เสวนาติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูปสื่อให้ยั่งยืน

ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อจัดงานเสวนาสาธารณะติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูป สื่อให้ยั่งยืน “สมเกียรติ” ชี้ สื่อวิทยุโทรทัศน์มีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมาก

 

วันนี้ ที่ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “ติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูปสื่อให้ยั่งยืน” ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยการปฏิรูปสื่อ สนับสนุนโดย สำนักงาน กสทช. โดยมี ผศ.ดร.ดวงกมล ชาติประเสริฐ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงาน จากนั้นจะเป็นการเสวนา โดยมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และวิทยากรบรรยาย ก่อนตอบคำถามผู้เข้าร่วมเสวนา

 

“สมเกียรติ”ชี้สื่อวิทยุโทรทัศน์หลากหลายขึ้น

ดร.สม เกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานเสวนาสาธารณะ “ติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูปสื่อให้ยั่งยืน” ว่า แนวโน้มสื่อวิทยุโทรทัศน์ในอนาคตมีความหลากหลายมากขึ้น มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนทำให้วงการผู้ให้บริการสื่อวิทยุโทรทัศน์ เกิดการแข่งขันสูง จากการมีทีวีดิตอลเกิดขึ้นหลายช่อง แต่เมื่อวัดค่าความนิยมแล้ว ช่อง 7 และช่อง 3 ยังคงได้รับความนิยมไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก รวมถึงการพัฒนาให้มีการเชื่อมต่อด้วยระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย

 

ทั้งนี้ ประกอบกับ กสทช. ในอนาคตนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อมีการเปลี่ยนมือจะต้องมีความรวดเร็วมากขึ้น และการถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อในการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ควรเขียนให้ตึงเกินไป เพราะสื่อมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา

 

สมเกียรติมองน.ส.พ.ได้รับผลกระทบสูง

ดร.สม เกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงการปฏิรูปสื่อ ว่า ปัจจุบันนี้สื่อก้าวหน้ามาก และการเกิดคลื่นทีวีแบบใหม่ ที่เรียกว่า HD ที่สามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงต้องมีการศึกษาควบคู่กับการกำกับดูแล ทั้งนี้ ดร.สมเกียรติ ยังกล่าวว่า ทีวีภาคพื้นดินจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิตอล และในส่วนของผู้รับสารก็จะใช้ smart device ซึ่งจะมีการรับชมและมีเรตติ้งที่แย่งกันอย่างมาก อีกทั้งการรับชมในฟรีทีวีลดลงและช่องใหม่กลับได้รับความนิยมมากขึ้น

 

พร้อมกล่าวว่า ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน ทั้งไทยรัฐและเดลินิวส์ ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
คณบดีวิทยาการสื่อสาร มอ. ชี้ปฏิรูปสื่อ ต้องทำทั้งระบบ

ดร.วลักษณ์ กมล จ่างกมล คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวในการเสวนาสาธารณะ “ติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูปสื่อให้ยั่งยืน” ว่า สิ่งสำคัญของการปฏิรูปสื่อ คือ ต้องมองตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งเริ่มจากหลักสูตรของวิชาชีพสื่อมวลชน รวมถึงต้องดูเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพในการทำงานด้วย พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีสถานศึกษาบางแห่งที่มุ่งเน้นทักษะการประกอบการสื่อ ที่ไม่ใช่การเป็นเพียงลูกจ้างในองค์กรสื่อเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีและมีการพัฒนามากขึ้น

 

ทั้งนี้ ดร.วลักษณ์กมล ยังกล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบันนี้ นักข่าวต้องทำงานมากกว่าหนึ่งสื่อ ซึ่งผู้ประกอบการ ต้องการให้ได้บุคลากรที่มีความสามารถหลากหลาย ทั้งเขียนข่าว อ่านข่าว ลงเสียงได้ แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในเรื่องนี้จึงต้องมีการหาทางออกร่วมกัน

 

ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ.2558

แท็ก คำค้นหา