายข่าวออกไปโดยหวังผลประโยชน์บางประการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างข้อมูลเท็จ ตามที่ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งอธิบายไว้ว่า “ข่าวพวกนี้มีไว้ให้คุณใช้วางโฆษณา คุณจะเต้าเรื่องอะไรใส่ลงไปก็ได้หรือจะเอาโฆษณาชวนเชื่อมาเผยแพร่ก็ได้” (แน่นอนว่า ปัญหาประการหนึ่งคือข่าวเท็จที่ทำให้คนหลงเชื่อสำเร็จย่อมทำให้คนทั่วไปยากจะรู้ได้ว่ามันเป็นเท็จ)

          ตรงข้ามกับการสื่อสารมวลชนที่ผิดพลาด การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาแอบแฝงบางรูปแบบ และข่าวยกเมฆ ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจำนวนมากกลับไม่เห็นว่าการกระทำบางอย่าง เช่น การเสียดสี ถากถาง แม้ว่าจะเป็นการพูดเรื่องไม่จริงเหมือนกัน แต่กลับไม่ถือว่าเป็นข่าวลวง โดยผู้เข้าร่วมคนหนึ่งอธิบายว่า “มันมีทั้งพวกที่เป็นข่าวลวงและก็พวกที่เป็นข่าวเสียดสีนะ ทางเทคนิคอาจพูดได้ว่ามันก็เป็นข่าวลวงเหมือนกัน แต่แบบนี้มันตลกดีสุดๆ”

ข้อสาม ผู้คนมองว่าทั้งผู้เผยแพร่ สื่อ และนักการเมืองต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับข่าวลวงทั้งสิ้น แต่ยังเห็นว่าสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือน่าจะให้ความถูกต้องได้บ้าง

ข่าวลวงเป็นคำที่อยู่คู่กับวงการนักสื่อสารมวลชน องค์กรสื่อ และนักการเมืองมายาวนาน ทั้งนี้ทั้งนั้น คำว่าข่าวลวงนี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเข้าถึงโลกออนไลน์ของผู้คน ข้อมูลเรื่องนี้ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งในการสนทนากลุ่ม อย่างกรณีที่นิวยอร์กผู้เข้าร่วมคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันเจอเรื่องพวกนี้บ่อย ๆ มีคนเอามาเล่าแล้วเราก็คิดในใจเรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นจริงเหรอ? แล้วเราก็อยากจะรู้ว่ามันจริงไหม ข่าวปลอมแบบนี้มีเยอะมาก” ผู้เข้าร่วมอีกคนหนึ่งเพิ่มเติมว่า “บนอินเตอร์เน็ตไม่มีการตรวจสอบ ใครก็อาจจะโพสท์อะไรก็ได้ ส่วนหนังสือพิมพ์ถ้าจัดพิมพ์กันออกมาได้ก็ควรมีส่วนของความจริงมากกว่า” ผู้เข้าร่วมน้อยคนที่กล่าวโทษแพลทฟอร์ม การที่ข้อมูลเท็จยังแพร่กระจายอยู่ถูกผูกโยงเข้ากับผลิตภัณฑ์และการให้บริการบนแพลทฟอร์ม โดยเฉพาะพฤติกรรมการแชร์ข่าวบนโซเชียลมีเดีย มีผู้เข้าร่วมหญิงคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันคิดว่าคงเหมือนกับเฟสบุ๊คของฉันน่ะแหละ คนแชร์ข่าวเข้ามามากขึ้นทุกวัน และดูเหมือนจะเป็นข่าวลวงมากกว่าเมื่อก่อนด้วย มันไม่เหมือนก่อน”

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้คนมีมุมมองหลากหลายในด้านความเกี่ยวข้องของสำนักข่าวกับการแพร่กระจายของข่าวลวง ส่วนใหญ่จะมองข้อมูลจากสื่อซึ่งอยู่คนละขั้วกับความเชื่อทางการเมืองของตนในด้านลบ ขณะเดียวกันเมื่อต้องการข้อมูลที่เชื่อถือได้ก็มักหันเข้าหาสำนักข่าวซึ่งมีความน่าเชื่อถือ ผู้เข้าร่วมในลอนดอนผู้หนึ่งกล่าวว่า “สำนักข่าว Times เจอมูลค่ากำแพงที่ต้องข้าม และที่เป็นอย่างนั้นเพราะเขาต้องควักเนื้อจ่ายค่าตรวจสอบข้อมูลอย่างมาก มันเลยไม่มีข่าวผิด ๆ อยู่ในนั้นเลย ข่าวที่กระพืออยู่ข้างนอกนั่นน่ะข่าวเถื่อน ข่าวลวง” ในอเมริกา คนส่วนใหญ่อ้างถึง CNN กับ New York Times และอังกฤษอ้างถึง BBC ส่วนสเปนคือ El Pais และในฟินแลนด์อ้าง Helsingin  Sanomat  แต่ผลสำรวจบ่งบอกชัดเจนว่าไม่มีสำนักข่าวใดเลยที่กล่าวมาจะได้รับความไว้วางใจร่วมกันจากทั้งหมด ผู้เข้าร่วมสนทนามีความขัดแย้งกันในเรื่องนี้อย่างชัดเจน สำนักข่าวที่คนหนึ่งเชื่อถืออาจเป็นสำนักข่าวที่ลำเอียงที่สุดในสายตาของอีกคนหนึ่ง อย่างเช่นผู้เข้าร่วมบางคนในอเมริกามองว่า New York Times ลำเอียง และ Fox News เป็นกลางกว่า

ข้อสี่ ผู้คนตื่นตัวต่อข้อถกเถียงว่าด้วยข่าวลวง และมองคำว่า “ข่าวลวง” เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างศัพท์แสงทางการเมือง

ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ส่วนใหญ่โดยเฉพาะในอเมริกาและอังกฤษตื่นตัวต่อเรื่องข่าวลวงและมีมุมมองที่หลากหลายในประเด็นนี้ ชัดเจนว่าความตื่นตัวนี้เกิดจากประสบการณ์ส่วนบุคคล กล่าวคือเกิดจากการที่ได้รับฟังการถกเถียงสาธารณะในเรื่องนี้ ทั้งที่ปรากฏอยู่บนสื่อออนไลน์และจากการที่นักการเมืองใช้คำนี้กล่าวโจมตีสื่อต่าง ๆ ดังที่ผู้เข้าร่วมในนิวยอร์คคนหนึ่งกล่าวถึงกรณีที่ทรัมป์ใช้คำว่าข่าวลวงบนทวิตเตอร์บ่อย ๆ ว่า “ข่าวลวงกลายเป็นศัพท์แสงที่คนนิยมใช้ขว้างใส่คนอื่นไปทั่ว อย่างตอนที่พูดว่า โอ้ ข่าวลวงจาก CNN หรือบางทีก็ใช้คำว่า ‘ความจริงทางเลือก’” การที่ผู้มีบทบาททางการเมืองโจมตีสื่อด้วยคำว่าข่าวลวงเป็นการสร้างความตึงเครียดในหลายภาคส่วนก็จริง และผู้คนก็เริ่มตระหนักว่าคำนี้กลายเป็นอาวุธพลานุภาพสูงยิ่งกว่าเดิมแค่ไหน

การถกเถียงเรื่องบริบทที่น่าเชื่อถือน้อยลงของข่าวลวง

ทั้งข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและจากการสำรวจย้ำให้เราเห็นว่าการถกเถียงเรื่องข่าวลวงเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อถือที่ตกต่ำลงของสถาบันเอกชนและรัฐบาล นี่เป็นเหตุหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงเพื่อวิจารณ์บริษัทผู้สร้างแฟลตฟอร์ม ผู้พิมพ์ผู้เผยแพร่ หรือนักการเมืองผู้ทรงอำนาจที่โกหก ตัวอย่างเช่น ลองดูแผนภาพของประเทศทั้งสี่ที่ผู้วิจัยนำเสนอ ผู้รับสารออนไลน์จำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรคิดว่าสามารถเชื่อถือข่าวส่วนใหญ่ได้ ขณะที่ในสเปนและฟินแลนด์หลายคนยังมีความเชื่อถือต่อข่าวสารที่จำกัด โดยทั่วไปแล้ว เราจะเห็นว่ากลุ่มตัวอย่างใน 3 ประเทศไม่ค่อยเชื่อถือข่าวแม้แต่ข่าวที่ตัวเองเสพ

แผนภาพ 2 – ความเชื่อถือในข่าวทั่วไปเปรียบเทียบกับข่าวที่ตัวเองเลือก

007

ข้อมูลจาก Newman et al (2017) อ้างอิงตาม Q6_2016_1 กรุณาระบุระดับความเห็นด้วยต่อข้อความต่อไปนี้: ฉันคิดว่าฉันสามารถเชื่อใจข่าวได้เป็นส่วนใหญ่ ฉันคิดว่าฉันสามารถเชื่อถือข่าวที่ตัวเองเลือกได้เป็นส่วนใหญ่

เมื่อเปรียบเทียบกับทัศนคติของผู้รับสารต่อสำนักข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ก็แสดงให้เห็นลักษณะความเชื่อถือแบบเดียวกัน เมื่อถามว่าสำนักข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข่าวจริงกับข่าวลวงได้ดีขึ้นหรือไม่ หลายคนกล่าวว่ามีความเชื่อถือในสองสื่อที่จำกัดเช่นกัน (Newman et al 2017) ที่น่าสนใจคือความเชื่อถือในสำนักข่าวและความเชื่อถือที่มีต่อโซเชียลมีเดียดูจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ตรงกันข้าม จุดนี้เราอาจกล่าวได้ว่าทัศนคติลักษณะนี้เป็น “ความเคลือบแคลงที่เป็นสากล” (Fietcher and Nielsen 2017)

ทัศนะจะชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อมูลจากการสนทนากลุ่มที่ผู้เข้าร่วมจากหลายประเทศแสดงความเคลือบแคลงของตนที่มีต่อสำนักข่าวและแฟลตฟอร์ม ในสหรัฐ ผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งกล่าวว่า “ฉันค่อนข้างชอบอ่านเรื่องราวในเฟซบุ๊ค แต่ถ้ามันดูเหมือนจะไม่มีคุณค่าข่าวเลย ฉันก็จะไม่เปิดมันขึ้นมาดู” ทั้งข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและการสำรวจแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้คนจะต่อต้านอย่างรุนแรงเมื่อมาถึงเรื่องเนื้อหาคอนเทนต์ที่เจอบนสื่อสังคมออนไลน์และแฟลตฟอร์มอื่น ๆ เช่นเดียวกับผู้เข้าร่วมอีกท่านที่ระบุถึงความเชื่อถือที่มีต่อข่าวที่แย่ลง “ฉันคิดว่ามันเปลี่ยนไปมาก ฉันเคยเชื่อข่าวสารมากกว่านี้ ฉันคิดว่ามันถูกแต่ทุกวันนี้…” เมื่อถามที่กลุ่มสนทนาฟินแลนด์ว่าข่าวลวงส่งผลต่อทัศนะของผู้คนโดยรวมได้อย่างไร ผู้เข้าร่วมกล่าวว่า “มันกัดกร่อนความรู้สึกดีในการเสพที่มีต่อข่าวอื่น หากเราไม่สามารถแยกมันออกได้อย่างชัดเจน” และอีกคนก็เสริมว่า “ทุกคนเริ่มสงสัยทุกข่าวแล้ว”

บริษัทผู้สร้างแฟลตฟอร์ม ผู้พิมพ์ผู้เผยแพร่ และนักการเมืองก็ตกอยู่บนเก้าอี้เดียวกัน “เป็นเรื่องของชื่อเสียงไม่ใช่เหรอ? มันใช้เวลานานมากเพื่อสร้างแต่ใช้เวลาไม่กี่วินาทีเพื่อทำลาย”

บทสรุป

การถกเถียงเกี่ยวกับข่าวลวงนั้นเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นหลังเหตุการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 และทำให้การถกเถียงเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดข่าวลวง เช่น แฟลตฟอร์ม นักการเมือง และสำนักข่าวในหลายๆ ประเทศทั่วโลก บางคนเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่จะเลิกใช้คำว่า “ข่าวลวง” เพราะมันไม่ชัดเจนเอาเสียเลยและถูกใช้โดยนักการเมืองและคนอื่น ๆ เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม สำนักข่าวและบริษัทผู้ผลิตแฟลตฟอร์ม (Sullivan 2017) งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าสิ่งนั้นคงไม่เกิดขึ้นง่ายๆ เนื่องจาก “ข่าวลวง” มักถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเป็นความจริงที่คนทั่วไปทราบดี มันกลายเป็น คำฮิตติดปากการพูดในชีวิตประจำวันที่ช่วยผู้คนระบายความอัดอั้นที่มีต่อสภาพข่าวสารปัจจุบัน เพราะข่าวลวงหลายข่าวได้สะท้อนประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวบนสื่อออนไลน์ เนื่องจากเป็นข่าวที่ถูกนักวิจารณ์หยิบยกมาพูดถึงทั้งบนสำนักข่าวและบนสื่อออนไลน์ด้วยกันเอง

เมื่อพูดถึงข่าวลวง RISJ Factsheet ชิ้นนี้เสนอหลักฐานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้แบ่งแยกข่าวจริงกับข่าวลวงอย่างชัดเจน และไม่เหมือนอย่างที่นักข่าว บริษัทเทคโนโลยี และผู้วางนโยบายคิดกัน คุณจะคิดถึงข่าวลวงอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้นิยามคำว่า “ข่าวจริง” ไว้กว้างขวางแค่ไหน (หรือเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องอื่นแบบอัตวิสัย) มีลักษณะบางอย่างที่ผู้เข้าร่วมเห็นว่าข่าวที่ดีน่าจะมีร่วมกัน และคอนเทนต์ที่แย่ก็คือคอนเทนต์ที่ถูกออกแบบมาให้บิดเบือนข้อมูลแต่ก็ไม่มีการระบุว่าไม่ดีคือแค่ไหนและไม่ระบุตัวผู้สร้าง

ข่าวลวงสำหรับหลายคนหมายถึง ข่าวที่เราไม่เชื่อถือและนั่นรวมถึงข่าวที่มาจากสำนักข่าวคำพูดของนักการเมืองที่โกหก บิดเบือน และเกินจริง

 มุมมองจากคนธรรมดาต่อข่าวลวงนั้น ขาดหายไปจากการถกเถียงในวงการวิชาการ นักข่าว ผู้บริหารสื่อสารมวลชน และนักวางนโยบาย การค้นพบคำตอบของนี้จึงชี้ให้เห็นว่าจากมุมมองของผู้รับสาร ข่าวลวงเป็นแค่ปัญหาส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาอีกส่วนคือความไม่พอใจเกี่ยวกับแหล่งข่าวสาธารณะต่าง ๆ เช่น สำนักข่าว นักการเมือง และบริษัทผู้สร้างแฟลตฟอร์ม มันชัดเจนแล้วทั้งสำหรับผู้เสพข่าวทั่วไป นักข่าว นักการเมือง และนักวิจัย โลกนี้ไม่สามารถแบ่งความจริงและความลวงออกได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (Graves 2016)

ปรากฏการณ์นี้ตอกย้ำความสำคัญของความยากลำบากหาวิธีแก้ไขอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาข่าวลวง การพัฒนากลไกอย่างการแบน(ban) การปักธง(flag) การลบ(delete) การรายงานข่าวลวงและข่าวบิดเบือนมุ่งร้ายจากบรรยากาศการสื่อสารอาจเป็นก้าวย่างที่จำเป็น แต่กลไกนี้ก็อาจทำให้คนบางกลุ่มพอใจและคนบางกลุ่มไม่พอใจอย่างมาก หลายคนมีสำนักข่าวในดวงใจที่พวกเขาเชื่อถือและมีกลยุทธ์เพื่อติดตามสภาพของข้อมูลข่าวสารร่วมสมัย แต่ในบริบทที่ผู้คนมีความเชื่อถือโดยทั่วไปต่ำลงและมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งน่าเชื่อถือน้อยลง จากมุมมองของผู้รับสาร ปัญหาของข่าวลวงคือมันไม่ได้จำกัดแค่ข่าวผิด มันยังรวมถึงการเขียนข่าวแย่ การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง และรูปแบบโฆษณาที่ชวนให้เข้าใจผิด และคอนเทนต์จากสปอนเซอร์ หากพวกเรานักข่าว บริษัทผู้สร้างแฟลตฟอร์ม และสำนักข่าวหวังสร้างความเปลี่ยนแปลงเราก็ต้องกล้าเผชิญหน้ากับความจริงที่ว่าทุกคนเห็นว่าข่าวลวงเป็นปัญหาใหญ่และกำลังโทษพวกเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ การจะพัฒนาได้คือการสร้างหรือรื้อสร้าง ความมั่นใจต่อสถาบันที่หลายคนสูญเสียไปแล้วให้กลับคืนมา

—————————————————————

อ้างอิง –References

llcott, Hunt, and Matthew Gentzkow. 2017. “Social Media and Fake News in the 2016 Election.” WorkingPaper 23089. National Bureau of Economic Research.

Bell, Emily J., Taylor Owen, Peter D. Brown, Codi Hauka, and Nushin Rashidian. 2017. “The Platform Press: How Silicon Valley Reengineered Journalism.” Tow Center, Columbia Journalism School.

Bounegru, Liliana, Jonathan Gray, Tommaso Venturini, and Michele Mauri. 2017. “A Field Guide to Fake News.”Public Data Lab, https://fakenews.publicdatalab.org/.

Fletcher, Richard, and Rasmus Kleis Nielsen. 2017. “Navigating News on Social Media: A Four-Country Mixed-Methods Analysis.” Paper presented at APSA Annual Meeting.

Graves, Lucas. 2016. Deciding What’s True: The Rise of Political Fact-Checking in American Journalism. New York: Columbia University Press.

Guess, Andrew, Brendan Nyhan, and Jason Reifler. 2017. “Fact-Checking and Fake News in Election 2016.” Paper presented at APSA Annual Meeting.

Howard, Philip N., Bence Kollanyi, Samantha Bradshaw, and Lisa-Maria Neudert. 2017. “Social  Media, News and Political Information during the US Election: Was Polarizing Content Concentrated in Swing States?” Oxford: Project on Computational Propaganda.

Ladd, Jonathan M. 2012. Why Americans Hate the Media and How It Matters. Princeton: Princeton University Press.

Marwick, Alice E., and Rebecca Lewis. 2017. “Media Manipulation and Disinformation Online.” New York: Data and Society.

Messing, Solomon, and Sean J. Westwood. 2014. “Selective Exposure in the Age of Social Media: Endorsements Trump Partisan Source Affiliation When Selecting News Online.” Communication Research 41 (8): 1042–63.

Newman, Nic, Richard Fletcher, Antonis Kalogeropoulos, David A. L Levy, and Rasmus Kleis Nielsen. 2017. “Reuters Institute Digital News Report 2017.” Oxford: Reuters Institute for the Study of Journalism.

Nielsen, Rasmus Kleis, and Sarah Anne Ganter. 2017. “Dealing with Digital Intermediaries: A Case Study of the Relations between Publishers and Platforms.” New Media & Society, April, DOI: 10.1177/1461444817701318.

Nielsen, Rasmus Kleis. 2016. “The Many Crises of  Western Journalism: A Comparative Analysis of Economic Crises, Professional Crises, and Crises of Confidence.” In The Crisis of Journalism Reconsidered: Democratic Culture, Professional Codes, Digital Future, edited by Jeffrey C. Alexander, Elizabeth Butler Breese, and María Luengo, 77–97. Cambridge ; New York: Cambridge University Press.

Norris, Pippa. 2011. Democratic Deficit: Critical Citizens Revisited. Cambridge: Cambridge University Press.

Subramanian, Samanth. 2017. “Inside the Macedonian Fake-News Complex.” Wired. https://www.wired. com/2017/02/veles-macedonia-fake-news/.

Sullivan, Margaret. 2017. “It’s Time to Retire the Tainted Term ‘Fake News.’” Washington Post. https:// www.washingtonpost.com/lifestyle/style/its-timeto-retire-the-tainted-term-fake-news/2017/01/06/ a5a7516c-d375-11e6-945a-76f69a399dd5_story.html.

Tandoc, Edson C, Richard Ling, Oscar Westlund, Andrew Duffy, Debbie Goh, and Lim Zheng Wei. 2017. “Audiences’ Acts of Authentication in the Age of Fake News: A Conceptual Framework.” New Media & Society, September, 1461444817731756.

Vir, Jason, and Kathryn Hall. 2017. “Attitudes to Paying for Online News.” Oxford: Reuters Institute for theStudy of Journalism (with Kantar Media).

Wardle,Claire.2017. “Fake News. It’s Complicated.” First Draft News. https://firstdraftnews.com:443/fakenews-complicated/.

About the authors

Rasmus Kleis Nielsen is Director of Research at the Reuters Institute for the Study of Journalism and Professor of Political Communication at the University of Oxford

Lucas Graves is Senior Research Fellow at the Reuters Institute for the Study of Journalism at the University of Oxford

แท็ก คำค้นหา