สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยร่วมกับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้าพบ กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนฯ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึก

2tbjanbct tbjanbct

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยร่วมกับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้าพบ กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนฯ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกขอให้ประสานไปยัง กสทช. ให้ระงับการพิจารณาและประกาศบังคับใช้ (ร่าง) เรื่องมาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาตออกไปก่อนและรอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดำเนินการการปฏิรูปประเทศให้เกิดความชัดเจน  รวมไปถึงการปฏิรูปสื่อจะแล้วเสร็จ พร้อมกันนี้ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ยื่นหนังสือ เรื่อง   เสนอแนวทางการปฏิรูปสื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีข้อเสนอ 3 ข้อหลัก

516x313-images-TBJA_images-Media-tbjanbct002

(28 พ.ย.57) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เข้าพบ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อยื่นหนังสือถึง  ประธาน รองประธาน และคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทุกท่าน เพื่อขอให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประสานกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระงับการพิจารณา และประกาศบังคับใช้ (ร่าง) เรื่องมาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เกี่ยวข้อง กับกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ออกไปก่อนและรอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดำเนินการการปฏิรูปประเทศให้เกิดความชัดเจน  รวมไปถึงการปฏิรูปสื่อ เมื่อถึงเวลานั้น กสทช. ค่อยนำร่างประกาศฉบับดังกล่าวฯ มาพิจารณาว่าจะดำเนินการว่าจะประกาศใช้หรือไม่

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้าใจถึงความปรารถนาดี ของ กสทช. ในเรื่องมาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แต่เนื่องจาก สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเห็นว่า ร่างประกาศดังกล่าวอาจจะละเมิดต่อรัฐธรรมนูญการปกครองชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ และอาจจะขัดแย้งกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช. และเพื่อให้สอดคล้องต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๕๗
เนื่องจาก ในร่างประกาศดังกล่าว ยังมีเนื้อหาหลายส่วนที่ยังไม่มีความชัดเจนพอที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และการแทรกแซงสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนได้ การที่จะมีการประกาศใช้ร่างประกาศฯ ดังกล่าว อาจเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญการปกครอง ฉบับชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ ซึ่งระบุว่า สื่อสารมวลชนเป็นหนึ่งใน

กระบวนที่ต้องถูกปฏิรูป ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญประกาศหนึ่งของแนวทางการปฏิรูปประเทศ   “การกำกับดูแลกันเอง” อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งจำเป็นต้องระดมความเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อนำเสนอผ่านไปยัง ผู้แทนด้านสื่อสารมวลชน ที่เข้าไปทำหน้าที่ในสภาปฏิรูปฯ ซึ่งจะมีความเป็นสาธารณะและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่จะมีส่วนร่วมเข้ามากำกับดูแลในกิจการด้านสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ ร่างประกาศดังกล่าว อาจมิชอบด้วย “อำนาจหน้าที่ของ กสทช”  เนื่องจากมาตรา ๓๙ ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ. ๒๕๕๑ มิได้กำหนดให้ อำนาจหน้าที่ กสทช. ออกประกาศ “ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด” แต่ กสทช. สามารถทำได้เพียงสนับสนุนด้วย “การส่งเสริมจากกองทุนตามมาตรา ๕๒ ”

พร้อมกันนี้ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ยื่นหนังสือถึง ประธาน รองประธาน และคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)  เรื่อง    เสนอแนวทางการปฏิรูปสื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีข้อเสนอ 4 ข้อหลัก คือ

1. รูปแบบ สื่อสารมวลชน ในอนาคต

2. การกำกับดูแล จริยธรรม

3. แก้ปัญหาการแทรกแซงจากภาคทุนและภาครัฐ

ตามที่ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดสัมมนาผู้แทนองค์กรวิชาชีพ เพื่อรับฟังความเห็นแนวทางการปฏิรูปสื่อสารมวลชนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เมื่อวันอังคารที่ ๒๕ พฤศจิกายน  ๒๕๕๗  อาคารรัฐสภา 2 นั้น นอกจากการรับฟังความเห็นด้วยว่าวาจาแล้ว ทางคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว ได้เปิดโอกาสให้จัดทำเป็นเอกสารนำเสนอได้อีกทางหนึ่ง สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจึงยื่นหนังสือถึงประธาน รองประธาน และคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)  อย่างเป็นทางการในวันนี้

1 2

แท็ก คำค้นหา