“ชำแหละสื่อเพื่อการปฏิรูป” คุณภาพของคนทำสื่อคือหัวใจสำคัญ

11

ในขณะเดียวกันเจ้าของหรือผู้ประกอบการคนทำสื่อคือต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ที่ผ่านมาสื่อนึกถึงตัวเองมากกว่าผู้บริโภคสื่อ สื่อต้องทำมากกว่าจริยธรรมให้เกิดคุณค่าทางสังคม

(26 ก.ย. 58 ) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเวทีเสวนา “ชำแหละสื่อเพื่อการปฏิรูป” เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 15 และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2558 สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยมีวิทยากร ดังนี้ เทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย / ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์ / วสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตสมาชิก สปช. ด้านสื่อสารมวลชน และอดีตรองประธานกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สปช. / ผศ. ดร.พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สุเมธ สมคะเน ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ดำเนินการเสวนาโดย อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ พิธีกรรายการโทรทัศน์และนักสื่อสารมวลชนอิสระ

เทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า กระบวนการชำแหละสื่อจบสิ้นไปนานแล้ว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งสื่อชำแหละกันเอง คนอื่นมาชำแหละ แต่สิ่งที่ท้าทายคือสิ่งที่ต้องชำแหละคืออะไรจากนี้ไปสื่อต้องทำอย่างไรถึงจะเดินหน้าไปได้ คิดว่าสื่อต้องทำอย่างไรถึงต้องเดินหน้าไปได้ เป็นทั้งกระบวนการของระบบใหญ่ การแก้หรือตัดทิ้งต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย เวลาพูดถึงเรื่องปฏิรูปสื่อเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากคนในสื่อ เช่น คนในสังคม นักวิชาการ แต่ไม่ค่อยเห็นสื่อที่คิดอยากจะปฏิรูป แล้วสื่อจะปฏิรูปตัวองยังไงแบบที่คนในสังคมอยากเห็น เมื่อเร็วๆ นี้การปฏิรูปก็ไม่ได้มาจากสื่อแต่มาจาก สปช. พอประเด็นกลับมาสู่คนในวงการปฏิรูปสื่อ ต้องยอมรับว่าคนในสื่อไม่ค่อยเห็นการปฏิรูปตัวเองจริงๆ ในแนวทางปฏิรูปชัดเจนอยู่แล้วคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ไม่ได้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติเท่านั้นเอง เพียงแต่ปัจจุบันนี้มีกระแสในการปฏิรูป โซเชียลมีเดียกดดัน

“ผมคิดว่าปรากฏการณ์นี้ถ้าเรามองอีกด้านหนึ่งมันน่ากลัวมาก หมายความว่าสื่อถูกหลอกใช้ได้ ใครก็ตามที่รู้ว่าสื่อทำงานยังไง รู้ว่าสื่อทำงานยังไง มันจะน่ากลัว ในเมื่อสื่อรายงานเหมือนกันคนจะไม่เชื่อได้ยังไง ผมว่านี่เป็นประเด็นหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสื่อมีช่องโหว่เยอะมาก สื่อต้องมองตัวเองและถามตัวเองว่าจะทำยังไงให้อยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม ของแนวทางที่ถูกต้องจริงๆ แต่มันมีประเด็นที่ถูกถามเยอะมากแต่มีการวิพากษ์วิจารณ์ ผมพยายามเสนอหลายครั้งแล้วว่าเราไม่ต้องรอให้คณะกรรมการปฏิรูปด้านสื่อมาเสนอว่าต้องทำยังไง สื่อควรจะคิดเองริเริ่มเองในการที่จะมีกลไกลด้านจริยธรรมริเริ่มเองได้ มีกลไกลในการตรวจสอบภายใน มีบทลงโทษให้ตัวเอง และกลไกลปฏิรูปสื่อทั้งหลายก็จะมีคนข้างนอกมารวมอยู่ด้วย ผมคิดว่าคนในสังคมจะมองสื่ออีกความรู้สึกว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ทุกวันนี้กลไกลไม่เกิดขึ้นเลยแต่มีคนพยายามบอกว่าสื่อต้องทำแบบนี้ และมีอำนาจบังคับทางกฎหมายด้วย ถึงจุดหนึ่งสื่อต้องยอมรับว่าจากนี้ไปการละเมิดจริยธรรมเป็นความผิดที่ถูกลงโทษทางกฎหมาย ในอดีตที่ผ่านมาสื่อไม่เคยถูกปฏิบัติแบบนี้มาก่อน” นายเทพชัย กล่าว

ดร. เอื้อจิต วิโรจน์รัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์ สื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัด คือ สื่อหนังสือพิมพ์บางรายเข้าไปเป็นผู้ประกอบการ สิ่งที่ผ่านมาคนกำหนดคือภาคและผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้นตอนนี้เหมือเราปฏิรูปโดยรูปธรรมคือการเข้าสู่ดิจิตอล และมีผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่ใช่ผู้ได้รับสัมปทาน สื่อจะให้ทำอะไรตอนนี้ที่เคาะตลอดคือเครื่องคิดเลข เพราะว่าต้องประครองตัวให้อยู่ให้ได้ ชำแหละเบื้องต้นตอนนี้คือให้อยู่รอด ส่วนสื่อวิทยุการปฏิรูปยังไปไม่ถึงและใช้ระบบของเพราะแผนแม่บทที่ให้ผู้ประกอบการรายเดิมอยู่ได้อีก 5 ปี คืออีก 2 ปี ภายใต้สื่อวิทยุระบุถ้าจะชำแหละจริงๆภาครัฐก็ยังถือครองเป็นหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและธุรกิจก็ยังพึ่งบารมีกันอยู่สื่อหนังสือพิมพ์โดนกระทบจากเทคโนโลยีเต็มๆ สื่อหนังสือพิมพ์เองก็ต้องปรับตัว เช่นลงมาเป็นผู้ถือใบอนุญาต หรือมาทำออนไลน์ เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญคือภาครัฐเป็นคนกำหนดให้ต้องเจออะไรเยอะแยะ แต่วิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่ของสื่อคือความนิยม ความน่าเชื่อถือ และความรับผิดชอบแต่สื่อเคยเรียกร้องแต่ไม่มีแนวร่วม หรือคำว่าสิทธิเสรีภาพสื่อ และสิทธิผู้รับสื่อยังเป็นนวัตกรรมในสังคมไทยที่มักจะตอกกลับคือสิทธิเสรีภาพมีไว้พูด

ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาสื่อนึกถึงตัวเองมากกว่าผู้บริโภคสื่อ สื่อต้องทำมากกว่าในแง่ของจริยธรรม ให้เกิดคุณค่าทางสังคม สิ่งที่สื่อต้องทำคือทำยังไงให้ยกระดับความรู้ ความเข้าใจของประชาชนในเรื่องต่างๆของสังคมได้ และทุกวันนี้ค่อนข้างลำบากเพราะมีกฎหมาย 2 ฉบับ ยังไงก็ไม่เห็นด้วยที่ตั้งองค์กรที่มีการบังคับสื่อมาจากด้านบน เชื่อว่าต้องเริ่มจากข้างใน สิ่งที่สำคัญทุกคนต้องคิดได้ว่าไม่ต้องมีกฎหมายอะไรเลย การปฏิรูปสื่อมาจากสำนึกของคนทำสื่อสำคัญที่สุด ไม่เห็นด้วยกับอะไรทั้งสิ้นที่จะมาบังคับการทำงานของสื่อ

วสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตสมาชิก สปช.ด้านสื่อมวลชน และอดีตรองประธานกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สปช. “วันนี้การแข่งขันสื่อสูงมาก แต่สื่อไม่ใช่ธุรกิจทั่วๆไป และสื่อไม่ควรมีเฉพาะธุรกิจ สื่อควรมีหลายประเภททั้งสื่อสาธารณะ สื่อประเภทอื่นๆ ดังนั้นเวลาเราพูดถึงเรื่องนี้ต้องแยก และหวังว่าสื่อไม่นึกถึงเฉพาะกำไรส่วนตัวโดยอยู่บนความเดือดร้อนของสังคมตรงนี้สำคัญมาก มองว่าการที่มีสื่อมากขึ้นไม่ได้ถูกทำให้หลากหลายขึ้น เนื้อหาก็เป็นแบบเดียวกัน คิดว่าตรงนี้มีความจำเป็นต้องปฏิรูปสื่อควรมีบทบาทนี้ สื่อมีมากขึ้น คนเข้ามาก็มากขึ้น ประเด็นที่ต้องถามคือวันนี้ดีพอไหม ผมคิดว่าคุณภาพของคนทำสื่อสำคัญ เพราะเราเป็นคนเลือกข่าว ถ้าเราไม่รู้และไม่รับผิดชอบสังคมก็จะเต็มไปด้วยข่าวเท็จ มี่ได้ใช้วิจารณญาณ ไม่ได้คิดวิเคราะห์ หรือถูกมอมเมาที่เรียกว่าเรื่องน้ำเน่า ตรงนี้ผมคิดว่าคุณภาพของคนทำสื่อสำคัญ ในขณะเดียวกันเจ้าของหรือผู้ประกอบคนทำสื่อคือต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม”

สุเมธ สมคะเน ประธานสภาแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย มองว่าเป็นภาวะฟองสบู่ โตเร็วมากกว่าที่ภาคแรงงาน เพราะอยู่ดีๆ เราโดดมา 24 ช่อง ทุกช่องต่างก็หาจุดขายให้ช่อง เพราะอย่างแกรมมี่ อาร์เอส เขามีคอนเท้นท์เป็นละครเขาไม่เดือดร้อนในการดึงการตลาด แต่ช่องที่เกิดใหม่เป็นช่องข่าว แต่บุคลากรเติบโตไม่ทัน ตลาดแรงงานเลยเป็นฟองสบู่ ธุรกิจใหม่ก็ไม่ดึงคนที่มีประสบการณ์เข้าไป แต่ประสบการณ์โตไม่ทันในเรื่องทักษะ และไม่มีเวลาที่จะครอบคลุมสร้างคนใหม่ในการแข่งขัน แต่ภาพที่ออกไปคือสื่อไม่รับผิดชอบสื่อมีวุฒิภาวะไม่พอ มันเติบโตแต่ยอด แต่เรื่องตลาดแรงงาน สวัสดิการต่างๆ มันไม่คุ้มทุน “ถ้ามองในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงจะปฏิรูปอย่างไร ? ต้องเริ่มจากองค์กรต้นสังกัดก่อน ว่ารับมาจะมีภูมิคุ้มกันแค่ไหน เรื่องสวัสดิการ เพื่อใช้ชีวิตในสังคมได้โดยไม่ต้องรับซองขาว แต่ดูในภาพรวมภูมิคุ้มกันไม่มี เราปฏิรูปแต่โครงสร้างการเติบโตของโครงสร้างสื่อ เทคโนโลยี แต่เราลืมพื้นฐานที่จะทำให้นักข่าวอยู่ได้ ตรงนี้เราหลงลืมไป ตรงนี้มันจะเป็นการปฏิรูปหรือจะสร้างบาดแผลให้เพิ่มขึ้น”

 

แท็ก คำค้นหา